Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10895
Title: การปรับปรุงระบบการรู้จำลายมือเขียนแบบออนไลน์สำหรับตัวอักษรภาษาไทยโดยใช้ข่ายงานประสาทแบบแพร่กระจายย้อนกลับ
Other Titles: Improvement of online handwritten recognition system for Thai characters using backpropagation neural network
Authors: ปกรณ์ บุพศิริ
Advisors: วิวัฒน์ วัฒนาวุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: wiwat@chula.ac.th
Subjects: การรู้จำอักขระ (คอมพิวเตอร์)
ภาษาไทย -- ตัวอักษร
นิวรัลเน็ตเวิร์ค (คอมพิวเตอร์)
แบคพรอพาเกชั่น (ปัญญาประดิษฐ์)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการรู้จำลายมือเขียนแบบออนไลน์ สำหรับตัวอักษรภาษาไทย เน้นปรับปรุงข้อมูลที่ใช้ในการสอนข่ายงานประสาทแบบแพร่กระจายย้อนกลับ ซึ่งประกอบด้วย การประมวลผลข้อมูลตัวอักษรเบื้องต้น การหาลักษณะเด่นของตัวอักษร และการเข้ารหัส โดยมีเทคนิคที่สำคัญที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ การหาวงรอบของตัวอักษร การใช้เขตย่อย และการเพิ่มจำนวนเข้ารหัสโหนด ในการหาวงรอบได้ใช้เทคนิคการหาจุดตัดและการเปลี่ยนแปลงของทิศทางรหัสลูกโซ่ ซึ่งจะทำให้การหาวงรอบมีความแม่นยำมากขึ้น การใช้เขตย่อยแบบ 5 เขต จะเป็นวิธีการจำแนกลักษณะของตัวอักษรได้ดี และการเพิ่มจำนวนเข้ารหัสโหนดได้ใช้เทคนิคเพิ่มจำนวนโหนดสโตรค และเพิ่มจำนวนโหนดวงรอบของตัวอักษร จากการทดสอบข่ายงานประสาทที่ได้ ด้วยลายมือของผู้วิจัยจำนวน 2,010 ตัวอักษร พบว่าอัตราการรู้จำมีความถูกต้องร้อยละ 96.62 รู้จำผิดร้อยละ 1.79 และรู้จำไม่ได้ร้อยละ 1.59
Other Abstract: The objective of this research is to improve the online handwritten recognition system for Thai characters. In order to improve input data used by the backpropagation neural network, the enhancement is emphasized on data preprocessing, feature extraction, and data encoding. The significant techniques used in this research are to find circles in a character, to zone a character, and to increase encoding nodes. The finding circle technique is used for precisely determining the circles by cross-finding and chain code direction technique. The zoning uses five-zone code technique to divide the character in the appropriate way for more accurate in classifying the features of the character. The increasing encoding node technique is used to add up the number of data encoding nodes especially for stroke and circle code. The neural network experiment on 2,010 characters of the researcher' own handwriting data showed that the recognition rate is 96.62%, with 1.79% incorrect rate, and 1.59% rejection rate.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10895
ISBN: 9741722532
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pagorn.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.