Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11720
Title: วิวัฒนาการธรณีวิทยาแปรสัณฐานประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก : รายงานวิจัย
Other Titles: Tectonic evolution of Thailand : Northern Northeast and Eastern
Authors: ปัญญา จารุศิริ
วิโรจน์ ดาวฤกษ์
จักรพันธ์ เจริญฐิติรัตน์
วิชัย จูฑะโกสิทธิ์กานนท์
ธนา บุพพารัมณีย์
Email: Punya.C@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Vichai.C@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย
ธรณีวิทยากายภาพ -- ไทย
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นที่ที่ศึกษาในปีที่หนึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเน้นการศึกษาตามเส้นทางที่คาดว่าเป็นแนวรอยต่อที่เกิดจากการชนกันของจุลทวีป และบรรพสมุทรต่าง ๆ ของประเทศไทยในอดีต ซึ่งประกอบด้วยเส้นทางลำปาง-เชียงใหม่-เชียงรายทางตอนเหนือ, เส้นทางอุตรดิตถ์-น่าน-ตาก ทางตอนใต้และตะวันออก และทางตะวันตกสุดของภาคเหนือบริเวณแม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้เน้นถึงการสำรวจทางด้านธรณีวิทยา, รายละเอียดด้านการลำดับชั้นหิน (โดยเฉพาะการแผ่กระจายของหินยุคไทรแอสซิก), ธรณีโครงสร้างหลัก, ศิลาพรรณนาและธรณีเคมี (โดยเฉพาะโครเมียนสปิเนล) เพื่อกำหนดแนวและขอบเขตที่แน่ชัดของรอยต่อที่เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก หินตะกอนยุคไทรแอสซิกมีความสำคัญทางธรณีวิทยาของประเทศนับตั้งแต่ Bunopas (1981) ได้เคยวิเคราะห์ว่าแผ่นจุลทวีปที่สำคัญประเทศไทย มี 2 แผ่น คือ จุลทวีปฉานไทย และจุลทวีปอินโดจีน เกิดการชนกันในช่วงยุคไทรแอสซิกบริเวณที่เรียก ตะเข็บธรณีน่าน แต่ต่อมามีความเชื่อว่าแผ่นจุลทวีปทั้งสองถูกคั่นด้วยแผ่นมหาสมุทรทีทีสโบราณที่ชื่อว่าแผ่นลำปาง-เชียงราย และ แผ่นนครไทย ซึ่งมีอายุประมาณกลางถึงปลายมหายุคพาลิโอโซอิก มีการเคลื่อนที่ชนกันและเชื่อมต่อกันในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย (Charusiri และคณะ, 1997) ก่อนที่จะเป็นรูปร่างประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนั้นลักษณะตะกอนวิทยาชนิดหินตะกอน และสภาพการตกตะกอนของหินยุคดังกล่าวจึงมีความหมายแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่การศึกษา หินตะกอนยุคไทรแอสซิกและการแผ่กระจายของหินยุคนี้จึงมีความสำคัญในการศึกษาธรณีแปรสัณฐานในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ผลการศึกษาตะกอนที่สะสมตัวในทะเลยุคไทรแอสซิก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่แม่ฮ่องสอน-แม่สะเรียง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทยซึ่งรู้จักในชื่อของกลุ่มหินแม่สะเรียง จากการลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ กลุ่มหินแม่สะเรียงมีอายุไทรแอสซิกตอนกลางถึงตอนปลาย จากการศึกษาโครเมียนสปิเนลของหินตะกอนอายุไทรแอสซิกในพื้นที่แม่ฮ่องสอน ด้วยเครื่องอิเล็กตรอนไมโครโพรบ พบว่าในหินทรายอายุไทรแอสซิกนี้บ่งถึงที่มาของหินเดิมว่ามาจากหินอัคนีเป็นประเภทแอลไพน์และมีความสัมพันธ์กับหินบะซอลต์ที่ประทุจากสันกลางสมุทรและที่ประทุขึ้นมาบนพื้นท้องทะเล แต่อยู่ได้เพียงไม่นาน จึงเกิดการปิดของมหาสมุทรทีทีสโบราณกลายเป็นตะเข็บธรณีอีกแนวที่เรียกตะเข็บแม่ฮ่องสอน สำหรับผลการศึกษาศิลาเคมีของหินแกรนิตในแถบจังหวัดตาก และบริเวณแถบใกล้เคียงซึ่งต่อเข้าไปทางทิศตะวันตกจนถึงรอยตะเข็บเชียงใหม่ ทำให้ทราบว่าเป็นหินแกรนิตประเภทแกรนิตอัคนี โดยการปิดตัวของแผ่นฉานไทยลงไปได้แผ่นลำปาง-เชียงราย ซึ่งผลดังกล่าวแตกต่างจากแนวหินแกรนิตที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดเชียงใหม่ คือตั้งแต่ตะวันตกของจังหวัดเชียงรายจนถึงแม่ฮ่องสอน และต่อแนวลงมาทางใต้จนถึงตากและกาญจนบุรีเป็นหินแกรนิตตะกอน ซึ่งถือว่ากำเนิดจากการหลอมละลายบางส่วนของหินตะกอนใต้เปลือกโลกส่วนทวีป ดังนั้นลักษณะธรณีแปรสัณฐานของแนวแกรนิตทั้งสองแนวนี้น่าจะแตกต่างกันด้วย ทำให้เราได้ตะเข็บเชียงใหม่ขึ้นได้ สำหรับบริเวณพื้นที่แนวตะเข็บธรณีน่าน ผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่องอิเลคตรอนไมโครโพลบโครเมียนสปิเนลจากหินอัคนีสีเข้มถึงสีเข้มจัดเกิดอยู่ในชุดหินโอฟิโอไลต์ ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีสีเข้มและหินอัคนีสีเข้มจัดล้อมรอบด้วยหินตะกอนที่แปรสภาพอายุประมาณไทรแอสซิก หินอัลตราเมฟิกและเมฟิกเหล่านี้ถูกจัดเรียกรวมกันว่าหินอัคนีชุดฝาส้ม ซึ่งมีอายุช่วงปลายมหายุคพาลิโอโซอิกและต้นยุคไทรแอสซิก และบางส่วนอาจจะอ่อนจนถึงยุคครีเตเซียส ชุดหิน โอฟิโอไลต์พวกอัลตราเมฟิก-เมฟิกเหล่านี้ปรากฏแทรก สลับกับหินตะกอนเป็นลักษณะของชิ้นส่วนของแผ่นธรณีที่ถูกเบียดอัดด้วยแรงดันสูงทำให้แตกหักหินตะกอนเหล่านั้นประกอบด้วย หินทราย หินชนวน หินดินดาน และหินกรวดมนในอายุช่วงเพอร์โมไทรแอสซิกและคาร์บอนิเฟอรัส จากผลวิเคราะห์ธรณีเคมีของโครเมียนสปิเนลจากชุดหินโอฟิโอไลต์มีลักษณะปรากฏในสภาพธรณีวิทยาแบบการขนานชั้นซับซ้อน และบ่งชี้ถึงสภาพธรณีแปรสัณฐานแบบเกาะโค้งภูเขาไฟ ขณะที่หินอัลตราเมฟิกซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโครเมียนสปิเนลจากพื้นที่เชียงรายเป็นประเภท อัลไพน์-เพอร์ริโด ไทต์ ซึ่งกำเนิดในลักษณะธรณีแปรสัณฐานแบบด้านหน้าแนวโค้งภูเขาไฟ
