Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11498
Title: Detection of restenosis after Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty (PTCA) using the exercise treadmill test and technetium 99m-sestamibi scintigraphy
Other Titles: ความไว, ความจำเพาะ ของวิธีการออกกำลังกายโดยการวิ่งบนสายพานร่วม กับการตรวจด้วยการฉีดสาร เทคนีเซี่ยม 99 เอ็ม เซสตามีบี้ ในภาวะตีบตันซ้ำของหลอดเลือดหัวใจ โคโรนารี่ ภายหลังการขยายเส้นเลือดด้วยการใช้บอลลูน
Authors: Thosaphol Limpijankit
Advisors: Chalard Somabutr
Suphot Srimahachota
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: No information provided
No information provided
Subjects: Technetium-99m Sestamibi scintigraphy
Exercise tests
Treadmill exercise tests
Issue Date: 1996
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: BACKGROUND : The detection of myocardial ischemia after percutaneous balloon coronary angioplasty (PTCA) is important because 30-50% of the patients will develop restenosis in 6 months. Symptom of chest pain and exercise stress test (EST) have been shown to be less sensitive for detection restenosis after PTCA than Thallium-201 scintigraphy, but there are few reports regarding detection restenosis by using Tc-99m MIBI. The purpose of this study is to compare the sensitivity and specificity of chest pain, EST and exercise Tc-99m MIBI with coronary angiography (CAG) in post PTCA patients. Methods : Exercise Tc-99m MIBI with SPECT imaging was performed 1, 3 and 6 months and CAG was repeated at 6 months after successful PTCA. Earlier Tc-99m MIBI scan and CAG were done if the patients had recurrent angima pectoris. RESULTS : From November 1995 to February 1997, Forty-six patients (M29, F17) who underwent successful angioplasty were prospectively enrolled. Mean age was 61.3+_19 yrs. Eighty-eight lesions (LAD 63%, LCX 34%, RCA 19%) were performed. Lesion characteristics were type A in 9%, type B in 30% and type C in 65%. Fifty-four percent of PTCA were done for single vessel disease and forty-six percent for multivessel disease. Mean duration from PTCA to follow-up CAG was 6.1+_2.7 months. We detected 58% (27/46) case-restenosis from CAG. The sensitivity and specificity of angina pain, EST and Tc-99m MIBI compared with CAG were shown in the table. The overall accuracy of Tc-99m MIBI for detection of restenosis was 80%. Angina pain (sensitivity = 39.4%, specificity = 66.7%), EST sensitivity 63.6%, specificity = 66.7, and Tc 99m-MIBI (sensitivity 85.0*% specificity 72.0%). *p<0.05 versus EST and p<0.001 versus angina pain CONCLUSION : Tc-99m MIBI with SPECT imaging is a better tool for the detection of restenosis after coronary angioplasty.
Other Abstract: ที่มาการศึกษา : การตรวจหาภาวะการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจภายหลังการขยายเส้นเลือดหัวใจด้วยบอลลูน มีความสำคัญ เนื่องจาก 30-50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจะเกิดการตีบตันซ้ำภายใน 6 เดือน อาการเจ็บแน่นหน้าอก และการตรวจด้วยวิธีออกกำลังกายโดยการวิ่งบนสายพาน นั้นพบว่าไม่มีความไวเพียงพอในการวินิจฉัยภาวะการตีบตันซ้ำภายหลังการขยายเส้นเลือดด้วยบอลลูน เมื่อเทียบกับการตรวจด้วยวิธี Thallium-201 Scintigraphy สำหรับการตรวจด้วยวิธี Tc-99m MIBI เพื่อวินิจฉัยภาวะการตีบตันซ้ำนั้น พบว่ามีการศึกษากันน้อย ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อเปรียบเทียบ ความไว และความจำเพาะของอาการเจ็บแน่นหน้าอก, การออกกำลังกายโดยการวิ่งบนสายพานและการตรวจ Tc-99m MIBI กับผลการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับขยายเส้นเลือดหัวใจ วิธีการศึกษา : การตรวจด้วยวิธีการออกกำลังร่วมกับการใช้สาร Tc-99m และตรวจด้วย SPECT imaging กระทำที่ 1, 3 และ 6 เดือน และฉีดสีเส้นเลือดหัวใจซ้ำที่ 6 เดือน ภายหลังการขยายเส้นเลือดหัวใจเป็นผลสำเร็จ การตรวจด้วย Tc-99m MIBI และการฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจซ้ำจะทำก่อนกำหนดเร็วขึ้น ถ้าผู้ป่วยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเกิดขึ้นอีก ผลการศึกษา : ช่วงระยะการศึกษา จาก เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2540 รวบรวมและศึกษาผู้ป่วยที่ขยายเส้นเลือดหัวใจเป็นผลสำเร็จ 46 คน(ชาย 29 คน, หญิง 17 คน) อายุเฉลี่ย 61.3+_19 ปี จำนวนตำแหน่งของเส้นเลือดที่ขยาย 88 ตำแหน่ง(LAD 63 เปอร์เซ็นต์, LCX 34 เปอร์เซ็นต์, RCA 19 เปอร์เซ็นต์) ลักษณะของเส้นเลือดเป็นแบบชนิด A 9 เปอร์เซ็นต์, ชนิด B 30 เปอร์เซ็นต์ การขยายเส้นเลือดหัวใจกระทำในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดตีบตันเส้นเดียว 54 เปอร์เซ็นต์ และ 46 เปอร์เซ็นต์ ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดตีบหลายเส้น ระยะเวลาเฉลี่ยจากการขยายเส้นเลือดถึงการฉีดสีดูเส้นเลือดหัวใจซ้ำ 6.1+_2.7 เดือน ผลการศึกษาพบมีการตีบตันซ้ำ 58 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ป่วย ผลความไว และ ความจำเพาะของอาการเจ็บแน่นหน้าอก, การออกกำลังโดยการวิ่งบนสายพาน และการตรวจ Tc-99m MIBI เทียบกับการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจดังตาราง ผลความถูกต้องโดยรวมของการใช้ Tc-99m MIBI ในการวินิจฉัยภาวะการตีบตันซ้ำ 80 เปอร์เซ็นต์ อาการเจ็บแน่นหน้าอก มีความไว 39.4% มีความจำพาะ 66.7% การออกกำลังโดยวิ่งบนสายพาน มีความไว 63.9% มีความจำเพาะ 66.7% Tc 99m-MIBI มีความไว 85.0*% มีความจำเพาะ 72.0% *p<0.05 เทียบกับการออกกำลังโดยการวิ่งบนสายพาน and p<0.001 เทียบกับอาการเจ็บแน่นหน้าอก สรุปผลการศึกษา : การตรวจ Tc-99m MIBI ด้วยวิธี SPECT imaging เป็นวิธีที่ดีกว่า ในการวินิจฉัยภาวะการตีบตันซ้ำภายหลังการขยายเส้นเลือดหัวใจ
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 1996
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Medicine
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11498
ISBN: 9746363476
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thosaphol_Li_front.pdf776.87 kBAdobe PDFView/Open
Thosaphol_Li_ch1.pdf735.46 kBAdobe PDFView/Open
Thosaphol_Li_ch2.pdf718.44 kBAdobe PDFView/Open
Thosaphol_Li_ch3.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Thosaphol_Li_ch4.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Thosaphol_Li_ch5.pdf769.32 kBAdobe PDFView/Open
Thosaphol_Li_ch6.pdf677.27 kBAdobe PDFView/Open
Thosaphol_Li_back.pdf816.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.