Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11311
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนของการรักษาวัณโรคปอด ณ ศูนย์วัณโรคเขต
Other Titles: Cost analysis of pulmonary tuberculosis treatment at Zonal Turerculosis Centres
Authors: นฤมล สิงห์ดง
Advisors: ภิรมย์ กมลรัตนกุล
ฐปนก รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pirom.k@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: วัณโรคปอด -- ค่าใช้จ่าย
การรักษาโรค
ต้นทุน
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัณโรค ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ประกอบกับกรมควบคุมโรคติดต่อได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานใหม่ ทำให้ศูนย์วัณโรคเขตมีบุคลากรลดลง จึงสมควรวิเคราะห์สถานการณ์ต้นทุนของศูนย์วัณโรคเขต การศึกษาต้นทุนของการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ณ ศูนย์วัณโรคเขต ในมุมมองของผู้ให้บริการ ได้เก็บข้อมูลต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ ต้นทุนค่าลงทุน ในช่วงเดือน มกราคม ถึง กันยายน 2539 และใช้การจัดสรรต้นทุนแบบสมการเส้นตรง โดยอาศัยการแบ่งหน่วยงานออกเป็น 3 กลุ่มต้นทุน คือ หน่วยต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หน่วยต้นทุนที่ก่อให้เกิดรายได้ และหน่วยต้นทุนที่ให้บริการผู้ป่วย พบว่า ต้นทุนต่อครั้งของการตรวจรักษาผู้ป่วย เป็น 1,069.89 บาท การเอกซเรย์ปอดเป็น 153.74 บาท การตรวจเสมหะเป็น 157.37 บาท และการจ่ายยาเป็น 180.84 บาท การรักษาผู้ป่วยวัณโรคเชื้อดื้อยามีต้นทุนสูงที่สุด คือ 92,884.40 บาท ผู้ป่วยวัณโรคกลับเป็นซ้ำ 16,236.50 บาท ผู้ป่วยวัณโรคร่วมกับเอดส์ 15,615.46 บาท ต้นทุนของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคที่มีการดำเนินโรคที่มีการดำเนินโรคตามปกติ เป็น 12,498.30 บาท และต้นทุนของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคไม่แพร่เชื้อ เป็น 7,889.78 บาท อัตราส่วนต้นทุนค่าวัสดุ ต่อค่าลงทุน ต่อค่าแรง เป็น 1 : 2.52 : 3.09 โดยศูนย์วัณโรคเขต 3 ภาคตะวันออก ศูนย์วัณโรคเขต 7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และศูนย์วัณโรคเขต 9 ภาคเหนือซึ่งปฏิบัติงานตามโครงสร้างใหม่ของกรมควบคุมโรคติดต่อ มีต้นทุนการรักษาผู้ป่วยวัณโรคสูงกว่าศูนย์วัณโรคเขต 12 ภาคใต้ ที่ยังปฏิบัติงานตามโครงสร้างการบริหารงานเดิม จากการศึกษานี้ จึงควรจัดให้มีการทบทวนนโยบายในการให้บริการผู้ป่วยวัณโรค ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้ศูนย์วัณโรคเขตสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Other Abstract: The unit cost of pulmonary tuberculosis treatment is the important information for the health planners and policy makers to calculate the service charge and other future plan. Therefor, the objective of this study is to find the cost for tuberculosis treatment at Zonal Tuberculosis Centres from the perspective of providers All section of the Tuberculosis Centres were classified into three cost centre categories : Non-revenue Producing Cost center (NRPCC), Revenue Producing Cost Center (RPCC) and Patient Service Cost Center (PS). Direct cost of pulmonary tuberculosis treatment was summed up with the indirect cost allocated from NRPCC using an appropriate cost allocation criteria to produce the full cost of PS. The full cost was divided by the total number of visit to get the unit cost. It was found that the unit cost of routine service, chest x-ray, sputum examination and drug service were 1,069.89 baht, 153.74 baht, 157.37 baht and 180.84 baht, respectively. The total cost of multidrug resistant, relapse cases, TB with AIDS, newly diagnosed ; uncomplicated cases and INB cases were 92,884.40 baht, 16,236.50 baht, 15,615.46 baht, 12,498.30 baht and 7,889.78 baht, respectively. The rates of material cost : capital cost : labour cost was 1 : 2.52 : 3.09. Results of this study may be beneficial for patient service planning to increase the efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11311
ISBN: 9746363808
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naruemol_Si_front.pdf793.94 kBAdobe PDFView/Open
Naruemol_Si_ch1.pdf774.16 kBAdobe PDFView/Open
Naruemol_Si_ch2.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Naruemol_Si_ch3.pdf815.23 kBAdobe PDFView/Open
Naruemol_Si_ch4.pdf948.81 kBAdobe PDFView/Open
Naruemol_Si_ch5.pdf820.55 kBAdobe PDFView/Open
Naruemol_Si_back.pdf856.81 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.