Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12116
Title: การพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์ : กรณีศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Developing a research culture in a university faculty : a case study of Faculty of Education, Chulalongkorn University
Authors: สุกัญญา โฆวิไลกูล
สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม
อภิภา ปรัชญพฤทธิ์
Email: Sukanya.K@Chula.ac.th
Suwatana.S@chula.ac.th
Apipa.P@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- อาจารย์
วิจัย -- ไทย
การศึกษา -- วิจัย
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาสภาพการวิจัยของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านนโยบายการวิจัย การบริหาร การจัดสรรทรัพยากรเพื่อการวิจัย รูปแบบการวิจัยและผลงานวิจัยของอาจารย์ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนำเสนอแนวทางในการพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจเอกสารและผลงานวิจัยของอาจารย์ จากแบบสอบถามความเห็นคณาจารย์ คณะครุศาสตร์ จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร อดีตผู้บริหารของคณะครุศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง และจากการจัดประชุมสนทนากลุ่ม คณาจารย์ คณะครุศาสตร์ จากภาควิชาต่างๆ โรงเรียนสาธิตประถมศึกษาและโรงเรียนสาธิตมัธยมศึกษา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ด้านสภาพการวิจัย พบว่า แม้ว่าคณะครุศาสตร์มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำวิจัย มีการสนับสนุนให้บุคลากรของคณะครุศาสตร์ ได้นำวิธีการวิจัยเข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้ทุกระดับ แต่ภาพรวมของปริมาณงานวิจัยและผู้วิจัยในการบริหารแต่ละสมัยมีไม่เกิน 50% ของจำนวนงานวิจัย และผู้วิจัยทั้งหมดในรอบ 20 ปี งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยปฏิบัติการ เป็นงานเดี่ยว สำหรับจุดอ่อนของการดำเนินงานด้านการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการและระเบียบปฏิบัติด้านการเงินมีความยุ่งยากและขั้นตอนมาก การทำวิจัยส่วนใหญ่ยังเป็นส่วนบุคคล เรื่องที่ทำวิจัยมักเป็นไปตามเรื่องที่ตนสนใจหรือเป็นไปตามที่เจ้าของทุนต้องการ จึงทำให้บางครั้งไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์หรือแก้ปัญหาสังคมได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม จุดแข็งของการดำเนินงานด้านการวิจัย พบว่า คณะครุศาสตร์มีกลุ่มคณาจารย์ที่มีหัวใจนักปราชญ์ คณาจารย์กลุ่มนี้เป็นพี่เลี้ยงที่เชี่ยวชาญให้กับนักวิจัยมือใหม่ ผู้บริหารคณะครุศาสตร์ทุกยุคสมัยให้ความสำคัญและมีนโยบายสนับสนุนด้านวิจัยอย่างชัดเจน คณะมีทุนอุดหนุนและงบประมาณด้านวิจัยอย่างเพียงพอ รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ ประสบการณ์และทักษะด้านการทำวิจัยอย่างสม่ำเสมอ 2. ปัจจัยที่สร้างเสริมวัฒนธรรมวิจัยของอาจารย์ระหว่างกลุ่มที่ทำวิจัยและกลุ่มที่ไม่ทำวิจัย อาทิ คณะมีนโยบายสนับสนุนการทำวิจัยของอาจารย์อย่างชัดเจน มีการให้รางวัลและประกาศเกียรติคุณแก่ผู้มีผลงานวิจัยดีเด่น รวมทั้งการส่งเสริมให้อาจารย์มีโอกาสเผยแพร่ผลงานวิจัย 3. แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมวิจัยมีหลากหลายวิธีนับตั้งแต่การปลูกฝังและสร้างทัศนคติในการทำวิจัยของอาจารย์ จนถึงลงมือปฏิบัติการในการบริหารจัดการ เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกต่อการทำงานวิจัยของอาจารย์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการปลูกฝังและสร้างทัศนคติในการทำวิจัยของอาจารย์
Other Abstract: Defining a research culture (attitude, belief, value) as the faculty members’ way of living in conducting research, this study aims at achieving the following purposes: 1. Explore the state of conducting research at the Faculty of Education, Chulalongkorn University, including policy, administration, resource allocation, amount of research, and ways of conducting research. 2. Analyze factors impinging upon research activities of faculty members; and 3. Propose ways to improve the research culture of this Faculty. In terms of research methodology, this study is a descriptive research. Data were collected through document and aggregate data analysis, questionnaire, in-depth interview, and focus group discussion. Findings are as follows: 1. In terms of the state of conducting research, while the Faculty attempts to provide a conducive research-oriented environment, less than 50% of them do research. Most of the researches are action research, done individually or among a small group of faculty members. The Faculty also confronts other problems, such as complicated financial procedures, lack of coherence and relevance among its research products, etc. However, the Faculty has a potential for becoming an institution with the research culture as it possesses many strengths, such as talent scholars who can serve as mentors, administrators who are committed to the research culture, adequate financial support, consistently organized research training. 2. This study also reports factors that enhance the research culture from the perspectives of research oriented and non-research oriented faculty members. Important factors for boosting the research culture include clear policy, reward system, and opportunities for publicizing research findings. 3. Finally, many approaches for improving the research culture are recommended ranging from changing the attitude of faculty members to administrative action.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12116
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukanya_Res.pdf10.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.