Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11812
Title: การศึกษาการให้บริการห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ แก่อาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
Other Titles: A study of library and information center services to English language instructors in Thai universities
Authors: ยุพิน จันทร์เจริญสิน
Advisors: จุฑารัตน์ แพส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา -- ไทย
ห้องสมุดกับผู้อ่าน
อาจารย์มหาวิทยาลัย -- ไทย
ห้องสมุดและบริการของห้องสมุด
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สำรวจห้องสมุดและบริการที่จัดให้คณาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษในมหาวิทยาลัย และเพื่อสำรวจความต้องการของคณาจารย์ โดยสำรวจห้องสมุดในศูนย์ภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการภาษาอังกฤษ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยคาดว่าจะใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงห้องสมุดประเภทเดียวกันนี้ ข้อมูลในการวิจัย รวบรวมจากหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ แบบสอบถาม ตลอดจนการสัมภาษณ์ แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยนี้ สร้างเป็น 2 ชุด ชุดที่หนึ่ง เพื่อสำรวจห้องสมุดและบริการของทั้ง 3 สถาบัน ดังกล่าวข้างต้น ชุดที่สอง เพื่อศึกษาความต้องการบริการของคณาจารย์ในสถาบันทั้งสามนั้น โดยแจกให้แก่ อาจารย์ประจำการ 109 คน ได้รับคืน 81 ชุด คิดเป็นร้อยละ 74.31 ข้อมูลที่ได้มาเสนอในรูปร้อยละ จากการสำรวจพบว่า บริการที่จัดเสนอแก่อาจารย์นั้นไม่เพียงพอกับความต้องการ เพราะห้องสมุดที่สำรวจนี้ไม่ได้ให้บริการพิเศษอย่างใด มีเพียงห้องสมุดสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เท่านั้นที่ทำบรรณานุกรมหนังสือใหม่ประจำเดือน และเวียนหน้าสารบัญวารสารให้คณาจารย์ในสถาบัน และเป็นแห่งเดียวที่มีบรรณารักษ์วิชาชีพ ทำหน้าที่รับผิดชอบงานห้องสมุด ปัญหาในการใช้บริการและทรัพยากรห้องสมุดนั้น คือ จำนวนหนังสือและวารสารไม่เพียงพอ วารสารที่มีไม่มีประโยชน์ต่อการอ้างอิง ปัญหาที่สำคัญที่ห้อง สมุดประสบอยู่คือ การจัดหมู่หนังสือไม่เหมาะสม สับสน ทำให้หยิบหนังสือได้ยาก บริการที่อาจารย์จำนวนมากที่สุด (30%) เลือกเป็นความต้องการอันดับหนึ่ง คือ บริการจัดทำบรรณานุกรมหนังสือใหม่ประจำเดือน รองลงมาคือการจัดแสดงหนังสือใหม่ และเวียนหนังสือให้เป็นรายบุคคล (20%) จัดหาหนังสือและวัสดุการอ่านอื่นๆ เข้าห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอ (19%) และบริการยืมระหว่างห้องสมุด (9%) เรียงตามลำดับ ส่วนการปฐมนิเทศห้องสมุดนั้นมีผู้เลือกเป็นอันดับสุดท้ายถึงร้อยละ 20. ข้อเสนอแนะ ควรจะได้มีการพิจารณาจัดตั้งห้องสมุดและศูนย์ภาษาอังกฤษระดับชาติขึ้น โดยมีรูปแบบดังนี้ คือ ที่ตั้ง ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศควรจะอยู่ในภาควิชาหรือศูนย์ภาษาในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีข้อดีหลายประการรวมทั้งการประหยัดงบประมาณก่อสร้าง ควรมีสถานที่เป็นเอกเทศ ซึ่งเข้าถึงได้สะดวก ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ครุภัณฑ์ ควรมีชั้นหนังสือเปิด ซึ่งเข้าถึงได้ง่าย โต๊ะนั่งขนาด 4-6 ที่นั่ง เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ที่ศึกษาเฉพาะรายและห้องทำงานเฉพาะบุคคล ทรัพยากร ควรมีหนังสือตำราภาษาอังกฤษ วารสาร หนังสืออุเทศ เครื่องโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนวัสดุย่อส่วนทุกชนิด งบประมาณ ควรแจ้งให้บรรณารักษ์ทราบล่วงหน้า จัดสรรเงินพิเศษให้ซื้อหนังสือและวัสดุการอ่านอื่น ๆ บุคลากร บรรณารักษ์ควรมีวุฒิบรรณารักษศาสตร์ โดยมีวิชาภาษาอังกฤษ หรือภาษาศาสตร์เป็นวิชาโท ควรได้รับการสนับสนุนให้ได้ศึกษาต่อ หรือดูงานต่อเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ ในขณะที่ยังไม่สามารถจะจัดตั้งห้องสมุดและศูนย์ฯ ดังกล่าวนี้ได้ ควรปรับปรุงบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่โดยการจัดให้มีเหล่านี้ คือ บรรณานุกรมหนังสือใหม่ประจำเดือน บริการข่าวสารทันสมัยเลือกตามความสนใจของแต่ละบุคคล แสดงหนังสือใหม่ ตอบคำถามทางไปรษณีย์และโทรศัพท์ ให้คำแนะนำในการจัดซื้อ เวียนหน้าสารบาญวารสารฉบับใหม่ ห้องสมุดเสียง ห้องสมุดขัดทดสอบ การยืมระหว่างห้องสมุด ดรรชนีวารสาร บริการข่าวสารทันสมัย
