Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12024
Title: | การศึกษาโปรตีนที่สำคัญในพิษงูแมวเซาเพื่อนำมาดัดแปลงใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Other Titles: | Cloning and purification of medically useful protein from russell's viper venom proteins usefulness แผนการวิจัยเรื่อง การศึกษาโปรตีนที่สำคัญในพิษงูแมวเซาเพื่อนำมาดัดแปลงใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ |
Authors: | อิศรางค์ นุชประยูร |
Email: | Issarang.N@Chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Subjects: | พิษงู -- การใช้รักษา งูแมวเซา |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัญหางูพิษกัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย หนึ่งในงูพิษที่สำคัญในไทยคือ งูแมวเซา (Daboia russellii siamensis) งูชนิดนี้พบมากในแถบภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย ผู้ที่ถูกงูชนิดนี้กัด มักมีอาการทางระบบเลือด และภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ที่ถูกงูแมวเซากัดเสียชีวิต ในปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับกลไกการเกิดพิษหลังถูกงูแมวเซากัด รวมทั้งโปรตีนสำคัญในพิษงูแมวเซาที่อาจมีประโยชน์ทางการแพทย์ ยังไม่มีการศึกษาอย่างแน่ชัด การศึกษาองค์ประกอบของพิษงูแมวเซาในเชิงลึก จะช่วยให้เข้าใจกลไกการเกิดพิษ นำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น พร้อมทั้งอาจนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ต่อไป จากผลงานที่ผ่านมา ทางกลุ่มผู้วิจัยได้สร้างห้องสมุดยีน (cDNA library) จากต่อมพิษงูแมวเซาได้สำเร็จ และได้มีการศึกษาองค์ประกอบของพิษงูเบื้องต้นด้วยเทคนิค Expressed Sequence Tags Analysis พบว่าในพิษงูมีการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ haematostasis เป็นจำนวนมาก ซึ่งสัมพันธ์กับความเป็นพิษของงูแมวเซาที่มีผลโดยตรงต่อระบบเลือดของเหยื่อที่ถูกกัด โปรตีนที่พบมากคือ phospholipase A2, faetor X activating enzyme (RVV-X), factor V activating enzyme (RVV-V) และโปรตีนอื่นๆ อีกหลายชนิด จากการทบทวนวรรณกรรม โปรตีนพิษงูแมวเซาที่น่าสนใจคือ RVV-X และ PLA2 ดังนั้นในการศึกษานี้จึงได้แยกโปรตีนพิษงูชนิด RVV-X และ PLA2 จากพิษงูแมวเซาของไทยก่อน โดยใช้วิธี Gel filtration column Chromatography และ Anion exchange column chromatography จากนั้นยืนยันผลการแยกบริสุทธิ์โปรตีนพิษงูชนิด RVV-X และ PLA2 และหาขนาดของโปรตีนพิษงูทั้ง 2 ชนิด โดยใช้วิธี MALDI-TOF mass spectrometry พบว่าโปรตีนพิษงูแมวเซาทั้งชนิด RVV-X และ PLA2 มีความบริสุทธิ์สูงและมีขนาดโปรตีนประมาณ 90 และ 14 Kb ใน non-reducing condition ตามลำดับ จากนั้นได้ทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมีของ RVV-X และ PLA2 ที่แยกบริสุทธิ์ได้ พบว่าโปรตีนทั้งสองชนิดมี enzymatic activity สูง โครงการนี้เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่อง 3 ปี (พ.ศ. 2550-2552) ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างการโคลนยีนต่างๆ ที่สำคัญในพิษงูแมวเซาไทยจากห้องสมุดยีน และทำการ express ยีนเหล่านี้เพื่อสร้าง recombinant proteins ที่คาดว่าจะมีความสามารถในการทำงานได้เหมือน native protein รวมทั้งศึกษาโปรตีนชนิดต่างๆ ในพิษงูที่ได้จากทั้งวิธีแยกโปรตีนในพิษงูโดยเทคนิคทางชีวเคมี หรือจาก recombinant proteins เพื่อหาโปรตีนเป้าหมายที่สำคัญต่อการกลไกการเกิดพิษหลังถูกงูแมวเซากัด และอาจนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ต่อไป |
Other Abstract: | Venomous snake bite is an important medical problem in Thailand. The subspecies found in Thailand is Daboia russellii siamensis that is abundant in Eastern and Central of Thailand. Envenomation presents predominately with hematologic manifestations and acute renal failure (ARF) which are cause of death in Russell’s viper bite victims. However, the exact pathogenesis following Daboia russellii siamensis envenomation is not well established. Since Russell’s viper venom contains several active proteins that present different biological activities, the main toxin in Russell’s viper venom involving pathogenesis remains unclear. Moreover, snake venom proteins are source of interested biomedical compounds which may useful for medical applications. Therefore, this research focuses on snake venom component identification to understand the role of toxins involving the pathogenesis for potential treatment in snake-bite patients and investigate the potential snake proteins for use in medical application. In preliminary study, we have previously constructed a cDNA library from Russell’s viper venom gland and generated expressed sequence tags (ESTs), resulting in sequences with similarity to phospholipase A2 (PLA2), factor X activating enzyme (RVV-X), factor V activating enzyme (RVV-V), and other proteins. We then focused on PLA2, RVV-X genes that make proteins causing many of hematologic manifestations. In this study, we purified native PLA2, RVV-X from crude venom by gel filtration on sephadex G-100 and anion exchange column chromatography on q-sepharose. The molecular mass for purified PLA2 and RVV-X proteins were, respectively, 14 kDa and 90 kDa determining by MALDI-TOF. PLA2 and RVV-X showed high specific enzymatic activity. The further studies, we will clone cDNAs encoding intereted genes and express these proteins using recombinant technology. The recombinant or purified native proteins will be identified for particular toxins involved in pathogenesis after Russell’s viper envenomation or characterized the biomedically relevant snake venom proteins for practival use and potential. |
Description: | คณะผู้ร่วมวิจัย: อาคม ใสงามม มณฑน์มาศ สุนทราวัฒน์, พัทธดนย์ สุขพันธุ์, สุนทรีย์ อ่อนดี, อุมาภรณ์ เมธเมาลี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12024 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Med - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Isara_cloning.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.