Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12554
Title: การศึกษาอุปสงค์ของเอทิลีนในอนาคตของประเทศไทย
Other Titles: Demand analysis for ethylene in Thailand
Authors: สุรางค์ รุกขอนันตกุล
Advisors: พงศา พรชัยวิเศษกุล
เพียรพรรค ทัศคร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pongsa.P@Chula.ac.th
pienpak.T@chula.ac.th
Subjects: เอทิลีน -- อุปทานและอุปสงค์ -- ไทย
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี -- ไทย
อุตสาหกรรมพลาสติก -- ไทย
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมปิโตรเคมีถือเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐาน ที่ใช้เป็นวัตถุดิบหลักให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกหลากหลายอุตสาหกรรม เอทิลีนซึ่งจัดเป็นสารปิโตรเคมีขั้นกลาง นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตสารปิโตรเคมีขั้นปลายอีกหลายชนิด และสารปิโตรเคมีขั้นปลายที่ผลิตจากเอทิลีนที่นับว่า มีอัตราส่วนการผลิตมากคือ โพลีเอทิลีน โพลีไวนิลคลอไรด์ และเอทิลีนไกลคอล โดยโพลีเอทิลีนที่ผลิตได้แบ่งออกเป็นโพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ และโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง ซึ่งในอนาคตอุตสาหกรรมการผลิตเอทิลีน จะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นหรือลดลงนั้นขึ้นอยู่ ปริมาณความต้องการของตลาด ในการศึกษานี้ได้ศึกษาปริมาณการใช้เอทิลีนภายใต้สมมติฐานว่า ประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน น่าจะมีปริมาณการใช้เอทิลีนใกล้เคียงกันด้วย เพื่อจะได้ใช้บทเรียนหรือแนวทางการใช้เอทิลีนในอดีตของประเทศอื่น ในแถบทวีปเอเชียที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมมากกว่าหรือใกล้เคียง กับประเทศไทยมาวางแผนการผลิตอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศไทย ให้เพียงพอกับความต้องการของคนในประเทศด้วยต้นทุนที่ต่ำ และอาจจะพัฒนาถึงขึ้นที่จะสามารถส่งเป็นสินค้าออกด้วย โดยในการศึกษาจะพิจารณาจากปริมาณการใช้อนุพันธ์เอทิลีนอันได้แก่ โพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง โพลีไวนิลคลอไรด์ และเอทิลีนไกลคอล ทั้งในส่วนของประเทศไทยและต่างประเทศ ผลศึกษาพบว่าประเทศเกาหลีมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ใกล้เคียงกับประเทศไทยโดยมีการพัฒนาล้ำหน้ากว่าไทยอยู่ประมาณ 10 ปี ฉะนั้นจึงได้ศึกษาแนวโน้มการใช้อนุพันธ์เอทิลีนต่างๆ ของประเทศไทยและประเทศเกาหลีเพื่อดูว่าสามารถใช้บทเรียน จากประเทศเกาหลีมาช่วยในการพิจารณา แนวโน้มการใช้อนุพันธ์เอทิลีนของประเทศไทยได้หรือไม่โดยใช้ chow test พบว่าแนวโน้มการใช้โพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ และเอทิลีนไกลคอลของประเทศไทยคล้ายประเทศเกาหลี แต่แนวโน้มการใช้โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง และโพลีไวนิลคลอไรด์ของประเทศไทยจะแตกต่างจากประเทศเกาหลี ทั้งนี้เป็นเพราะว่าโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง และโพลีไวนิลคลอไรด์สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกหลายประเภท ขณะที่โพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำและเอทิลีนไกลคอล ใช้เป็นวัตถุดิบได้ในอุตสาหกรรมอื่นได้ค่อนข้างแคบ และใช้ t-test ศึกษาค่าความยืดหยุ่นเพื่อยืนยันผลการศึกษาดังกล่าว นอกจากนี้ได้ใช้ moving average มาช่วยในการคำนวณหาปริมาณการใช้อนุพันธ์เอทิลีนแต่ละชนิด ของประเทศไทยในอนาคต โดยใช้ข้อมูลปริมาณการใช้อนุพันธ์เอทินของประเทศไทยในช่วงปีหลังๆ กับข้อมูลปริมาณการใช้อนุพันธ์เอทิลีนของประเทศเกาหลีในอดีตด้วย
Other Abstract: Petrochemical industry is a basic industry of which products are used as raw materials in other industries. Ethylene, an intermediate petrochemical substance, is accounted for as the main material for the manufactured the other down stream substances especially for polyethylene (PE), polyvinylchloride (PVC) and ethylene glycol (EG). PE which can be produced are LDPE and HDPE. In the future, the increasing or reducing of PE production capability depends on the demands. In this research, researcher have studied consumption of ethylene considered from consumption of ethylene derivatives; LDPE, HDPE, PVC and EG in Thailand comparing with Korea which has the same economic growth rate as Thailand. Under assumption, countries that have the same economic development will have the same ethylene using rate. Therefore, whether this assumption can be used as production planning of petrochemical in Thailand. The results by using Chow test method found that the Thai consumption trend of LDPE and EG is similar to that of Korea but Thai consumption trend of HDPE and PVC is higher than that of Korea because HDPE and PVC can be used in vary of industries while LDPE and EG can be used in narrow. Besides, researcher used student t-test for studying flexible figure to confirm the results and used moving average to calculate ethylene derivative consumption from the data of Thai ethylene derivative consumption in the last few years and the data of Korea ethylene derivative consumption in the past.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12554
ISBN: 9746377256
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surang_Ru_front.pdf519.98 kBAdobe PDFView/Open
Surang_Ru_ch1.pdf595.18 kBAdobe PDFView/Open
Surang_Ru_ch2.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Surang_Ru_ch3.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
Surang_Ru_ch4.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Surang_Ru_ch5.pdf551.63 kBAdobe PDFView/Open
Surang_Ru_ch6.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Surang_Ru_ch7.pdf679.42 kBAdobe PDFView/Open
Surang_Ru_back.pdf904.75 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.