Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10695
Title: การควบคุมประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิวัติ รัฐประหารมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญและศาลยุติธรรม
Other Titles: The control of constitutionality of the revolutionary order by the Constitutional Tribunal and Court of Justice
Authors: พิสิฐ ธรรมกุล
Advisors: นันทวัฒน์ บรมานันท์
จรัญ ภักดีธนากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Nantawat.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ปฏิวัติ -- ไทย
รัฐประหาร -- ไทย
รัฐธรรมนูญ
ประกาศคณะปฏิวัติ
คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
ศาล
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาค่าบังคับทางกฎหมายของประกาศคณะปฏิวัติ รวมถึงศึกษาองค์กรที่ใช้อำนาจตรวจสอบกฎหมายมิให้ขัด รัฐธรรมนูญของไทยในอดีตที่มีมากกว่าหนึ่งองค์กร ซึ่งมักจะมีการใช้อำนาจตรวจสอบดังกล่าวที่ต่างกัน โดยเฉพาะเมื่อมีการปฏิวัติล้มล้างรัฐธรรมนูญ และเป็นเหตุให้องค์กรที่ใช้อำนาจตรวจสอบกฎหมายนั้น ต้องสิ้นสภาพไปตามรัฐธรรมนูญด้วย ฉะนั้นกรณีนี้จึงมีปัญหาต้องพิจารณาถึง การใช้อำนาจขององค์กรทั้งหลายว่า สมควรจะให้องค์กรใดเป็นผู้มีอำนาจตรวจสอบถึงความชอบ ของประกาศคณะปฏิวัติว่าประกาศคณะปฏิวัติฉบับใด สมควรจะมีค่าบังคับเป็นกฎหมาย ซึ่งเมื่อได้ศึกษาถึงแนวคำวินิจฉัยของคณะตุลาการ รัฐธรรมนูญ และศาลยุติธรรมของไทยในอดีต รวมทั้งจากที่ได้ศึกษารูปแบบ และคำวินิจฉัยขององค์กรที่ใช้อำนาจตรวจสอบกฎหมาย มิให้ขัดรัฐธรรมนูญในนานาอารยประเทศพบว่า ในนานาอารยประเทศ องค์กรที่จะมาทำหน้าที่ตรวจสอบความชอบของกฎหมาย และประกาศคณะปฏิวัติ มิให้ขัดรัฐธรรมนูญได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นองค์กรที่สามารถใช้อำนาจได้อย่างถาวรและต่อเนื่อง และจะมีการตรวจสอบได้เฉพาะเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติ มีค่าบังคับเป็นกฎหมายโดยสมบูรณ์แล้ว ทั้งนี้เพราะการที่จะพิจารณาว่ากรรมวิธีหรือที่มาของ การออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับใดจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ย่อมต่างกับการพิจารณาว่าประกาศคณะปฏิวัติ จะมีเนื้อหาสาระชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาถึงเนื้อหาของประกาศคณะปฏิวัติ ว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญและมีค่าบังคับเป็นกฎหมายเทียบได้กับ กฎหมายลำดับใดนั้น ต้องพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของการออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับนั้นด้วยว่า มีเจตนารมณ์และจุดประสงค์ที่ต้องการจะให้มีผลบังคับเป็นกฎหมาย ในขณะที่หลักเกณฑ์การพิจารณาถึงกรรมวิธี หรือที่มาของการออกประกาศดังกล่าวต้องพิจารณา ถึงบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้อำนาจไว้ด้วย อันเป็นการพิจารณาขั้นตอนแรกก่อนที่จะไปพิจารณาถึง เนื้อหาสาระของประกาศคณะปฏิวัติฉบับนั้น แม้ว่ากรรมวิธีหรือที่มาของกฎหมายใดจะมีที่มาโดยมิชอบ ก็หาได้มีความหมายว่า กฎหมายหรือประกาศคณะปฏิวัติฉบับนั้นจะมีเนื้อหาที่ไม่ชอบ และไม่มีผลบังคับไปด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น จึงได้ข้อสรุปว่า เมื่อมีประเด็นปัญหาที่ต้องตรวจสอบถึงความชอบด้วยกฎหมาย มิให้ขัดรัฐธรรมนูญของไทยไม่ว่ากฎหมายนั้นจะมีที่มาหรือกรรมวิธีเช่นใด กระบวนการตรวจสอบความชอบของกฎหมาย มิให้ขัดรัฐธรรมนูญย่อมต้องมีรูปแบบ และกระบวนการที่เป็นเอกเทศแยกต่างหากจากกระบวนการตรวจสอบในทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง เว้นแต่เมื่อมีการปฏิวัติและในระหว่างที่มีการปฏิวัตินั้นจะไม่มีองค์กรที่สามารถตรวจสอบได้ จึงจะให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลยุติธรรมในฐานะที่เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการและเป็นองค์กรที่สามารถใช้อำนาจได้อย่างถาวรและต่อเนื่องเป็นผู้มีอำนาจตรวจสอบ
Other Abstract: To study the constitutionality of the revolutionary orders and the body exercising power to examine such orders by comparing the situations in Thailand and in some other civilized countries. In Thailand, there was a different procedure in controlling the constitutionality of orders as the competent body had been changed several times in particular when the constitution was repealed according to the revolution. Therefore, it must be considered that which body should exercise the power. According to the study from the decisions of the Thai Constitutional Tribunals and of the Courts of Justice as well as the control system of the other countries, the control body should be a permanent one and the examination should be made only after the effectiveness of the orders. This is because the control over the legality of the announcement of the orders is different from the control over the constitutionality of the substance of the orders. In the later case, the objectives of the announcement and the purpose of enforcing such orders as laws must be taken into account, while in the former case, it must consider whether there is any provision of law empowering such announcement. However, it should be noted that the illegality of the announcement of orders dose not always make the orders unconstitutionality. In conclusion, it should be proposed that there should be permanent body to control over the constitutionality of the revolutionary orders in Thailand. Such body must separate from the civil, criminal and administrative procedures except during in the revolution or the state of emergency which there is no a special body to exercise the power. In that case, the courts of justice as a permanent judicial organ shall exercise the power.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10695
ISBN: 9746378767
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisit_Th_front.pdf860.2 kBAdobe PDFView/Open
Pisit_Th_ch1.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_Th_ch2.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_Th_ch3.pdf865.69 kBAdobe PDFView/Open
Pisit_Th_ch4.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_Th_ch5.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Pisit_Th_ch6.pdf870.75 kBAdobe PDFView/Open
Pisit_Th_back.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.