Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12338
Title: | การพัฒนาการย้อมสีสำหรับไหมไทย : รายงานผลการวิจัย |
Authors: | วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา Kawai, Eiichi |
Email: | Werasak.U@chula.ac.th no information provided |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ Tokyo University of Agriculture and Technology |
Subjects: | ไหม -- ไทย สีย้อมและการย้อมสี |
Issue Date: | 2536 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการพัฒนาการย้อมสีไหมเริ่มศึกษาการลอกกาวไหม จากนั้นจึงย้อมด้วยสีแอสิดทั้งในสภาวะที่เป็นกลางและกรดของไหมสามพันธุ์คือ ไหมไทย ไหมญี่ปุ่น (Mori) และไหมป่า (Tusser) จากการศึกษาโครงสร้างทางเคมีพบว่า ไหมไทยและไหมญี่ปุ่นมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายคลึงกัน จึงน่าจะมีสมบัติต่างๆ ใกล้เคียงกัน เช่น ความแข็งแรงของเส้นไหมและการรับสีย้อม จากผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการลอกกาวด้วยด่างของไหมไทยและไหมญี่ปุ่นใกล้เคียงกัน คือสามารถลอกกาวได้ในช่วง 25-27% โดยน้ำหนัก ส่วนไหมป่าประมาณ 8% เมื่อเปรียบเทียบการย้อมในสภาวะกรดและสภาวะที่เป็นกลางของไหมทั้งสามพันธุ์ สภาวะกรดเป็นสภาวะที่เหมาะสมกว่า และในสภาวะดังกล่าวไหมไทยและไหมญี่ปุ่นมีความสามารถในการรับสีย้อมใกล้เคียงกัน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาโครงสร้างทางเคมีข้างต้น ในขณะที่ไหมป่ามีการติดสีย้อมได้ไม่ดีเท่าไหมทั้งสอง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโครงสร้างทางเคมีที่ต่างออกไป ตลอดจนปริมาณกาวและสารเจือปนที่ยังคงเหลืออยู่ในเส้นใย ซึ่งควรได้มีการปรับปรุงต่อไป |
Other Abstract: | Degumming of Thai silk, Mori silk, and tusser silk were studied and then followed by dyeing under the condition of neutral and acidic. The chemical compositions of the silks were also investigated. It was found that they all had similar chemical structures and hence should have the compatible physical properties and dyeabilily. The results show that degumming efficiency under basic condition of Thai silk and Mori silk is about the same (25-27% by weight). On the other hand, tusser silk show only 8% by weight. Comparison of dyeability under neutral and acid condition were also made and it was found that acid condition achieved higher percentage uptake of dyes. This agrees with the results obtained from the chemical structure investigation. Tusser silk showed the worst dyeability when compared to the other two. This might be the consequence of poor degumming of tusser silk and therefore need to be explored in more details. |
Description: | ประวัติของไหม -- การเลี้ยงไหม -- ขั้นตอนการผลิตเส้นไหม -- ประเภทของตัวไหม -- โครงสร้างทางรูปร่างของเส้นไหม -- โครงสร้างทางเคมีของเส้นไหม -- คุณสมบัติต่าง ๆ ของไหม -- การลอกกาวไหม -- การย้อมสีไหม -- รายละเอียดของไหมไทย ไหมญี่ปุ่น ไหมป่า -- ผลการศึกษาที่แล้วมา -- การทดลอง -- ผลการทดลองและวิเคราะห์ผล -- สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12338 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Metal - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
werasak_dye.pdf | 5.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.