Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10885
Title: ข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อการวางแผนพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม
Other Titles: Proposal for Changwat Maha Sarakham development plan
Authors: ศักดา อารุณี
Advisors: ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sakchai.K@chula.ac.th
Subjects: โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ -- ไทย -- มหาสารคาม
การวางแผนพัฒนาระดับจังหวัด
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- มหาสารคาม
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาลักษณะทางกายภาพของจังหวัดมหาสารคาม 2. โครงสร้างเศรษฐกิจ-สังคม ประชากร การบริการขั้นพื้นฐาน และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างดังกล่าวในช่วง 5-10 ปี 3. โครงสร้างปัญหาหลักของจังหวัด 4. หลักการและนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4-5 (พ.ศ. 2520-2529) 5. แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6. การพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม ตามแผนพัฒนาจังหวัดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่ พ.ศ. 2515-2525 วิธีการศึกษา ใช้วิธี Overlay Techniques และการประเมินด้วยการให้คะแนนปัจจัยต่าง ๆ ทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการบริการขั้นพื้นฐาน ผลการศึกษา : จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ-สังคม ของจังหวัดมหาสารคามมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากในช่วงระยะเวลา 5-10 ปีที่ผ่านมา การผลิตทางเกษตรกรรมยังคงเป็นพื้นฐานหลักของจังหวัด แต่มีประสิทธิภาพและผลผลิตต่ำ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง โดยมีปัจจัยทางกายภาพ คือ ลักษณะดิน แหล่งน้ำ และสภาพภูมิอากาศเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ การพัฒนาเกษตรเป็นการขยายพื้นที่มากกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีและการปรับปรุงทรัพยากรพื้นฐาน ส่วนการผลิตในสาขาอื่น คือ การค้าและบริการมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่เฉพาะในเขตชุมชนเทศบาลเมืองเท่านั้น โอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัดยังมีน้อย การบริการขั้นพื้นฐานทางสังคมที่ได้รับการพัฒนาเด่นกว่าด้านอื่น ๆ คือ การคมนาคมขนส่ง ส่วนการบริการพื้นฐานด้านอื่น ๆ โดยทั่วไปยังถือว่าต่ำกว่ามาตรฐาน ยกเว้นการศึกษา ซึ่งจังหวัดมีสถาบันทางการศึกษาทุกระดับครบถ้วน และพัฒนามากกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนการพัฒนาตามแผนพัฒนาจังหวัดที่ผ่านมาพบว่ามีความสอดคล้องพอสมควรกับพื้นที่ที่เป็นปัญหาของจังหวัด แต่ยังขาดแบบแผนการพัฒนาที่ถูกต้องตลอดจนการปฏิบัติที่จริงจัง จากการศึกษาทั้งหมดตามวัตถุประสงค์ทั้ง 6 ประการที่กล่าวข้างต้น จะได้ทิศทางการพัฒนาจังหวัด คือ ด้านเศรษฐกิจ : 1. เศรษฐกิจการเกษตร พยายามพัฒนาศักยภาพในการเกษตรของจังหวัดมหาสารคามให้สูงขึ้น โดยการปรับปรุงคุณภาพของปัจจัยการผลิต ในหน้าที่การผลิต (Production function) ตลอดจนวิธีการผลิตและเทคโนโลยีให้ดีขึ้น ทั้งยังเป็นการสนองการแก้ปัญหาทางกายภาพของจังหวัดด้วย 2. อุตสาหกรรม ควรจะพัฒนาไปพร้อมกับการเพิ่มศักยภาพทางการเกษตรของจังหวัด โดยพยายามพัฒนาอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับการเกษตรกรรมให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งยังเป็นการกระจายแรงงานจากภาคเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรม อันจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดในอนาคต ด้านสังคมและบริการขั้นพื้นฐาน : 1. จะต้องพัฒนาและปรับปรุงให้บริการทางสังคม เช่น การศึกษา สาธารณสุขและสาธารณูปการต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ โดยเน้นการกระจายบริการต่างๆ ดังกล่าวไปสู่พื้นที่อำเภอที่อยู่รอบนอกชุมชนเมือง 2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและพัฒนาท้องถิ่น 3. พยายามส่งเสริมบทบาทและหน้าที่ของสภาตำบล ให้เป็นศูนย์กลางระดับรอง จากอำเภอในการพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนาชุมชนเมือง เทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้แก่ การเตรียมพื้นที่สำหรับกิจกรรมที่สำคัญต่างๆ ในอนาคตสำหรับรองรับประชากร และการจัดทำผังเมืองรวม และผังเมืองเฉพาะ ซึ่งทั้งหมดคาดว่าจะไม่มีปัญหาเพราะ มีการจัดทำผังเมืองรวม และเทศบาลมีพื้นที่สำหรับการขยายตัวไว้พร้อม ชุมชนระดับรอง คือ สุขาภิบาล พัฒนาให้ช่วยตนเองและเป็นจุดกระจายและเชื่อมโยงการพัฒนา คือ สุขาภิบาลโกสุมพิสัย สุขาภิบาลวาปีปทุม สุขาภิบาลพยัคฆภูมิพิสัย การส่งเสริมบทบาทของจังหวัดมหาสารคาม
Other Abstract: The objectives of this study are to study:- 1. Physical features of Mahasarakham 2. Economic, social, population and basic services structure and its changes during the past 5-10 years. 3. The province's structure of major problems. 4. Principle and policies of the fourth and fifth national social and economic development plan (2520-2529 B.E.) 5. Northeastern region development plan 6. The province's development according to its provincial development plan in the past 10 years (2515-2525 B.E.) Methodology : This study has used overlay technique and point evaluation considered from physical, economic, social and basic services factors in order to find out trend and pattern of development in accordance to the province's potentiality. Findings: It is found out that social and economic structure of Mahasarakham has changed only slightly during the past 5-10 years. Agricultural production is still the basis of the province with, however, low efficiency and productivity and grows with decreasing rate. Agricultural development is mostly on cultivated area expansion rather than by technology or resoureces improvement. Trade and services growth has an upward trend, but only in the municipality area, while chances of the province's industrial development are slim. As transportation is mostly developed in public infrastructures, the others in general are sub-standard except in education which the province possesses every levels of academic institutes more developed than many other provinces in the region. The province's recent development following its plan has fairly befitted to its problem-plaqued areas, though being in lack of right development pattern and active implementation. From the study, trends of the province's development are stated :- 1. Economic aspect. - Agriculture. To uplift agricultural potentiality of Mahasarakham by improving quality of production factors in term of production function, process and technology. 2. Industry. It should be developed together with agricultural potential uplifting by emphasizing on agro-industries which, if successfully promoted, will absorb many labour forces from agricultural sector and eventually change the province's future economic structure. Social and basic services aspects 1. To develop and improve public social services like education, public health or public utilities to reach the target by distriouting such services to hinterlands of every amphoes. 2. To promote people participation in local planning and development. 3. To boost role and function of tambon councils as the local development centres next to amphoes.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: การผังเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10885
ISBN: 9745625426
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakda.pdf69.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.