Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10348
Title: ประสิทธิผลของรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว
Other Titles: The effectiveness of television programme promoting family institution
Authors: ปาริชาต แก้วมงคล
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Tanawadee.b@chula.ac.th
Subjects: รายการโทรทัศน์
โลกใบเล็ก (รายการโทรทัศน์)
บ้านเลขที่ 5 (รายการโทรทัศน์)
การเปิดรับข่าวสาร
ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
สื่อมวลชน
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรายการโทรทัศน์เพื่อส่งเสริมสถาบันครอบครัว 2 รายการ คือ รายการบ้านเลขที่ 5 และรายการโลกใบเล็ก โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบและหาความสัมพันธ์เกี่ยวกับตัวแปรการเปิดรับชมรายการโทรทัศน์ สาระและความรู้ ทัศนคติต่อสถาบันครอบครัว และการนำไปใช้ประโยชน์ โดยจำแนกตามลักษณะทางประชากร คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพการสมรสและจำนวนสมาชิกในครอบครัว โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามส่วนการวิเคราะห์ใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่ของ Scheffe' และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่า 1. อายุ อาชีพ และจำนวนสมาชิกในครอบครัว มีผลให้ลักษณะการเปิดรับชมรายการบ้านเลขที่ 5 แตกต่างกัน 2. เพศ มีผลให้ลักษณะการเปิดรับชมรายการโลกใบเล็กแตกต่างกัน 3. การเปิดรับชมรายการทั้ง 2 รายการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสาระและความรู้แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับทัศนคติต่อสถาบันครอบครัว และไม่มีความสัมพันธ์กับการนำไปใช้ประโยชน์ 4. รายการบ้านเลขที่ 5 และรายการโลกใบเล็ก มีประสิทธิผลต่อผู้รับชมรายการทั้งในด้านสาระและความรู้ ทัศนคติต่อสถาบันครอบครัว และการนำไปใช้ประโยชน์
Other Abstract: The purpose of this research was to investigate the effectiveness of the television programme promotion family institution, Banleakthiha and Lokebailek by exploring the correlations among exposure to the programme, knowledge about attitude towards the significance of family institution and application of the programme content. Questionnaires were used to gather data from a total of 410 samples. Percentage, mean, standard diviation, t-test one-way analysis of variance, multiple comparision of Scheffe' Method and Pearson's Product Mement Correlation Coefficient were used to analyze the data. SPSS/PC program was employed for data processing. The results of the research were as follows: 1. There was a significant correlation between age, occupation, family size and exposure to "Banleakthiha" television program. 2. There was a significant correlation between sex and exposure to "Lokebailed" television program. 3. The exposure to both television programs significantly correlated with knowledge, attitude for family institution and no significantly correlation with the application of the progams. 4. "Banleakthiha" and "Lokebailed" television programs did affect watchers' knoeledge, attitude for family institution and the application of the program.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10348
ISBN: 9743318852
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parichat_Ka_front.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Parichat_Ka_ch1.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Parichat_Ka_ch2.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Parichat_Ka_ch3.pdf937.15 kBAdobe PDFView/Open
Parichat_Ka_ch4.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Parichat_Ka_ch5.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Parichat_Ka_back.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.