Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12409
Title: สุขภาพจิตของลูกจ้างประจำในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
Other Titles: Mental health of employees in Somdejprapinkloa Hospital
Authors: วรินทร ธุสาวัน
Advisors: ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: chsrs@redcross.or.th, Siriluck.S@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า -- ลูกจ้าง
สุขภาพจิต
ความนับถือตนเอง
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาพจิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตของลูกจ้างประจำในโรงพยาบาลสมเด็จพระ ปิ่นเกล้า โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ กลุ่มลูกจ้างประจำ สังกัดโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ จำนวน 287 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบคัดกรองสุขภาพจิต GHQ-30 (General Health Questionnaire 30) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์สถิติถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า ลูกจ้างประจำในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า มีค่าคะแนนซึ่งเข้าได้กับปัญหาสุขภาพจิต 17.1% ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตพบว่า จำนวนชั่วโมงการทำงาน ความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เงินเดือนสถานภาพทางการเงิน และจำนวนภาระหนี้สิน มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพจิตกับความรู้สึกมีคุณค่าในตน เอง เมื่อนำปัจจัยต่างๆ มาวิเคราะห์โดยสถิติถดถอยพหุ พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายสุขภาพจิตของลูกจ้างประจำในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่น เกล้า ได้แก่ จำนวนชั่วโมงการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสถานภาพทางการเงิน และจำนวนภาระหนี้สิน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Other Abstract: This study was a cross-sectional descriptive study. The objectives of this study were to study mental heath and factors related to mental health of employees in Somdejprapinkloa Hospital metropolis. The samples of the study were 287 employees in Somdejprapinkloa Hospital. The instrument was a set of questionnaires consisted of 3 parts : demographic questionnaire, self-esteem, and GHQ-30 (General Health Questionnaire 30). Data were analyzed by SPSS for window. Statistics utilized were percentage, mean, standard deviation, chi-square test and multiple logistic regression analysis. The study fond that 17.1% of employees had scores of GHQ-30 as mental health problem. Factors related to mental health of the employees were hours of work per day (p < 0.05), the salary and financial status and amount of debt (p < 0.01). It was not found statistically significant association between mental health and self esteem. The factors significantly predicted mental health after performing multiple logistic regression analysis were hours of work per day at the 0.05 level and financial status and of debt at the 0.01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12409
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
warintorn_tu.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.