Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12128
Title: การขจัดแอมโมเนียในน้ำทะเลโดยไนตริฟายอิงแบคทีเรีย
Other Titles: Removal of ammonia in seawater by nitrifying bacteria
Authors: ปิติภรณ์ บัวเจริญ
Advisors: ประกิตติ์สิน สีหนนทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: sprakits@chula.ac.th
Subjects: น้ำทะเล
ไนตริฟายอิงแบคทีเรีย
แอมโมเนีย
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การแยกและคัดเลือกคีโมออโตโทรฟิคแอมโมเนียออกซีไดซิงแบคทีเรียและคีโมออโตโทรฟิคไนไตรท์ออกซิไดซิงแบคทีเรียจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลตามแหล่งต่างๆ สามารถแยกคีโมออโตโทรฟิคแอมโนเนียออกซิไดซิงแบคทีเรียได้ 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ A3, A4 และ A7 ซึ่งคีโมออโตโทรฟิคแอมโมเนียออกซิไดซิงแบคทีเรียสายพันธุ์ A7 เป็นแบคทีเรียสายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการออกซิไดซ์แอมโนเนียเป็นไนไตรท์ได้สูงสุด คีโมออโตโทรฟิคแอมโมเนียออกซิไดซิงแบคทีเรียสายพันธุ์ A7 มีรูปร่างเป็นแท่งสั้นขนาด 1.0 x 5.0 ไมโครเมตร ติดสีแกรมลบ สภาวะที่เหมาะสมต่อการสร้างไนไตรท์สูงสุด เมื่อเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวแอมโมเนียออกซิไดซิงแบคทีเรียที่ประกอบด้วย 4 มิลลิโมลาร์ของแอมโนเนียมซัลเฟต 10 กรัมต่อลิตรของโซเดียมคลอไรด์ และมีค่าความเป็นกรดด่าง 7 ถึง 8 บ่มที่อุณหภูมิ 30 ถึง 32 องศาเซลเซียส ด้วยอัตราการเขย่าแบบโรตารี่ 200 รอบต่อนาที สามารถแยกคีโมออโตโทรฟิคไนไตรท์ออกซิไดซิงแบคทีเรียได้ 2 สายพันธุ์ คือคีโมออโตโทรฟิคไนไตรท์ออกซิไดซิงแบคทีเรียสายพันธุ์ N1 และคีโมออโตโทรฟิคไนไตรท์ออกซิไดซิงแบคทีเรียสายพันธุ์ N2 แต่คีโมออโตโทรฟิคไนไตรท์ออกซิไดซิงแลคทีเรียสายพันธุ์ N1 เป็นสายพันธุ์ที่สร้างไนเตรทสูงกว่าแบคทีเรียสายพันธุ์ N2 คีโมออโตโทรฟิคไนไตรท์ออกซิไดซิงแบคทีเรียสายพันธุ์ N1 ติดสีแกรมลบ มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ ขนาด (0.5-1.0)x(0.2-0.5) ไมโครเมตร สภาวะที่เหมาะสมต่อการสร้างไนเตรทสูงสุดเมื่อเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวไนไตรท์ออกซิไดซิงที่ประกอบด้วย 20 มิลลิโมลาร์ของโซเดียมไนไตรท์ 10 กรัมต่อลิตรของโซเดียมคลอไรด์ ที่ค่าความเป็นกรดด่าง 7 อัตราการเขย่า 100 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส การศึกษาประสิทธิภาพในการลดแอมโมเนียในน้ำกร่อยในระบบรีเซอคูเลชันในระยะเวลา 30 วัน โดยคีโมออโตโทรฟิคแอมโมเนียออกซิไดซิงแบคทีเรียสายพันธุ์ A7 พบว่ามีการลดลงของปริมาณแอมโมเนียและการเพิ่มขึ้นของไนไตรท์ในชุดทดลองที่ตรึงคีโมออโตโทรฟิคแอมโมเนียออกซิไดซิงแบคทีเรียสายพันธุ์ A7 มากกว่าในชุดควบคุม ประมาณ 2 เท่า และ 3.5 เท่าตามลำดับ ประสิทธิภาพในการลดไนไตรท์ในน้ำกร่อย ในระบบรีเซอคูเลชัน ในระยะเวลา 30 วัน โดยคีโมออโตโทรฟิคไนไตรท์ออกซิไดซิงแบคทีเรียสายพันธุ์ N1 พบว่ามีการลดลงของปริมาณแอมโมเนียและการเพิ่มขึ้นของปริมาณไนเตรทในชุดทดลองที่ตรึงคีโมออโตโทรฟิคไนไตรท์ออกซิไดซิงแบคทีเรียสายพันธุ์ N1 มากกว่าในชุดควบคุมประมาณ 2 เท่า และ 8 เท่าตามลำดับ ประสิทธิภาพการลดปริมาณแอมโมเนียในน้ำกร่อยของเชื้อผสมคีโมออโตโทรฟิคแอมโมเนียออกซิไตซิงแบคทีเรียสายพันธุ์ A7 และคีโมออโตโทรฟิคไนไตรท์ออกซิไดวิงแบคทีเรียสายพันธุ์ N1 ในระบบรีเซอคูเลชัน ในระยะเวลา 60 วัน พบว่ามีการลดลงของปริมาณแอมโมเนียและการเพิ่มขึ้นของปริมาณไนเตรทในชุดทดลองของเชื้อผสมคีโมออโตโทรฟิคแอมโมเนียออกซิไดซิงแบคทีเรียสายพันธุ์ A7 และ คีโมออโตโทรฟิคไนไตรท์ออกซิไดซิงแบคทีเรียสายพันธุ์ N1 มากกว่าชุดควบคุม 3.5 เท่าและ 23 เท่าตามลำดับ ส่วนปริมาณไนไตรท์ในชุดทดลองและชุดควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน
