Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12631
Title: การติดตามอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต้านมะเร็งของผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
Other Titles: Adverse drug reaction monitoring on antineoplastic drugs in inpatients at Maharaj Nakorn Chiangmai Hospital
Authors: นราวดี ประเสริฐวิทยากิจ
Advisors: นารัต เกษตรทัต
สุมิตรา ทองประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Narat.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เภสัชกรรมโรงพยาบาล
ยา -- ผลข้างเคียง
มะเร็ง -- การรักษาด้วยยา
ยาต้านมะเร็ง
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาอัตราและลักษณะการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต้านมะเร็ง ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการรักษาอาการอันไม่พึงประสงค์ รวมทั้งศึกษาผลการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการรักษาด้วยยาต้านมะเร็งดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2541 ถึงเดือนพฤษภาคม 2542 ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรม หรือศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สืบค้นอาการอันไม่พึงประสงค์จากความผิดปกติทางห้องปฏิบัติการและอาการทางคลินิก ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาต้านมะเร็งและการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ คำนวณระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ตามอัตราค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาล และทำการสัมภาษณ์ผู้ป่วยเพื่อประเมินความรู้ก่อนและหลังให้คำปรึกษาจากเภสัชกร จากการติดตามการใช้ยาต้านมะเร็งของผู้ป่วย 71 ราย มีอายุเฉลี่ย 48.8 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 94.4 ได้รับยาต้านมะเร็ง 2 ชนิดร่วมกัน พบอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต้านมะเร็ง 1,174 ปัญหา เฉลี่ย 2.5 ปัญหาต่อการใช้ยา 1 ครั้ง เป็นอาการของระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 38.8 เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เยื่อบุช่องปากอักเสบ รองลงมาคือ ผลต่อระบบเลือด ร้อยละ 38.3 ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ผลต่อระบบผม ผิวหนัง และเล็บ คิดเป็นร้อยละ 8.8 ผลต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ร้อยละ 4.3 อาการอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นมีระดับความรุนแรง 1, 2 ร้อยละ 87.5 สำหรับอาการอันไม่พึงประสงค์ที่มีระดับความรุนแรง 3, 4 ที่ต้องได้รับการรักษาหรือทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำร่วมกับภาวะติดเชื้อ และอาเจียนอย่างรุนแรง ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเลื่อนระยะเวลาการรักษาออกไปมากที่สุด และมีผู้ป่วย 5 ราย ต้องหยุดการรักษา เนื่องจากมีภาวะการทำงานของไตผิดปกติ ค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาต้านมะเร็งจากการศึกษาในครั้งนี้ คิดเป็นมูลค่ารวม 116,127 บาท โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วย 1 รายจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการอันไม่พึงประสงค์ 250 บาทต่อการรับยา 1 ครั้ง ผู้ป่วยที่เกิดภาวะติดเชื้อจะต้องใช้เวลาในการรักษาและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้นมากที่สุด หลังจากได้รับคำปรึกแนะนำเกี่ยวกับการรักษาด้วยยาต้านมะเร็ง ผู้ป่วยจะมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการรักษา ลักษณะอาการอันไม่พึงประสงค์ และวิธีการดูแลตนเองเพื่อแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงอาการอันไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาต้านมะเร็ง (p<0.05) ผู้ป่วยทุกรายเห็นว่าการให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาด้วยยาต้านมะเร็งมีประโยชน์ และต้องการให้มีการบริการนี้ต่อไป
Other Abstract: The objectives of this research were to study rates, characteristics and cost of treatment on adverse drug reaction (ADRs) in patients treated with antineoplastic drugs as well as the effects of pharmacist's counseling to these patients. The study was performed during December 1998 to May 1999 at the medicine wards or orthopedic wards, Maharaj Nakorn Chiangmai Hospital. The detection of ADRs was based on the abnormal laboratory tests and clinical signs and symptoms. Direct medical costs for treating ADRs were assessed according to the hospital charges. Seventy-one patients were monitored for ADRs, their average age was 48.8 years. Most of the patients (94.4%) were treated with 2 antineoplastic drugs, 1,174 problem of ADRS were found in which 2.5 problems occurred every single time of drug used. Reactions to the gastrointestinal system were the most adverse reactions involved the patients (38.8%) such as nausea, vomiting and mucositis. The second were hematological system (38.3%) such as anemia, leukopenia and thrombocytopenia, effects on dermatological system were 8.8%, followed by neuromuscular system (4.3%). The severity of the reactions classified as grade 1, 2 was found in 87.5% of the pateints where as the rest (12.5%) was grade 3, 4 which needed to be treated or prolong hospitalization, these reactions were anemia, leukopenia induced sepsis and severe emesis. Leukopenia was also the cause of postponement for the next antineoplastic treatment regiment. Five patients had to discontinue their current treatment regimen because of renal dysfuction. The total cost for treatment of ADRs in this study was 116,167 baht where the average cost was 250 baht to once antineoplastic drug was used. After being counseling on antineoplastic drug uses, the patients showed significantly increased (p<0.05) in knowledge about antineoplastic drugs and about management or avoidance of drug toxicity. All of patients were satisfied with the counseling program and agreed that this service should be performed continuously.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12631
ISBN: 9743329137
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narawaddee_Pr_front.pdf530.46 kBAdobe PDFView/Open
Narawaddee_Pr_ch1.pdf354.14 kBAdobe PDFView/Open
Narawaddee_Pr_ch2.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Narawaddee_Pr_ch3.pdf761.7 kBAdobe PDFView/Open
Narawaddee_Pr_ch4.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Narawaddee_Pr_ch5.pdf602.73 kBAdobe PDFView/Open
Narawaddee_Pr_back.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.