Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10554
Title: | การศึกษาค่านิยมทางเพศและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชน กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A study of sexual value and risk behaviors among students in private universities, Bangkok Metropolis |
Authors: | ศักดา สามูล |
Advisors: | ทิพย์สิริ กาญจนวาสี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tipsiri.K@Chula.ac.th |
Subjects: | สถาบันอุดมศึกษาเอกชน -- นักศึกษา ค่านิยม พฤติกรรมทางเพศ เพศ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่านิยมทางเพศ พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และเปรียบเทียบค่านิยม ทางเพศระหว่างนักศึกษาชายกับนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยเอกชน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 คน เพศชาย 250 คน และเพศหญิง 250 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าที (ttest) ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านค่านิยมทางเพศ พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 86.8 มีค่านิยมทางเพศทิศทางบวก ในข้อความค่านิยมทางเพศด้านลบได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศหลายคนเป็นการแข่งขันเพื่อแสดงความสามารถในด้านเพศ การถูกเนื้อต้องตัวกับคู่รักจนถึงขั้นกอดจูบเป็นสิ่งที่ทำได้อย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ และการใช้ถุงยางอนามัยใช้เพื่อการคุมกำเนิดอย่างเดียวเท่านั้น 2. ด้านพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 97.2 เคยดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เคยเที่ยวสถานเริงรมย์ร้อยละ 88.4 และมีการใช้สื่อกระตุ้นความรู้สึกทางเพศร้อยละ 76.8 3. เมื่อเปรียบเทียบค่านิยมทางเพศระหว่างนักศึกษาชายกับนักศึกษาหญิง พบว่าส่วนใหญ่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่เพศหญิงมีค่านิยมทางเพศดีกว่าเพศชาย |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study the sexual value, sexual risk behaviors among students,and to compare students' sexual value between males and females in private universities in Bangkok Metropolis. The questionnaires were gathered from 500 first year students (250 males and 250 females). The obtained data were then analyzed in terms of percentages, means, and standard deviations. The t-test was also employed to test the significant differences at .05 level. The findings were as follows: 1. Sexual value of most students was found 86.8 per cent positively while the negative sexual value was : Having had sexual relationship with many people expressed their sexual ability, touching between lovers such as kissing and embracing could be done openly in the public areas and condom was only used in family planning. 2. Sexual risk behaviors among students were found 97.2 per cent drinking alcohol while 88.4 per cent went to the entertainment avenues, and 76.8 per cent used various of medias to arouse their sexual desire. 3. The comparison of sexual value among students between males and females was found significantly different at .05 level. Females had better sexual value than those of male students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10554 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.765 |
ISBN: | 9741720831 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2002.765 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.