Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11508
Title: การจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองพุทธศักราช 2475 ถึง พุทธศักราช 2488
Other Titles: Educational management at the elementary education level in Thailand from the period of the political transition during B.E. 2475 to B.E. 2488
Authors: วารีรัตน์ ผาสุก
Advisors: จีระพันธุ์ พูลพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Cheerapan.B@Chula.ac.th
Subjects: การศึกษาขั้นประถม -- ไทย -- หลักสูตร
การศึกษา -- เป้าหมายและวัตถุประสงค์
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาในประเทศไทย ด้านจุดมุ่งหมาย แนวทางการจัดการศึกษา และการดำเนินการจัดการศึกษา ตามแนวนโยบายทางการศึกษาของรัฐบาลในสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองพุทธศักราช 2475 ถึงพุทธศักราช 2488 โดยใช้วิธีการศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร และการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า ผลการวิจัยสรุปได้ว่า : 1. จุดมุ่งหมายในรัฐธรรมนูญ นโยบายทางการศึกษาของรัฐบาลแผนการศึกษา และหลักสูตรประถมศึกษา คือ ต้องการให้ราษฎรมีความรู้ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย รู้จักสิทธิ หน้าที่ของพลเมืองดี มีคุณสมบัติที่เหมาะสมแก่การเป็นพลเมืองดี อ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณได้ ช่างสังเกต มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพและมีศีลธรรม 2. แนวทางการจัดการศึกษา คือ ขยายการศึกษาออกไปให้แพร่หลาย ปรับปรุงหลักสูตรตำราเรียน ส่งเสริมการศึกษาด้านอาชีพและส่งเสริมฐานะความเป็นอยู่ของครูให้ดีขึ้น ให้ความสำคัญกับศีลธรรม อนามัยของนักเรียน และได้เสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนบางรายวิชาไว้ในหลักสูตร 3. การดำเนินการจัดการศึกษาส่งผลต่อการขยายตัวด้านปริมาณของการศึกษาระดับประถมศึกษาอย่างเห็นได้ชัด คือ สามารถประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2464 ได้ครบทุกตำบลในปี พ.ศ.2478 และจัดสร้างโรงเรียนประชาบาลได้ครบทุกตำบลในปี พ.ศ.2479 แต่ด้านคุณภาพการดำเนินการจัดการศึกษายังไม่บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ ทั้งนี้เพราะได้รับอิทธิพลจากสภาพสังคมที่ราษฎรไม่เห็นคุณค่า และความจำเป็นของการศึกษา อิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจของประเทศที่ตกต่ำต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน และการทุ่มเทงบประมาณในการป้องกัน และรักษาความสงบภายในประเทศของรัฐบาล อิทธิพลทางด้านการเมืองเนื่องจากความไม่มั่นคงทางการเมือง ทำให้การกำหนดนโยบายทางการศึกษา และการดำเนินการจัดการศึกษาไม่ต่อเนื่องและขาดช่วง ประกอบกับประเทศชาติได้รับภัยพิบัติจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งส่งผลกระทบไม่เพียงแต่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำเท่านั้น การจัดการศึกษายังต้องชะงักงันไป เพราะโรงเรียนต้องปิดเรียนทั่วประเทศ
Other Abstract: This research is to study the management of the elementary education level in Thailand concerning the educational aims, the process of educational management, and the educational procedures in accordance with the Government's educational policy according to the society, economic and political circumstances since the period of the political transition in B.E. 2475 to B.E. 2488. The methods used in this research were studying and analyzing the document, oral history from the narration and presenting the data in analytical description. The results of the research could be concluded as follows : 1) The elementary education management had the educational aims in accordance with the constitution, the Government's educational policy, the National Plan and the Elementary Curriculum. Its aims were to make people learn and understand the democratic system; know their own rights, the responsibilities of good citizens, being able to read, to write, and to calculate; being observant, strong and healthy, capable to do the job with ethical behavior. 2) The process of educational management was to extend education for all, to improve the curriculum and textbook; to promote the vocational education; to promote the teachers' status; to focus on students' ethics and hygiene and proposing the teaching-learning process for some subjects in the curriculum. 3) The educational management had a distinct effect on the quantitative extension of the elementary education, they are, the statute of the education was passed in B.E. 2464 and was effective in all tambols in B.E. 2478. The public schools were built in every tambol in B.E. 2479, but the quality of educational management still did not attain the expected aims because of the social, economic and political circumstances: the internal political unstability and the impact from the international politics, together with disasters and damages caused by the second world war which effected not only on the economics, but also on the education because the schools all over the country had to be closed.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11508
ISBN: 9746352318
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wareerat_Pa_front.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Wareerat_Pa_ch1.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Wareerat_Pa_ch2.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Wareerat_Pa_ch3.pdf857.34 kBAdobe PDFView/Open
Wareerat_Pa_ch4.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Wareerat_Pa_ch5.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Wareerat_Pa_ch6.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Wareerat_Pa_ch7.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
Wareerat_Pa_ch8.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Wareerat_Pa_back.pdf2.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.