Other Abstract: The isolation and selection of chemoautotrophic ammonia oxidizing bacteria and chemoautotrophic nitrite oxidizing bacteria were carried out from cultivated shrimp pond in different areas. Chemoautotrophic ammonia oxidizing bacteria strains A3, A4 and A7 were isolated. Bacterial strain A7 gave highest activity in capable to oxidize nitrite from ammonia. Chemoautotrophic ammonia oxidizing strain A7 is gram negative rod shape with 1.0 x 5.0 mum in size. In optimum condition for highest nitrite production of chemoautotrophic ammonia oxidizing strain A7 grown in liquid ammonium oxidizing medium, which contained 4 mM of ammonium sulfate and 10 g/l of sodium chloride at pH 7-8 incubated at 30-32 ํC with rotary agitation speed 300 rpm., chemoautotrophic nitrite oxidizing bacteria strains N1 and N2 were isolated. Chemoautotrophic nitrite oxidizing bacteria strain N1 produced nitrite higher than bacterial strain N2. Chemoautotrophic nitrite oxidizing bacteria strain N1 is gram negative, pear with size of (0.5-1.0) x (0.2-0.5) mum. The optimum conditions for highest nitrite production by chemoautotrophic nitrite oxidizing bacterial strain N1 grown in liquid nitrite oxidizing medium, contained 20 mM sodium nitrite and 10 g/l sodium chloride at pH 7 incubated at 30 C with rotary agitation speed 100 rpm. Comparing rate of ammonia removal and nitrite production in brackish water in recirculation system for 30 days by chemoautotrophic ammonia oxidizing bacteria strain A7 showed higher rate than control about 2 times and 3.5 times respectively. Comparing rate of nitrite removal and nitrate production in brackish water in recirculation system for 30 days by chemoautotrophic nitrite oxidizing bacteria strain N1 showed higher rate than control about 2 times and 8 times respectively. Comparing ammonia removal and nitrate production in brackish water in recirculation system for 60 days by mixed immobilized cell of chemoautotrophic ammonia oxidizing bacteria strain A7 and chemoautotrophic nitrite oxiding bacteria strain N1 showed higher activity than control about 3.5 times and 23 times respectively. There was no different in nitrite content between treatment and control.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12128
ISBN: 9746388215
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pitiporn_Bo_front.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Pitiporn_Bo_ch1.pdf705.47 kBAdobe PDFView/Open
Pitiporn_Bo_ch2.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Pitiporn_Bo_ch3.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Pitiporn_Bo_ch4.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Pitiporn_Bo_ch5.pdf943.69 kBAdobe PDFView/Open
Pitiporn_Bo_back.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.