Other Abstract: The needs of library and information centers of English language instructors in Thai universities were studied against the actual services rendered in three language center libraries : The English Language Center, Thammasat University; English Language Program, National Institute of Developmental Administration (NIDA) and the Chulalongkorn University Language Institute (C.U.L.I.). It was hoped that the research would contribute to knowledge which could be used as a guideline for future library improvement. The data were obtained by means of documentational studies, interviews and questionnaires. Two sets of questionnaires were constructed one to survey the three chosen libraries and the other, to study the needs of the English Language instructors. One hundred and nine copies of the latter questionnaire were sent out to full-time instructors in these institutions. 74.31% or 81 completely filled out questionnaries were returned. The data found were presented in the form of percentages. The result showed that the actual services did not meet the instructors' needs since the subject libraries did not render any special services. Among the three libraries, only CULI provided a monthly bibliography of new acquisitions and circulation of periodical content pages to the staff, probably because it was the only place where there was a professional librarian in charge. The problems in the use of library resources according to the instructors were: an inadiquacy of journals and books; the inappropriateness of the journals which were being subscribed to. However, the most serious technical problem of the libraries was the classification system. Books were so confusingly classified that it was very difficult to look for desired books on the shelves. The service which most instructors (30%) selected as their first choice was the monthly bibliography of new acquisitions, followed by new book exhibitions and circulation to individuals (20%) increase in new acquisitions of books and other reading materials (19%) and interlibrary loans (9%). Library orientation was selected by 20% of the instructors as their last choice. Recommendations: Considerations should be made for the establishment of an English Language Teaching Information Center at the national level. Location: there are many advantages in locating the library and information center in the university language department or center which include accomodation at a minimum cost. The library and information center should be a seperate entity and in an easily accessible place. Air-Conditioning was recommended. Facilities : the library and information center should have open shelves, square shaped tables seating 4-6 for easy grouping purposes, carrels and, if possible, booths. Resources : the library and information center should have : textbooks, journals, references, all kinds of audiovisual materials and microforms. Budget : the librarian should be informed of the budget amount in advance and given a special fund for books and printed matials. Personnel : professional librarians with an English or linguisties minor should be employed. Librarians should be given opportunities for continuing education in the profession. Since this is still imposible, suggestions to improve the actual services are given. Library and information center should render : a monthly bibliography of new acquisitions, selective dissemination of information, book exhibitions, individual inquiries either by mail or tellephone, purchasing suggestions, pouting of periodical content pages, tape library, test library interlibrary loans, periodical indexes, alerting services.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11812
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yupin.pdf13.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.