Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10310
Title: การสกัดไอออนทองแดงจากสารละลายเจือจางมากด้วยเยื่อแผ่นเหลวที่พยุงด้วยเส้นใยกลวง
Other Titles: Extraction of copper ion from an extremely dilute solution with hollow fiber supported liquid membrane
Authors: อิศรา เกษมเศรษฐ
Advisors: อุรา ปานเจริญ
เดชา ฉัตรศิริเวช
Advisor's Email: Ura.P@Chula.ac.th
deacha.c@chula.ac.th
Subjects: ทองแดง
ไอออน
เยื่อแผ่นเหลว
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการสกัดไอออนทองแดงจากสารละลายที่เจือจางมาก ด้วยเยื่อแผ่นเหลวที่พยุงด้วยเส้นใยกลวง โดยศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการสกัดนี้ อันได้แก่ ความเข้มข้นของสารสกัดในตัวทำละลายอินทรีย์ในช่วงความเข้มข้นต่ำกว่าร้อยละ 25 โดยปริมาตร ชนิดของสารสกัดซึ่งได้แก่ สารสกัด D2EHPA สารสกัด LIX84-I และสารสกัด LIX860-I ความเข้มข้นไอออนทองแดงในสารละลายป้อนช่วง 1 ส่วนในหนึ่งล้านส่วนถึง 100 ส่วนในหนึ่งล้านส่วน รูปแบบการไหลของสารละลายป้อนในลักษณะไหลในฝั่งท่อกับไหลในฝั่งเปลือกของโมดูลเส้นใยกลวง การควบคุมความเป็นกรด-ด่าง ของวัฏภาคสารละลายบัฟเฟอร์ และการไหลเวียน (circulation) วัฏภาคสารละลายสตริปสารละลายอินทรีย์ที่ใช้ได้แก่ เคโรซีน (kerosene) โดยใช้สารละลายกรดซับฟิวริคความเข้มข้น 0.1 โมลต่อลิตรเป็นสารละลายสตริป จากการทดลองพบว่า ความสามารถในการถ่ายเทไอออนทองแดงผ่านเยื่อแผ่นเหลวจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดในวัฏภาคเยื่อแผ่นเหลว สารสกัดในกลุ่ม LIX สามารถถ่ายเทไอออนทองแดงได้ดีกว่าสารสกัด D2EHPA ความสามารถในการถ่ายเทไอออนทองแดงจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของไอออนทองแดงในวัฏภาคสารละลายป้อน รูปแบบการไหลของสารละลายป้อนในลักษณะไหลในฝั่งท่อและไหลในฝั่งเปลือกของโมดูลเส้นใยกลวงไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการ ความสามารถในการถ่ายเทไอออนทองแดงผ่านเยื่อแผ่นเหลวจะเพิ่มขึ้นเมื่อควบคุมความเป็นกรด-ด่างของวัฏภาคสารละลายป้อนด้วยสารละลายบัฟเฟอร์ให้มีค่าเท่ากับ 5 การใช้วัฏภาคสารละลายสตริปปริมาณน้อยและให้มีการไหลเวียนยังคงทำให้การถ่ายเทไอออนทองแดงเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ผลของการใช้วัฏภาคสารละลายสตริปที่มีปริมาณน้อยสามารถทำให้สารละลายสตริปมีความเข้มข้นของไอออนทองแดงสูง
Other Abstract: This research studied the performance of extraction of copper ion from an extremely dilute solution with hollow fiber supported liquid membranes. Various factors affecting this extraction system were studied, viz. the concentrations of extractant in membrane phase in the range below 25 V/V%, the types of extractant between D2EHPA, LIX84-I and LIX 860-I, the concentrations of copper ion in feed solution in the range of 1 ppm to 100 ppm, flow patterns of feed solution in tube side and in shell side of hollow fiber supported liquid membranes, pH of feed solution controlled with buffer solution, and circulation of strip solution. Kerosene was used as an organic solution while 0.1 mol/l sulfuric acid was used as a strip solution. From the experiments, the ability of copper ion transportation was increased when concentration of extractant was increased. LIX-type extractant showed better performance than D2EHPA. Copper ion transportation was increased as concentration of copper ion in feed solution was increased. Flow pattern of feed solution in tube side and in shell side of hollow fiber module had no influence in the performance of the system. Copper ion transportation was increased when pH of feed solution was kept at 5 by buffer solution. The copper ion transportation could be occurred appropriately by using small amount of strip solution in circulation mode.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10310
ISBN: 9743325638
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Itsara_Ka_front.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Itsara_Ka_ch1.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Itsara_Ka_ch2.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Itsara_Ka_ch3.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Itsara_Ka_ch4.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Itsara_Ka_ch5.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Itsara_Ka_ch6.pdf734.36 kBAdobe PDFView/Open
Itsara_Ka_back.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.