Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10701
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรพรรณ อัศวาณิชย์ | - |
dc.contributor.advisor | อัมพุช อินทรประสงค์ | - |
dc.contributor.author | ปิยะวรรณ ตั้งละมัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-29T03:43:46Z | - |
dc.date.available | 2009-08-29T03:43:46Z | - |
dc.date.issued | 2540 | - |
dc.identifier.isbn | 9746380567 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10701 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 | en |
dc.description.abstract | ในทางทันตกรรม ภาพรังสีชนิดไบท์วิงมีประโยชน์อย่างมากในการวินิจฉัยรอยผุบนด้านประชิดของฟันทั้งฟันน้ำนมและฟันถาวร อย่างไรก็ดี เนื่องจากการตระหนักถึงผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ของรังสีเอ็กซ์ จึงมีการลดปริมาณการถ่ายภาพรังสีลง ให้คงไว้เฉพาะเพื่อประกอบการวินิจฉัยที่จำเป็นเท่านั้น ดังนั้นการถ่ายภาพรังสีชนิดไบท์วิงซึ่งเดิมเคยแนะนำให้ถ่ายทุก 6 เดือนในผู้ป่วยจึงได้มีการยืดระยะเวลาเป็น 12-24 เดือน ด้วยเหตุนี้การแปลผลภาพรังสีอย่างถูกต้องจึงยิ่งมีความสำคัญอย่างมากในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความสามารถในการแปลผลรอยผุบนด้านประชิดของฟันจากภาพรังสีชนิดไบท์วิงในผู้ป่วยเด็ก ของนิสิตคณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 6 ปีการศึกษา 2540 และศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถนี้กับผลการเรียนภาคทฤษฎีวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก การวิจัยกระทำในนิสิตจำนวน 88 คน (ชาย 18 คน หญิง 70 คน) โดยแบ่งนิสิตออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับผลการเรียนภาคทฤษฎีวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก ได้แก่ กลุ่ม A หมายถึงนิสิตระดับเกรด A กลุ่ม B หมายถึง นิสิตระดับเกรด B และกลุ่ม C หมายถึงนิสิตระดับเกรด C หลังจากนั้นแบ่งนิสิตในแต่ละกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มย่อย เพื่อแปลผลภาพรังสีชนิดไบท์วิง 15 ภาพ โดยใช้วิธีดูภาพรังสี 2 วิธี วิธีที่ 1 ใช้กล่องดูฟิล์มที่มีกระดาษดำทึบแสงปิดแสงรอบๆ ภาพร่วมกับการใช้แว่นขยายกำลังสองเท่า วิธีที่ 2 ใช้กล่องดูฟิล์มที่ไม่มีกระดาษดำทึบแสงปิดแสงรอบๆ ภาพและไม่ใช้แว่นขยาย นิสิตในกลุ่มย่อยที่ 1 จะดูภาพรังสีทั้ง 15 ภาพ โดยวิธีที่ 1 ก่อน แล้วพัก 30 นาที จึงกลับมาดูภาพรังสีชุดเดิมซ้ำอีกครั้งโดยใช้วิธีดูวิธีที่ 2 ส่วนนิสิตในกลุ่มย่อยที่ 2 จะดูภาพรังสีโดยวิธีที่ 2 ก่อนแล้วพัก 30 นาที จึงกลับมาดูภาพรังสีชุดเดิมซ้ำอีกครั้งโดยใช้วิธีดูวิธีที่ 1 ผลการวิจัยพบว่า นิสิตสามารถแปลผลรอยผุบนด้านประชิดของฟันจากภาพรังสีชนิดไบท์วิงได้ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 90 โดยที่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการแปลผลระหว่างนิสิตกลุ่ม A B และ C และไม่พบความแตกต่างของวิธีที่ใช้ดูภาพรังสี แต่เมื่อศึกษาเฉพาะบริเวณที่มีรอยผุพบว่า นิสิตกลุ่ม C และนิสิตโดยรวม สามารถแปลผลรอยผุที่ลึกถึงรอยต่อระหว่างเคลือบฟันและเนื้อฟันโดยการใช้วิธีดูภาพรังสีวิธีที่ 1 ได้ดีกว่าวิธีที่ 2 อย่างมีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 | en |
dc.description.abstractalternative | Bitewing radiographs are useful for diagnosis of proximal caries both in primary and permanent dentition. However, in recent years, the increasing awareness of the deleterious effects of ionizing radiation has led to reduce the amount of radiation used for diagnosis, including dental radiography. Therefore the radiographic interpretation is very important for diagnosis and proper treatment. The purpose of this research was to study the interpretative ability of proximal caries from bitewing radiographs by the 6th year dental students, class of 1997, Chulalongkorn University with different academic achievement from Pediatric Dentistry Courses. 88 dental students (18 males and 70 females) from the 6th year class were divided into groups A, B, and C according to the academic achievement courses in Pediatric Dentistry, then each group was randomly subdivided into two subgroups. Two methods of radiographic interpretation were assigned; using the viewbox masked with opaque material and two times power of magnifying glass in method I and using only the viewbox without masking in method II. The subgroup I was assigned to interpret 15 bitewing radiographs by the first method with 30 minutes rest intermission then reinterpret the same series of radiographs with method II. Subgroup II interpreted by method II first followed by method I. The results indicate that all groups are able to interpret all the radiographs correctly more than 90% with no statistically significant differences between all groups and methods of diagnosis. However, the lowest achievement group (group) C) and summation of all groups are able to interpret carious lesions at dentoenamel junction more accurately by using method I than method II with the statistically significant difference at 0.05 level. | en |
dc.format.extent | 888575 bytes | - |
dc.format.extent | 784750 bytes | - |
dc.format.extent | 850922 bytes | - |
dc.format.extent | 797889 bytes | - |
dc.format.extent | 813438 bytes | - |
dc.format.extent | 798878 bytes | - |
dc.format.extent | 774959 bytes | - |
dc.format.extent | 1037254 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การบันทึกภาพด้วยรังสี | en |
dc.subject | ฟันผุในเด็ก | en |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en |
dc.subject | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ -- นักศึกษา | en |
dc.title | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการเรียนภาคทฤษฎีวิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก กับความสามารถในการแปลผลรอยผุบนด้านประชิดของฟันจากสภาพรังสีชนิดไบท์วิง (Bitewing) ในผู้ป่วยเด็กของนิสิตทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 6 ปีการศึกษา 2540 | en |
dc.title.alternative | The study of the correlation between academic achievement in pediatric dentistry courses and the ability to interpret proximal caries from bitewing radiographs in children of the 6th year dental students of Chulalongkorn University, class of 1997 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ทันตกรรมสำหรับเด็ก | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pornpun.A@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Amput.I@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyawan_Ta_front.pdf | 867.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyawan_Ta_ch1.pdf | 766.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyawan_Ta_ch2.pdf | 830.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyawan_Ta_ch3.pdf | 779.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyawan_Ta_ch4.pdf | 794.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyawan_Ta_ch5.pdf | 780.15 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyawan_Ta_ch6.pdf | 756.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piyawan_Ta_back.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.