Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1078
Title: การสื่อสาร และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: The communication and cultural change of Ubon Ratchathani's candle festival
Authors: สรัญพัฒน์ ตันสุขเกษม, 2522-
Advisors: อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม -- ไทย -- อุบลราชธานี
งานเทศกาล -- ไทย -- อุบลราชธานี
การสื่อสารกับวัฒนธรรม
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ศึกษาการสื่อสารและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มเป้าหมายภายในจังหวัดอุบลราชธานีที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมในการจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานีทั้งในอดีต และปัจจุบัน และความแตกต่างของวัฒนธรรมดังกล่าวทั้งสองยุค เพื่อศึกษาหน่วยงานที่มีบทบาทในการนำเสนอ และ กระบวนการนำเสนองานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานีทั้งในช่วงอดีต และปัจจุบัน เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการสื่อสารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ในยุคอดีต แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงสมัยก่อนที่พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์จะเข้ามาปกครองเมืองอุบลราชธานีซึ่งวัฒนธรรมของงานประเพณีมีรูปแบบเป็นประเพณีดั้งเดิมชองชุมชนท้องถิ่นทุกๆด้าน วัตถุประสงค์ของการจัดงานเนื่องจากเป็นหลักปฏิบัติของ ฮีต 12 คอง 14 และ เพื่อหวังผลที่ได้จากการถวายเทียนพรรษา ผู้ที่มีบทบาท คือ ประชาชนท้องถิ่น และวัด ต่อมา ช่วงสมัยที่กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เข้ามาปกครองเมืองอุบลราชธานี วัตถุประสงค์ของการจัดงานเป็นไปเพื่อใช้เป็นเครื่องมืออีกรูปแบบหนึ่งในการปกครองเมือง ผู้ที่มีบทบาทในการจัดงานประเพณี ได้แก่ หน่วยงานปกครองท้องถิ่นในขณะนั้น ส่วนวัฒนธรรมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา ในยุคปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทางด้านการท่องเที่ยว ผู้ที่เป็นแกนนำในการจัดงานยังคงเป็นหน่วยงานปกครองระดับจังหวัดที่อยู่ในรูปของคณะกรรมการจัดงานฝ่ายต่างๆ ในส่วนของหน่วยงานที่มีบทบาทในการนำเสนองานประเพณีแห่เทียนพรรษา นั้น ช่วงสมัยก่อนที่กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์จะเข้ามาปกครองเมืองอุบลราชธานี ได้แก่ สถาบันครอบครัว คือ บ้าน และสถาบันทางพุทธศาสนา คือ วัด โดยที่สถาบันครอบครัวใช้รูปแบบวิธีการนำเสนอผ่านทางวัจนะภาษา และการนำลูกหลานในครอบครัวลงมือปฏิบัติวัฒนธรรมด้วยตัวเอง สถาบันทางพุทธศาสนานั้นใช้วิธีการนำเสนอโดยการเทศนาผ่านทางพุทธชาดก ในช่วงสมัยที่กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เข้ามาปกครองเมืองอุบลราชธานีนั้น หน่วยงานที่มีบทบาทได้แก่ หน่วยงานปกครองท้องถิ่น โดยผู้ที่มีบทบาทมากที่สุด ได้แก่ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ รูปแบบการนำเสนอผ่านทางตัวแทนของทางคุ้มวัด และให้ตัวแทนเหล่านั้นนำรายละเอียดไปเผยแพร่ต่อยังชุมชนโดยรอบบริเวณวัดของตน และในยุคปัจจุบัน หน่วยงานที่มีบทบาทในการนำเสนองานประเพณีได้แก่คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานี และสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 จังหวัดอุบลราชธานี และคณะกรรมการฝ่ายประสานงานคุ้มวัด : สำนักงานเทศบาลเมืองอุบลราชธานี คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์มีวิธีการทำเสนอโดยมีการนำเสนอก่อนล่วงหน้าช่วงวันงานประเพณีประมาณ 5-6 เดือน จนถึง 1 ปี โดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีความหลากหลาย ส่วนวิธีการนำเสนอของคณะกรรมการฝ่ายประสานงานคุ้มวัดจะเป็นการเชิญตัวแทนของคุ้มวัดมาประชุมร่วมกันเพื่อรับฟังรายละเอียดต่างๆ ส่วนปัจจัยด้านการสื่อสารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ในยุคปัจจุบัน ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้ส่งสาร ที่อยู่ในรูปของคณะกรรมการจัดงานฝ่ายต่างๆ เนื่องจากวิธีการในการจัดงานและรูปแบบของการสื่อสารในการบังคับบัญชาสั่งการ ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบบนลงล่าง มายังผู้ปฏิบัติงาน สรุปว่า งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ได้เปลี่ยนจากงานระดับท้องถิ่น จัดโดยชาวบ้านและวัด มาเป็นงานระดับจังหวัด และระดับชาติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นเรื่องสำคัญ
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study the Thai culture focused on the candle lights festival organization at the Ubon Ratchathani province from the past to present ; 2) to study the difference of the candle lights festival organization of both period ; 3) to study the roles and procedures of the key organizations in their presenting the festival, and 4) to study the communication impact towards the cultural change. A content analysis and an in depth interviews were used to collect the data under study. The findings were; 1) The candle festival organization at Ubon Ratchathani in the past was really a local culture. It was held for the purpose of dharma practice of the Buddhists, and to be a tool for the province governors in their administration; 2) The organizations which have the key roles in organizing the festival were the local administrative organizations; 3) Currently, the festival is held for the purpose of tourism. The organizations which have the key roles are still the provincial administrative organizations on behalf of different festival committees. 4) In presenting the festival, in the past, the organizations which had the key roles were families and temples. They were the influencial institutions in bringing the children to the dharma practice by using an interpersonal communication and through community leaders. Currently, the organizations which have the key roles are the public relations committees, the Ubon Ratchathani Province Public Relations Office, the Tourism Office at Ubon Ratchathani and the Local Administrative Office. They are senders and as a communication factor which impacts the cultural change from village and temple to province level for the merit of tourism promotion instead.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1078
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1475
ISBN: 9741762348
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1475
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarunpat.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.