Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10728
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะที่ไม่ปรากฏอาการและระยะที่ปรากฏอาการ
Other Titles: A comparative study of adaptation in persons with HIV infection during asymptomatic and symptomatic periods
Authors: อรุณ แก้วเกตุ
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ติดเชื้อเอชไอวี
โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย
การปรับตัว (จิตวิทยา)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงเปรียบเทียบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความ รุนแรงของความเจ็บป่วย การรับรู้ที่เป็นตราบาป ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะที่ไม่ปรากฏอาการและระยะที่ปรากฏ อาการ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของความเจ็บป่วย การรับรู้ที่เป็นตราบาป ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย กับการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะที่ไม่ปรากฏอาการและระยะที่ปรากฏ อาการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มารับการรักษา ณ สถาบันบำราศนราดูร จำนวน 180 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการรับรู้ที่เป็นตราบาป แบบวัดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และแบบวัดการปรับตัว โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 .88 .81 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะที่ไม่ปรากฏอาการ (X = 2.42) และระยะที่ปรากฏอาการ (X = 2.11) อยู่ในระดับปานกลาง 2. ความรุนแรงของความเจ็บป่วย การรับรู้ที่เป็นตราบาป ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และการปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะที่ไม่ปรากฏอาการและระยะที่ปรากฏ อาการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การรับรู้ที่เป็นตราบาป และความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางลบกับการปรับตัวของ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะที่ไม่ปรากฏอาการ (r = -.402, -.509 ตามลำดับ) และในระยะที่ปรากฏอาการ (r = -.276, -.402 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย สามารถพยากรณ์การปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์การปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะไม่ปรากฏอาการ ได้ร้อยละ 25.90 และมีอำนาจในการพยากรณ์การปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะที่ปรากฎอาการ ได้ร้อยละ 16.20 โดยมี สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ การปับตัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะไม่ปรากฏอาการ = -.509 (ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย) การปรับตัวของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในระยะปรากฏอาการ = -.402 (ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย)
Other Abstract: The purposes of this research were to examine the severity of illness, stigma perception, uncertainty in illness and to study the relationships between the severity of illness, stigma perception, uncertainty in illness, and adaptation of HIV patients during asymptomatic and symptomatic period. Participants were a group of 180 patients in Bumrashnaradual Hospital. Data were collected through the use of five instruments namely; demographic data form, severity of illness scale, stigma scale, uncertainty in illness scale and adaptation questionnaires. The questionnaires were tested for content validity by a panel of experts. Alpha Cronbach coefficients were .82, .88 .81, and .86 respectively. The data were analyzed by using independed t-test, Pearson's product moment correlation, and Stepwise multiple regression. Major findings were as follows: 1. Adaptation in persons with HIV infection at asymptomatic period (X = 2.42) and in persons with HIV infection symptomatic period (X = 2.11) were at moderate level. 2. The severity of illness, stigma perception, uncertainty in illness and adaptation in persons with HIV infection at asymptomatic period and in persons with HIV infection symptomatic period were statistically significantly different at the level of 0.05. 3. The relationships between stigma perception, uncertainty in illness and adaptation in persons with HIV infection at asymptomatic period (r = -.402 and -.509 respectively), and in persons with HIV infection symptomatic period (r = -.276 and -.402 respectively) were statistically significant at the level of 0.05. 4. Uncertainty in illness was the variables that significantly predicted adaptation at the level .05 in both periods. Teh predictive power was 25.90% at asymptomatic period, and 16.20% at symptomatic period. Adaption of persons with HIV infection at asymptomatic period = -.509(uncertainty in illness) Adaptation of persons with HIV infection at symptomatic period = -.402(uncertainty in illness).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10728
ISBN: 9741730896
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arun.pdf9.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.