Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11462
Title: การใช้สิทธิโดยสุจริต
Other Titles: The exercise of rights with good faith
Authors: สุจิต ปัญญาพฤกษ์
Advisors: ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Prasit.Ko@Chula.ac.th
Subjects: สุจริต (กฎหมาย)
กฎหมายแพ่ง
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาหลักสุจริต (Good faith) ในมาตรา 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยซึ่งเป็นหลักทั่วไป (General principle) เป็นรากฐานของระบบกฎหมายแพ่ง และเป็นบทกฎหมายยุติธรรม (Jus Aequum) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความยุติธรรมอย่างแท้จริงแก่คู่พิพาทที่นำคดีไปสู่ศาล แต่เนื่องจากลักษณะการบัญญัติเป็นข้อความทั่วไป เป็นแนวทางกว้างๆ มีเนื้อความที่ยังไม่แน่นอนชัดเจน ทำให้เป็นปัญหาและความยากลำบากในการทำความเข้าใจหลักกฎหมายนี้เป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งหลักสุจริตมีความหมายขอบเขตกว้างขวางจนยากที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนได้ อันเป็นสาเหตุแห่งปัญหาที่จะนำหลักกฎหมายนี้ไปปรับใช้แก่คดีต่างๆ ได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงได้ทำการศึกษาค้นคว้าหลักกฎหมายเพื่อรวบรวมและวางแนวบรรทัดฐานคำพิพากษาฎีกาเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ ในการศึกษาได้พบว่า หลักสุจริตดังกล่าวเป็นหลักแห่งการอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นหลักวิญญูชนผู้เกี่ยวข้องพึงปฏิบัติต่อกัน และมีความสำคัญเป็นรากฐานของระบบกฎหมายแพ่งทั้งปวงเพื่ออำนวยความเป็นธรรม และเป็นหลักกฎหมายที่สามารถนำไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมได้เป็นอย่างดี ในระบบกฎหมายแพ่งไทยได้ยอมรับความสำคัญและหน้าที่ดังกล่าวเช่นเดียวกันประเทศภาคพื้นยุโรป แต่ความจริงแล้วการนำไปปรับใช้แก้คดีข้อพิพาทยังค่อนข้างน้อย โดยที่ยังไม่มีหลักเกณฑ์การปรับใช้ที่เป็นรูปธรรมวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนวทางโดยอาศัยจากการศึกษาทฤษฎีหลักกฎหมายทั้งของไทยและต่างประเทศ แนวคิดทางนิติปรัชญา หลักแห่งความยุติธรรมและเหตุผล (Rational) รวมทั้งจากการรวบรวมคำพิพากษาฎีกามาวางแนวบรรทัดฐานเป็นหลักเกณฑ์กว้างๆ เพื่อเป็นกรอบในการนำไปใช้ซึ่งสามารถกำหนดเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ หลักเกณฑ์ในการทำหน้าที่อำนวยความเป็นธรรมให้แก่คู่พิพาท และหลักเกณฑ์ในการนำไปปรับใช้กับข้อเท็จจริงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น หลักเกณฑ์ทั้งสองประการดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์การนำหลักสุจริตมาปรับใช้แก่คดีข้อพิพาทที่ความแน่นอนชัดเจนพอสมควร ซึ่งผู้ใช้กฎหมายสามารถนำมาเป็นแนวทางการปรับใช้ได้เป็นอย่างดีอันเป็นการแก้ไขปัญหาช่องว่างแห่งความยุติธรรมของกฎหมายหรือสัญญา อันจะก่อให้เกิดความยุติธรรมอย่างแท้จริงแก่คู่พิพาทที่นำคดีขึ้นสู่ศษลได้อย่างมีประสิทธิผล อันเป็นการเสริมสร้างการอำนวยความยุติธรรมแก่สาธารณชนให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมซึ่งสอดคล้องกับหลักแห่งความเป็นธรรม เหตุผลและความถูกต้องได้อย่างสมบูรณ์
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the principle of good faith under section 5 of the Civil and Commercial Code which is a general principle, a foundation of the whole system of civil law. Section 5 is jus aequum which aims at bringing justice to the disputing parties in the court. However, due to the character of legislating a general clause, it is broad and unclear in itself, a buit-in nature of an jus aequum. The principle causes problems and difficulty in its comprehension. In addition, the principle of good faith has broad scope to the extent of causing difficulty in laying down a certain principle. Such an incident causes difficulty in compiling and making precedents of the Supreme Court. The study finds that the siad principle of good faith is a principle of co-existence in a society, a principle which the relevant reasonable man should practice. In the legal sheme it is important for being the foundation of civil law by directing justice to the subject matter under consideration. This thesis thereby carries out a study about the said principle to allow a track of precedent of the Thai Supreme Court decisions which hold a general principle. In fact its application is to create two prongs i.e. the principle in generating equity to the disputing parties and the principle which can be applied to new facts. Both principles are meant for bringing the principle of good faith to apply to the dispute with sufficient certainty. This will allow the user of law to apply, in the most efficient manner, law with good adaptation to bring real justice to the disputing parties who submitted cases to court. It may allow a correction of the gap of justice in a law or a contract. This principle thereby enhances the administration of justice for the public by giving a concrete form which is interwoven into the principle of equity, reason and righteousness in a perfect manner.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11462
ISBN: 9746396293
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchit_Pu_front.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Suchit_Pu_ch1.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Suchit_Pu_ch2.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Suchit_Pu_ch3.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Suchit_Pu_ch4.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
Suchit_Pu_ch5.pdf879.02 kBAdobe PDFView/Open
Suchit_Pu_back.pdf737.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.