Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10713
Title: การสร้างแบบจำลองและการออปติไมซ์หน่วยสกัดและหน่วยนำสารมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตน้ำมันถั่วเหลือง
Other Titles: Modeling and optimization of extraction and recovery units of the soybean oil manufacturing process
Authors: วีระวัฒน์ แซ่จู
Advisors: มนตรี วงศ์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: mwongsri@gmail.com, mwongsri@yahoo.com, Montree.W@chula.ac.th
Subjects: น้ำมันพืช -- การผลิต
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการสร้างแบบจำลองหน่วยสกัดและหน่วยนำสารสกัดกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิตน้ำมันถั่วเหลือง โดยอาศัยข้อมูลการผลิตจากโรงงานนำมาสร้างแบบจำลองกระบวนการโดยใช้โปรแกรมแอสเพนพลัส เวอร์ชั่น 9.3-1 หลังจากได้แบบจำลองแล้วก็นำมาทดสอบค่าพารามิเตอร์ที่ได้ประมาณไปในแบบจำลอง ปรากฏว่า แบบจำลองให้ค่าใกล้เคียงกับค่าที่วัดได้จริง โดยมีค่าผิดพลาดสูงสุดที่ 2.33 % การวิเคราะห์ค่าความไวเพื่อดูแนวโน้มการตอบสนองของกระบวนการ และทดสอบขอบเขตของกระบวนการก่อนการออปติไมซ์ โดยการเปลี่ยนปริมาณสารละลายสารที่ใช้สกัดนั้น พบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณสารละลายขึ้น จะทำให้สกัดน้ำมันได้มากขึ้น แต่จะเสียค่าใช้จ่ายในการแยกสารละลายนำเพื่อนำมาใช้ใหม่เพิ่ม วัตถุประสงค์ของการออปติไมซ์คือเพื่อหาปริมาณสารละลายเฮกเซนที่ใช้สกัดที่เหมาะสมที่สุดคือหาค่าอัตราการไหลของสารสกัดเฮกเซนที่ทำให้ได้กำไรสูงสุด(ราคาผลิตภัณฑ์ - ต้นทุนการผลิต) จากแบบจำลอง พบว่าปริมาณสารละลายเฮกเซนที่ใช้จริงต่ำเกินไปคือใช้ที่ 27 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง โดยจะมีกำไรจากการผลิต 7193.40 บาท ถ้าปรับเพิ่มปริมาณสารละลายเฮกเซนมาที่ 31.64 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงก็จะเป็นจุดที่ออปติไมซ์ที่จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้นได้ โดยจะมีกำไรจากการผลิต 7220.90 หรือกำไรเพิ่มขึ้น 27.50 บาท ต่อชั่วโมงหรือจะได้กำไรเพิ่ม 660 บาทต่อวันหรือ 19800 บาทต่อเดือนแต่ถ้าปรับปริมาณสารละลายเฮกเซนเกินค่าที่คำนวณได้นี้ ก็จะทำให้กำไรลดลงอีกเพราะว่าปริมาณน้ำมันที่สกัดได้เพิ่มไม่คุ้มกับค่าพลังงานที่ต้องใช้ในการระเหยแยกเฮกเซนออกมา กรณีศึกษาเพื่อดูแนวโน้มของจุดออปติไมซ์เมื่อราคาของที่เกี่ยวข้องกับการออปติไมซ์หลักๆคือ ราคาพลังงานราคาวัตถุดิบ ราคาผลิตภัณฑ์ และราคาผลิตภัณฑ์ร่วมมีราคาเปลี่ยนแปลงไป
Other Abstract: This research works on modeling extraction and recovery units of soybean oil manufacturing process. By employing data from the factory to build the process model on simulation program Aspen plus version 9.3-1. Then test the estimated parameter in the model. We found that the model gives the results close to the actual data which the maximum error is 2.33%. The sensitivity analysis used to see the trend of the model and test the boundary on the model before optimization. By vary the hexane flow, found that the more solvent used the more oil extracted but we have to pay more for the solvent recovery. The objective of optimization is to maximize profit (cost of product-cost of manufacturing). From the model, we found that the use of the hexane solvent is too low which is 27 cubicmeter per hour and get manufacturing profit 7193.40 baht. If we increases flow of hexane solvent to 31.64 cubicmeter per hour which is the optimum. We will get manufacturing profit 7220.90 baht or the profit increase 27.50 baht per hour or the profit increase 660 baht per day or 19800 per month. But if we adjust more flowrate of hexane solvent beyond this calculated value. The profit will be decrease again because the amount of increase extracted oil will not worth to the cost of the energy to recovery the hexane. Case studies are performed to see the trend of the optimum point when cost of main factors in optimization have been change that are cost of energy, cost of feed, cost of product and cost of byproduct have change.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10713
ISBN: 9740308775
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WeerawatS.pdf676.67 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.