Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11352
Title: การศึกษาการพัฒนาและการใช้หลักสูตรในโรงเรียนอนุบาล ที่ใช้แนวคิดทางการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่และวอลดอร์ฟ
Other Titles: A study of curriculum development and implementation in kindergarten using Montessori and Waldorf approaches
Authors: วีณา ก๊วยสมบูรณ์
Advisors: จีระพันธุ์ พูลพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Cheerapan.B@Chula.ac.th
Subjects: หลักสูตร
การวางแผนหลักสูตร
การสอนแบบมอนเตสซอรี
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการพัฒนาและการใชัหลักสูตรในโรงเรียนอนุบาล ที่ใช้แนวคิดทางการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่และวอลดอร์ฟ กรณีศึกษาคือ โรงเรียนอนุบาลที่ใช้แนวคิดทางการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ 1 แห่ง โรงเรียนอนุบาลที่ใช้แนวคิดทางการศึกษาแบบวอลดอร์ฟ 2 แห่ง เก็บข้อมูลโดยใช้เทคนิคการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ และการศึกษาเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนอนุบาล ที่ใช้แนวคิดทางการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและการใช้หลักสูตร สำหรับการพัฒนาหลักสูตรผู้บริหารจะมีการปรับเนื้อหา ให้สอดคล้องกับบริบทสังคมไทย ในส่วนเนื้อหาย่อยของกลุ่มเนื้อหาหลัก (3 กลุ่ม) ซึ่งเป็นแนวทางในการจัดทำชุดอุปกรณ์มอนเตสซอรี่ ในการใช้หลักสูตร มีการจัดกิจกรรมใน 2 ลักษณะ ได้แก่ กิจกรรมมอนเตสซอรี่ มีการจัดการเรียนการสอนตามหลักการแนวคิดมอนเตสซอรี่ และกิจกรรมกลุ่ม เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยพิจารณาจากเนื้อหาหลัก (3 กลุ่ม) ซึ่งได้แก่ ประสบการณ์ชีวิตหรือทักษะกลไก ประสาทสัมผัสและวิชาการ มีการแบ่งการจัดการเรียนการสอนออกเป็น 2 ส่วน คือ ภาคทฤษฎี มีครูเป็นผู้บรรยายความรู้ และภาคปฏิบัติ โดยเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย 2. โรงเรียนอนุบาล ที่ใช้แนวคิดทางการศึกษาแบบวอลดอร์ฟ ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและการใช้หลักสูตร ในการพัฒนาหลักสูตรผู้บริหารจะมีการปรับเนื้อหา ให้สอดคล้องกับบริบทสังคมไทย โดยพิจารณาจากความต้องการของเด็ก และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กเป็นสำคัญ จากนั้นจึงนำข้อมูลมาจัดเป็นเนื้อหากิจกรรม ตามหลักการของแนวคิดทางการศึกษาแบบวอลดอร์ฟ ในการใช้หลักสูตร จะมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผ่าน กิจกรรมการเล่น กิจกรรมประจำวัน กิจกรรมวงกลมและการเล่านิทาน ซึ่งขั้นตอนในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมของโรงเรียน จะแตกต่างกันไปตามความเข้าใจ ประสบการณ์ และการตีความหมาย ของผู้บริหารที่มีต่อแนวคิดทางการศึกษา
Other Abstract: To study the curriculum development and implementation in kindergartens using Montessori and Waldorf approaches. The case studies were 3 kindergartens; one Montessori kindergarten and two Waldorf kindergartens. The data collection methods were participant observation, interview and documentation. The findings were: 1. Kindergarten using Montessori approach. The administrator played an important role in curriculum development and implementation. In curriculum development, the content of curriculum was adjusted to Thai contexts in sub-content of three main Montessori's contents for creating its material. In curriculum implementation, learning activities consisted of the set of Montessori activities and group activities which were a part of three main Montessori's contents, i.e., practical life or motor skill, sensory and academy. The group activities are also divided into 2 parts: one was content matter, and the other was a practice. 2. Kindergartens using Waldorf approach. The administrators played an important role in curricuium development and implementation. In curriculum development, the content of Waldorf curriculum was adjusted to Thai context by considering needs of children as well as the children cultural backgrounds. In curriculum implementation, learning activities comprised a play, a main activities, a circle and a study telling. A process of each kindergarten activity was different according to administrator's understanding, experiences and interpretation of Waldorf approach.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11352
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.511
ISBN: 9743333525
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.511
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weena_Gu_front.pdf909.11 kBAdobe PDFView/Open
Weena_Gu_ch1.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Gu_ch2.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Gu_ch3.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Gu_ch4.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Gu_ch5.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Gu_ch6.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Gu_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.