Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11425
Title: การศึกษาเปรียบเทียบทิลล์ ออยเลนชะปีเกล กับศรีธนญชัยในฐานะนิทานมุขตลก
Other Titles: A comparative study of Till Eulenspiegel and Srithanonchai as trickster tales
Authors: ศิริพร ศรีวรกานต์
Advisors: ตรีศิลป์ บุญขจร
อำภา โอตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Trisilpa.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ทิลล์ ออยเลนชะปีเกล
ศรีธนญชัย
วรรณกรรมเยอรมัน -- ประวัติและวิจารณ์
วรรณกรรมไทย -- ประวัติและวิจารณ์
นิทานตลกขบขัน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ ประการแรก เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบทิลล์ออยเลนชะปีเกลกับศรีธนญชัยในฐานะนิทานมุขตลก ประการที่สอง เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบตัวละครเอกและคู่กรณีในเรื่องทิลล์ ออยเลนชะปีเกลกับเรื่องศรีธนญชัย ผลการวิจัยสรุปว่านิทานทั้งสองเรื่องมีลักษณะร่วมกัน ดังนี้ ประการแรก คือ ประวัติของตัวบทซึ่งเริ่มต้นจากการเป็น วรรณกรรมมุขปาฐะ ต่อมาเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์ และในภายหลังมีการนำเสนอในรูปแบบอื่นๆ ประการที่สอง คือ อนุภาค ได้แก่ อนุภาคเรื่องการใช้ภาษาอย่างเถรตรงตามรูปคำ อนุภาคเรื่องการใช้อุบาย อนุภาคเรื่องการกระทำเรื่องเหลือเชื่อและ อนุภาคเกี่ยวกับสิ่งสกปรก ประการที่สาม คือ กลวิธีการนำเสนอมุขตลก ได้แก่ การเล่นคำ จำแนกเป็นการเล่นคำจากการใช้คำอย่างคลุมเครือและการเล่นคำพ้องเสียง ส่วนการใช้ไหวพริบ จำแนกเป็นการใช้อุบายทางจิตวิทยา การใช้เหตุผลผิดที่และการใช้ไหวพริบสร้างคำถามที่ตอบไม่ได้ อย่างไรก็ตามนิทานทั้งสองเรื่องมีบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันจึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้ ประการแรก คือ บทบาทและสถานภาพทางสังคมของตัวละครเอกและคู่กรณี ทิลล์เป็น "คนนอก" ของสังคมที่รักอิสระเสรี ในขณะที่ศรีธนญชัยเป็น "คนใน" ของสังคมและดำรงชีพด้วยการเป็นขุนนาง ทิลล์มีความขัดแย้งกับกลุ่มช่างฝีมือและพ่อค้าบ่อยที่สุด ส่วนศรีธนญชัยมีความขัดแย้งกับพระเจ้าแผ่นดินบ่อยที่สุด ประการที่สอง อนุภาคเรื่องเพศพบเฉพาะในเรื่องศรีธนญชัย ประการที่สาม คือ ความแตกต่างด้านกลวิธีการนำเสนอมุขตลกทางด้านการเล่นคำที่มีลักษณะเฉพาะ ในเรื่องทิลล์ ออยเลนชะปีเกล ได้แก่ การเล่นคำที่กล่าวตามมารยาท ในเรื่องศรีธนญชัย ได้แก่ การเล่นสำนวน การเล่นคำผวนและการเล่นคำอนุนามนัย นิทานมุขตลกไม่เพียงแต่ให้ความบันเทิง แต่ยังมีบทบาททางด้านจิตวิทยาให้แก่คนในสังคม นิทานมุขตลกจึงมีคุณค่าแก่การศึกษา ในฐานะที่นิทานมุขตลกเป็นผลผลิตของการสร้างสรรค์เชิงปัญญาที่มีความเป็นสากล
Other Abstract: This thesis has two main objectives: to make a comparative analysis of Till Eulenspiegel and Srithanonchai in terms of their trickster tale characteristics and to compare their protagonists and antagonists. The study shows that while the two tales have their own distinctive elements, they have some characteristics in common. Firstly, both tales originated in the oral tradition, then got written down and have since been presented in other forms. Secondly, they share common motifs of literal interpretation, tricks, impossible tasks and uncleanliness. Thirdly, both also have similar techniques of jokes; namely word playing (using words vaguely and playing with homophones) and conceptual witty joking (playing psychological tricks, using faulty reason and asking no-answer questions). However, since they originated in different social and cultural contexts, these two tales have some characteristics peculiar to themselves. Firstly, the role and social status of the protagonist and antagonist in each tale are different from their counterparts in the other. Till Eulenspiegel acts as an "outsider" and leads a free lifestyle. Srithanonchai acts as an "insider" and becomes a famous nobleman. Till's opponents are mostly craftsmen while Srithanonchai often has conflicts with his king. Secondly, the sex motif is found only in Srithanonchai. Thirdly, each trickster uses different strategies in his word plays: Till Eulenspiegel plays with ironical words and social formulae whereas Srithanonchai plays with idioms, obscene words and synecdoche. Trickster tales play not only an entertaining role but also a psychological one for the people in each society. They are, therefore, valuable subjects for comparative analysis as universal products of intellectual creation.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วรรณคดีเปรียบเทียบ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11425
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.229
ISBN: 9743335684
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.229
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn_Sr_front.pdf790.8 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Sr_ch1.pdf886.87 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Sr_ch2.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Sr_ch3.pdf909.87 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Sr_ch4.pdf889.53 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Sr_ch5.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Sr_ch6.pdf748.03 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_Sr_back.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.