Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11677
Title: ผลของการให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับกระบวนการปรึกษาหารือต่อการตัดสินใจในกลุ่มขนาดเล็ก
Other Titles: Effects of group discussion process feedback on small-group decision making
Authors: บงกช นักเสียง
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chaiyaporn.W@Chula.ac.th
Subjects: กลุ่มทำงาน
การตัดสินใจของกลุ่ม
ข้อมูลป้อนกลับ
การให้คำปรึกษา
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับกระบวนการปรึกษาหารือต่อการตัดสินใจในกลุ่มขนาดเล็ก การให้ข้อมูลป้อนกลับกระทำใน 5 รูปแบบ คือ (1) ผลป้อนกลับรูปแบบ F4 (กราฟ+เอกสาร+เทป+อธิบายชี้แจง) (2) ผลป้อนกลับรูปแบบ F3 (กราฟ+เอกสาร) (4) ผลป้อนกลับรูปแบบ F1 (กราฟ) และ (5) ผลป้อนกลับรูปแบบ F0 (ไม่ได้รับผลป้อนกลับ) ส่วนตัวแปรตามมี 7 ตัว คือ (1) ลักษณะพฤติกรรมการปรึกษาหารือของกลุ่ม (2) ความยอมรับในมติกลุ่มของสมาชิก (3) ความถูกต้องของการตัดสินใจกลุ่มตามที่เป็นจริง (4) ความถูกต้องของการตัดสินใจกลุ่มตามการรับรู้ของสมาชิก (5) ประสิทธิผลการตัดสินใจของกลุ่มตามที่เป็นจริง (6) ประสิทธิผลการตัดสินใจของกลุ่มตามการรับรู้ของสมาชิก และ (7) ความแตกฉานทางปัญญาจากการประชุมกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันราชภัฏ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชามนุษยสัมพันธ์ จำนวน 300 คน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ตามรูปแบบข้อมูลป้อนกลับที่ได้รับ กลุ่มละ 60 คน ในแต่ละกลุ่มแบ่งเป็น 12 กลุ่มย่อย กลุ่มย่อยละ 5 คน กลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มจะมีการประชุมกลุ่ม 3 ครั้ง และจะได้รับผลป้อนกลับหลังจากการประชุมกลุ่มครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลป้อนกลับรูปแบบ F4 และ F3 ส่งผลให้ลักษณะพฤติกรรมการปรึกษาหารือของกลุ่มดีขึ้นในการประชุมกลุ่มครั้งหลัง (p<.01) รูปแบบผลป้อนกลับมีลักษณะพฤติกรรมการปรึกษาหารือของกลุ่มแตกต่างกัน ในการประชุมครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 (p<.01) โดยพบว่า ผลป้อนกลับรูปแบบ F4 มีลักษณะพฤติกรรมการปรึกษาหารือของกลุ่มในทางดีกว่า ผลป้อนกลับรูปแบบอื่นๆ (F3, F2, F1 แล F0) ส่วนผลป้อนกลับรูปแบบอื่นๆ ไม่แตกต่างซึ่งกันและกัน 2. ผลป้อนกลับรูปแบบ F2, F1 และ F0 ไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะพฤติกรรมการปรึกษาหารือของกล่ม ในการประชุมกลุ่มครั้งหลัง (p>.05) 3. เมื่อนำผลป้อนกลับทั้ง 5 รูปแบบมาเรียงลำดับจากรูปแบบผลป้อนกลับที่มีลักษณะพฤติกรรมการปรึกษาหารือดีมากถึงดีน้อยจะได้ว่า F4 ดีกว่า F2, F2 ดีกว่า F3, F3 ดีกว่า F1 (p<.05) ซึ่ง F1 ไม่แตกต่างจาก F0 (p>.05) แต่เมื่อรวมผลป้อนกลับทุกรูปแบบเข้าด้วยกัน การประชุมกลุ่มครั้งที่ 3 มีลักษณะพฤติกรรมการปรึกษาหารือของกลุ่มดีกว่าการประชุมกลุ่มครั้งที่ 2 และครั้งที่ 1 (T3, T2 และ T1) (p<.05) 4. ผลป้อนกลับแต่ละรูปแบบไม่ส่งผลให้ความยอมรับในมติกลุ่มของสมาชิกเกิดการเปลี่ยนแปลง จากการประชุม T1 ไป T2 ไป T3 (p>.05) แต่เมื่อรวมผลป้อนกลับทุกรูปแบบเข้าด้วยกันแล้ว ครั้งที่ประชุมกลุ่มส่งผลให้ความยอมรับในมติกลุ่มของสมาชิกเกิดการเปลี่ยนแปลง ในการประชุมกลุ่มครั้งที่ 3 และครั้งที่ 2 สมาชิกจะมีความยอมรับในมติกลุ่มมากกว่าการประชุมกลุ่มครั้งที่ 1 (p< .05) 5. ผลป้อนกลับแต่ละรูปแบบไม่ส่งผลให้ความถูกต้องของการตัดสินใจกลุ่มตามที่เป็นจริงเกิดการเปลี่ยนแปลง จากการประชุม T1 ไป T2 ไป T3 (p> .05) แต่พบว่าผลป้อนกลับรูปแบ F4 มีความถูกต้องของการตัดสินใจกลุ่มตามที่เป็นจริง มากกว่า ผลป้อนกลับรูปแบบ F3 (P< .05) ส่วนผลป้อนกลับรูปแบบอื่นๆ ไม่แตกต่างซึ่งกันและกัน (P> .05) 6. ผลป้อนกลับแต่ละรูปแบบไม่ส่งผลให้ความถูกต้องของการตัดสินใจกลุ่มตามการรับรู้ของสมาชิกเกิดการเปลี่ยนแปลง จากการประชุม T1 ไป T2 ไป T3 (p> .05) แต่พบว่าผลป้อนกลับรูปแบบ F2 มีความถูกต้องของการตัดสินใจกลุ่มตามการรับรู้ของสมาชิก มากกว่า ผลป้อนกลับรูปแบบ F3 และ F1 (p< .05) ส่วนผลป้อนกลับรูปแบบอื่นๆ ไม่แตกต่างซึ่งกันและกัน (P > .05) 7. ผลป้อนกลับแต่ละรูปแบบไม่ส่งผลให้ประสิทธิผลการตัดสินใจของกลุ่มตามที่เป็นจริงเกิดการเปลี่ยนแปลง จากการประชุม T1 ไป T2 ไป T3 (P> .05) แต่พบว่าผลป้อนกลับรูปแบบ F4 มีประสิทธิผลการตัดสินใจของกลุ่มตามที่เป็นจริง มากกว่าผลป้อนกลับรูปแบบ F0 F1 F2 และ F3 (P< .05) ส่วนผลป้อนกลับรูปแบบอื่นๆ ไม่แตกต่างซึ่งกันและกัน (P> .05) 8. ผลป้อนกลับแต่ละรูปแบบไม่ส่งผลให้ประสิทธิผลการตัดสินใจของกลุ่มตามการรับรู้ของสมาชิกและความแตกฉานทางปัญญาจากการประชุมกลุ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง จากการประชุม T1 ไป T2 ไป T3 (p> .05)
