Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10767
Title: ความพึงพอใจและความต้องการของผู้รับบริการต่อบริการปฐมภูมิ ของสถานีอนามัยและศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล จังหวัดปราจีนบุรี
Other Titles: Consumers' satisfaction and expectation to primary care of health center in Prachin Buri Province
Authors: จอมใจ พิณสาย
Advisors: องอาจ วิพุธศิริ
สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: fmedslm@md2.md.chula.ac.th
Somrat.L@Chula.ac.th
Subjects: สาธารณสุขมูลฐาน -- ไทย -- ปราจีนบุรี
ความพอใจของผู้ใช้บริการ
ความคาดหวัง (จิตวิทยา)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของผู้รับบริการ ต่อบริการปฐมภูมิในด้านการบริหาร บริการและวิชาการ ของสถานีอนามัยและศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล จังหวัดปราจีนบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการสำรวจเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้รับบริการที่ ศสช. ในสถานีอนามัย เขตเมือง 2 แห่ง และนอกเขตเมือง 6 แห่งในจังหวัดปราจีนบุรี ขนาดตัวอย่าง จำนวน 542 คน ได้จากการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบ Multistage sampling เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองและสัมภาษณ์ (สำหรับผู้ไม่สามารถตอบได้ด้วยตนเอง) รวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2546-28 กุมภาพันธ์ 2546 สถิติที่ใช้ ได้แก่ Unpaired t-test, Paired t-test และ One-way ANOVA ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชน ในสถานีอนามัยเขตเมือง 195 (36.0 %) นอกเขตเมือง 347 (64.0 %) เป็นเพศหญิง 60.1% อายุเฉลี่ย 45.1 ปี สถานภาพสมรส 72.9 % จบประถมศึกษา 68.2 % และมีอาชีพรับจ้าง 38.9% มีบัตรทอง 85.4% เคยได้รับการส่งรักษาต่อที่ รพ. เครือข่าย 19.9% มีความพึงพอใจต่อระบบส่งต่อในระดับมาก ต่อการร่วมกันดูแลผู้ป่วยระหว่าง สอ. กับ รพ. และการดูแลต่อเนื่องที่ รพ. และที่บ้าน (40.7% และ 36.1% ตามลำดับ) ประเด็นความพึงพอใจพบว่า 30 จาก 32 กิจกรรม (3 ด้าน) มีคะแนนความพึงพอใจมากถึงมากที่สุด (คะแนน 4 และ 5) และความต้องการคะแนนสูงมากทุกกิจกรรม โดย ผู้รับบริการกว่า 50% และยังพบว่าผู้รับบริการกว่า 50% ในเขตเมือง ให้คะแนนความพึงพอใจมาก (คะแนน 4 และ 5) เพียง 20 จาก 32 ส่วนนอกเขตเมืองพอใจในทุกกิจกรรม โดยกิจกรรมด้านการบริหารให้มียาที่จำเป็นเพียงพอ มีความพึงพอใจน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาความแตกต่างระหว่างความพึงพอใจ และความต้องการพบว่าใน 28 กิจกรรม มีความแตกต่างกันด้วยคะแนนเฉลี่ยความต้องการ สูงกว่าความพึงพอใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยกิจกรรมที่แตกต่างกันมากที่สุดคือ เตรียมอุปกรณ์ตรวจรักษาและชันสูตรโรคเพียงพอ/พร้อมใช้ นอกจากนี้ยังพบว่า เพศ อาชีพ รายได้ ภาวะสุขภาพ การเลือกใช้สถานบริการ ระยะเวลาเดินทาง ช่วงเวลาที่ไปรับบริการ สิทธิคุ้มครองการรักษาพยาบาล ที่ตั้งสถานบริการ และการให้ข้อมูลข่าวสารที่ต่างกัน มีผลให้ความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ความเห็นผู้ตอบ 87.5% เห็นว่าคุณภาพบริการดีขึ้นและจะเลือกหน่วยเดิมอีก 84.5% อยากให้ปรับปรุง โดยจัดให้มีแพทย์และอุปกรณ์เพียงพอ สรุป การบริการปฐมภูมิมิควรจะต้องพัฒนาคุณภาพบริการ ในด้านการเชื่อมโยงบริการระหว่างสถานีอนามัยกับโรงพยาบาลเครือข่าย ระบบบริหารยาและเวชภัณฑ์ การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน การหาแนวทางส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของทีมสุขภาพให้มีทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงานชุมชน มีการติดตามประเมินผลและปรับปรุงคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อเป้าหมายการมีสุขภาพดีของประชาชนในพื้นที่
Other Abstract: To study consumers' satisfaction and expectation to primary care of health center in Prachin Buri province in terms of management, service, and technical. Research design: Cross-sectional descriptive study. Study population: Consumers taking service at Primary Care Unit in health center of 2 urban areas and 6 suburb areas in Prachin Buri Province. Sample size: Five hundreds and forty two samples were randomly selected by multistage sampling. Research tool: Self-administered and interview questionnaire. Data collection: The study was conducted between January 1, 2003 to February 28, 2003. Statistical method: Unpaired t-test, Paired t-test and One-way ANOVA. Results: The total respondents were 195 urban clients (36.0%) and 347 suburban clients (64.0%). The majority of them were married (72.9%), primary education (68.2%), taking employment (38.9%), had ever been referred through the network hospital (19.9%): 40.7% and 36.1% highly satisfied with co-ordination between hospital and health center and follow-up care respectively. There were 30 out of 32 activities specified in 3 dimensions obtained high satisfaction scores (score 4 and 5), therefore, all activities mentioned were rated as high future expectation by more than half of the client respondents. Furthermore, 20 out of 32 activities were scored high satisfaction by the urban clients in contrast with highly satisfied scores in all activities listed by the suburban clients. The least satisfaction was identified as adequate essential drugs. In comparison between satisfaction and expectation, 28 out of 32 activities were found statistically significant different (p<0.001) particularly adequacy/readiness of equipments and diagnostic tools. Regarding sex, occupation, level of income, health status, service unit preferred, travel time, services time, information disclosed, setting and rights were shown statistically significant different (p<0.05). Finally, 87.5% of clients stated as better services than before and they will reselect. However, doctors hours and more equipments were called for. Conclusion: This study revealed many critical success factors influencing the clients' satisfaction. Continuous services quality improvement were needed to fill the gaps identified especially adequate of doctor hours and equipments, and more effective referral system for nurturing health development of the local people
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10767
ISBN: 9741730616
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chomchai.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.