Other Abstract: The area under study of the first-year project mainly covers in the northern part of Thailand. Special attention was made mostly on the routes that the sutures representing the collision of microcontinents and paleo-oceans can be easily traced. The major routes are Lampang-Chiang Mai Routes in the north, Uttaradit-Nan-Tak Routes in the south and east, and Mae Sariang-Mae Hong Son Routes in the west. In this research. emphasis is placed on the geological investigation and detailed studies on lithostratigraphy (especially distribution of Triassic rocks), major geological structures, petrography and geochemistry (particularly chromian spinels) in order to delineate boundaries of sutures caused by the crustal-plate collision. Triassic rocks are geologically significant to the country since Bunopas (1981) discovered two microcontinents, namely Shan-Thai and Indochina plates which abut against one another during Triassic Period in the area called Nan-suture. Subsequently both microcontinents were intervened by paleotethys oceanic plates called by Charusiri et al. (1997) as Langpang-chiang Rai and Nakorn Thai plates. Both plates were as old as Middle to Late Triassic before the commence of the recent Thailand configuration These may have caused the changes in sedimentological features, sedimentary rock types and their depositional setting from places to places. Triassic sedimentary rocks and their distribution play essential roles in investigating geotectonics of Thailand. Results from Triassic marine sediments of the Mae Sariang Group on the bases of stratigraphy and fossils reveal that the age of this group is between Middle to Late Triassic Results of chromian spinel analysis from Triassic sandstone in Mae Hong Son-Mae Sariang show that the Triaasic sandstone points to the provenance from alpine-type igneous rocks which are related to mid-oceanic ridges and ocean-floor. However, the tectonic event did not last long due to the closure of Paleotethys Ocean in Late Triassic. Petrochemical result deduced from investigation of granites in Tak and nearby areas to the west of Chiang Mai Suture reveal that most granites are of I-type affinity due to subduction of Shan-Thai beneath Lampang-Chiang Rai. Such result is quite different from that of the granites to the west of Chiang Mai (from Chiang Rai and Mae Hong Son to Tak and Kanchanaburi). The latter point to the S-type affinity which were formed by crustal anatexis. This remarkable contrast leads to the development of Chiang Mai Suture. For the area along the Nan-Suture, EPMA analysis reveals that chromian spinels in mafic and ultramafic igneous rocks belong to ophiolite suites. Geologically, the suites are enclosed by Triassic sediments, and igneous rocks of this suites are collectively called Pha Som Igneous Suite which occurred in Permo-Triassic times, and some may be as young as Cretaceous. These igneous clans are present in association with alternating sedimentary sequences as tectonic slices due to high pressure and brecciation. Such sedimentary rocks including sandstone, slate, shale and conglomerate were deposited in Permo-Triassic and Carboniferous times. Result on geochemical analysis of chromian spinels from mafic/ultramafic rocks indicate that the igneous rocks were originated from stratiform complex and pointed to volcanic-arc tectonism. However, a result of IPMA analysis on chromian spinels from Chiang Tai ultramafic rocks revealed that these igneous rocks were derived from the tectonic setting closely related to fore-arc volcanism.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11720
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
punya_tectonic.pdf17.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.