Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11647
Title: | การจัดตารางเวลาการเดินรถขนส่งน้ำมัน |
Other Titles: | Vehicle scheduling for tank trucks |
Authors: | สุธน นิตยาธารีกุล |
Advisors: | สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sompong.Si@Chula.ac.th |
Subjects: | ปิโตรเลียม -- การขนส่ง การขนส่ง -- ตารางเวลา การจัดตารางเวลา -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์สำหรับใช้ในการจัดตารางเวลาการเดินรถบรรทุกน้ำมันแบบเต็มคันจากคลังน้ำมันเพียงแห่งเดียวไปยังสถานีจำหน่ายน้ำมันต่างๆ การวิจัยครั้งนี้ได้จำลองปัญหาการจัดตารางเวลาการเดินรถให้เป็นเช่นเดียวกับปัญหาการจัดงานให้กับเครื่องจักรหลายเครื่องที่ทำงานขนานกันไป และได้พัฒนาเทคนิควิธีฮิวริสติกส์เพื่อใช้ในการหาตารางเวลาการเดินรถที่มีความเหมาะสม งานพัฒนาระบบการจัดตารางเวลาการเดินรถขนส่งแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนหลัก งานแรกเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการขนส่งที่คลังน้ำมันของบริษัทน้ำมันแห่งหนึ่ง งานในขั้นที่สองเป็นการพัฒนาแบบจำลองการจัดตารางเวลาซึ่งแบ่งได้ออกเป็น 3 ส่วนย่อย คือ การจัดงานให้กับรถขนส่ง การจัดลำดับที่ของงาน และการมอบหมายงานให้กับพนักงานขับรถ แบบจำลองจัดตารางเวลาจะทำการจัดงานให้กับรถขนส่งเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากรถสูงสุด และจะทำการจัดลำดับที่ของงานของรถแต่ละคันเพื่อลดความแออัดที่จะเกิดขึ้นที่คลังน้ำมันเมื่อรถมาจอดรอเติมน้ำมันที่คลังน้ำมัน แล้วทำการมอบหมายงานส่งน้ำมันให้กับพนักงานขับรถเพื่อให้พนักงานขับรถที่ประจำการอยู่มีรายได้ที่ใกล้เคียงกันในแต่ละรอบเดือนของการทำงาน ส่วนงานขั้นสุดท้ายของการศึกษาเป็นการพัฒนาแบบจำลองให้โปรแกรม Spreadsheet เพื่อความสะดวกในการนำแบบจำลองไปใช้งาน การศึกษาได้ตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของแบบจำลองและโปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้ข้อมูลการปฏิบัติงานจริงที่เก็บในช่วง 9 วัน และผลการศึกษาพบว่าเมื่อเทียบกับการจัดด้วยพนักงาน ระบบที่พัฒนาขึ้นมาสามารถจัดตารางเวลาการเดินรถที่เกิดการใช้ประโยชน์จากรถในอัตราที่สูงกว่า และเพิ่มความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ให้กับพนักงานขับรถ |
Other Abstract: | The development of the vehicle scheduling system is divided into 3 main steps. The first step involves the collection of relevant traffic data at a depot owned by a petroleum company. The second step is to develop a scheduling model consisting of three modules: "Order-Truck Assignment" module, "Order Sequencing", and "Job-Driver Assignment". The "Order-Truck Assignment" module assigns customers' delivery orders to available tank trucks with the objective to maximize truck utilization. Given the assignment of delivery orders to all trucks as provided by the first module, the "Order Sequencing" module attempts to determine sequences of orders that minimize the congestion likely experienced by tank trucks waiting to be loaded at the depot. Finally, the "Job-Driver Assignment" module distributes workloads to available drivers to ensure that available drivers will share relatively similar earnings during each monthly work cycle. The final step of model development transforms the developed scheduling model into a spreadsheet-based program to facilitate model application. The model and the associated spreadsheet-based program is thoroughly verified and validated using the real-life data observed over 9 days. The analysis results clearly indicate that vehicle schedules as generated by the developed system yield higher truck utilization and a more evenly distribution of earnings among drivers than those determined manually. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11647 |
ISBN: | 9740314201 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suthon.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.