Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11249
Title: การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ของการตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวีจากโลหิตบริจาค ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
Other Titles: Cost-benefit analysis of blood donors screening to detect HIV-RNA at National Blood Center,Thai Red Cross Society
Authors: พัชรี ดุลนิมิตร
Advisors: พงศา พรชัยวิเศษกุล
ภิรมย์ กมลรัตนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Pongsa.P@Chula.ac.th
Pirom.k@chula.ac.th
Subjects: สภากาชาดไทย. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
เอชไอวี
โลหิตวิทยา
ต้นทุนและประสิทธิภาพ
เลือด -- การตรวจ -- ต้นทุนและประสิทธิผล
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การตรวจคัดกรองเชื้อเอชไอวีในระยะ Window Period จากโลหิตบริจาคด้วยการตรวจหา HIV-RNA โดยวิธี NAT เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยได้นำมาใช้ในการตรวจเพิ่มจากการ ตรวจแบบเดิม คือ การตรวจหา HIV-Ag ด้วยวิธี Elisa ซึ่งการตรวจด้วยวิธี NAT ที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้ต้นทุน การตรวจโลหิตเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยต้องเสียงบประมาณ ในการจัดบริการโลหิตเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่องบประมาณในการจัดบริการด้านอื่นๆได้ การวิจัย ครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาเพื่อวิเคราะห์หาต้นทุนผลได้ที่เพิ่มขึ้นของการตรวจหา HIV-RNA โดยวิธี NAT เปรียบเทียบกับการตรวจหา HIV p24 Ag โดยวิธี Elisa ในปีงบประมาณ 24548 โดยศึกษาในมุมมองของ สังคม เพื่อเป็นข้อมูลในส่วนของการประเมินผลที่ให้ผู้บริหารตัดสินใจเลือก แนวทางในการขยายผล การปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ผลได้สุทธิที่เพิ่มขึ้นจากการตรวจคัดกรองหาเชื้อเอชไอวี จากโลหิตบริจาคด้วยวิธี NAT ที่มากกว่าวิธี Elisa จำนวน 4 ราย จากจำนวนโลหิตบริจาค 447,422 ยูนิต กรณีนำไปทำเป็นโลหิต โดยไม่มีการแพร่กระจายเชื้อของประชากรเพศชายและเพศหญิง มีค่าติดลบ (-166.77 และ -170.31 ล้านบาท ตามลำดับ) แต่ถ้าคิดถึงโอกาสในการนำโลหิตบริจาคที่ติดเชื้อเอชไอวี ไปทำเป็นส่วนประกอบของโลหิต (Blood Components) และมีการแพร่กระจายเชื้อไปให้บุคคลอื่นด้วย แล้วผลได้สุทธิที่เพิ่มขึ้นจะมีค่าเป็นบวก (389.06 และ 326.87 ล้านบาทตามลำดับ) การศึกษานี้ได้เสนอ ข้อมูลสำคัญเพื่อนำมาใช้ในการประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการที่เหมาะสมในการตรวจคัดกรอง โลหิตบริจาคต่อไป
Other Abstract: This study was quantitative method to assess the incremental net benefit of the screening test to detect HIV-RNA by NAT compared with HIV p24 Ag by Elisa among blood donors at NATIONAL Blood Center, Thai Red Cross Society. When we could produce the bloods the incremental net benefit of the screening test to HIV-RNA was negative (-166.77, -170.31 Million). However, when we considered the chance which the donated blood could produce other blood components and spread of the other persons, the incremental net benefit of the screening test was positive (389.06, 326.87 Million). The result from this study can provide the important policy for planners and policy makers in decision making about policy of screening tests among blood donors in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11249
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.352
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.352
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee_Du.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.