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of feedback concerning discussion process on small-group decision making. Feedback data were devided into 5 formats, namely, (1) Feedback format F4 (bar graph+document+guide tape), (2) Feedback format F3 (bar graph+document+tape), (3) Feedback format F2 (bar graph+document), (4) Feedback format F1 (bar graph), and (5) Feedback format F0 (no feedback). There were 7 dependent variables, namely, (1) discussion behavior, (2) acceptance of group decision, (3) correct group answers, (4) perceived correct group answers, (5) group effectiveness, (6) perceived group effectiveness, and (7) group synergy. The participants were 300 undergraduate students from the human relations classes at Rajabhat Institute. They were devided into 5 groups with 60 participants each. Each group was given one feedback format. Each group was devided into 12 sub-groups of 5 members each. Each sub-group discussed three times and feedback was given after the first and second discussion. The results show: 1. Feedback formats F4 and F3 resulted in better discussion behavior in subsequent meetings, (p<.01). Feedback formats resulted in different discussion behavior in the second and third discussions, (p<.01). Feedback format F4 had better discussion behavior than other feedback formats (F3, F2, F1 and F0). Other feedback formats were not different from one another. 2. Feedback formats F2, F1 and F0 did not result in changing of discussion behavior insubsequent meetings, (p>.05). 3. Ranking the five feedback formats from the best to the least of discussion behavior, F4 had better discussion behavior than F2, F2 had better discussion behavior than F3, F3 had better discussion behavior than F1, (p<.05) and F1 was not different from F0, (p>.05). When combining all feedback formats, the third discussion had better discussion behavior than the second and first discussions, (p<.05). 4. Each feedback format did not result in changing of acceptance of group decision from the first to second and third discussion, (p>.05). When combining all feedback formats, the time of group discussion resulted in changing of acceptance of group decision. In the third and second discussions, the members had more acceptance of group decisions than the first discussion, (p<.05). 5. Each feedback format did not result in changing of correct group answer from the first to second and third discussion, (p>.05), but feedback format F4 had more correct group answer than feedback format F3, (p<.05) and other feedback formats were not different from one another, (p>.05). 6. Each feedback format did not result in changing of perceived correct group answers from the first to second and third discussion, (P>.05) but feedback format F2 had more perceived correct group answers than feedback formats F3 and F1, (p<.05) and other feedback formats were not different from one another, (p>.05). 7. Each feedback format did not result in changing of group effectiveness from the first to second and third discussion, (p>.05) but feedback format (F4) had more group effectiveness than feedback formats F0, F1, F2 and F3 (p<.05) and other feedback formats were not different from one another, (p>.05) 8. Each feedback format did not result in changing of perceived group effectiveness and group synergy from the first to second and third discussion, (p>.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11677
ISBN: 9743320849
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bongkoch_Na_front.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Bongkoch_Na_ch1.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Bongkoch_Na_ch2.pdf929.79 kBAdobe PDFView/Open
Bongkoch_Na_ch3.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Bongkoch_Na_ch4.pdf952.07 kBAdobe PDFView/Open
Bongkoch_Na_ch5.pdf819.73 kBAdobe PDFView/Open
Bongkoch_Na_back.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.