Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12739
Title: ดนตรีในพระราชพิธีสมโภชเดือนและชึ้นพระอู่
Other Titles: Royal court music of celebratory ceremony for the newborn princes and princesses
Authors: ชัยญะ หินอ่อน
Advisors: พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pornprapit.P@Chula.ac.th
Subjects: ดนตรีไทย
การเกิด -- พิธีกรรม
พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม -- ไทย
พระราชพิธีสมโภชเดือน
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาประวัติความเป็นมา ศึกษาองค์ประกอบทางดนตรี และวิเคราะห์ทำนองเห่กล่อมในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลเอกสารทางประวัติศาสตร์ วิเคราะห์ทำนองเห่กล่อมที่ได้บันทึกไว้โดย อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน รวมทั้งเจ้าหน้าที่วงเครื่องประโคม ผลการศึกษาพบว่ามีหลักฐานแสดงถึงพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อพระอัครมเหสีทรงพระครรภ์และเมื่อมีพระสูติกาลของราชกุมาร อีกทั้งยังปรากฏว่าได้มีการตราพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ไว้ในกฎมณเฑียรบาล ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ได้รับการสืบทอด และบัญญัติไว้ในกฎหมายตราสามดวงโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช การเห่กล่อมโดยวงขับไม้ประกอบพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ ปรากฏเป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่ามีใช้ครั้งแรกในสมัยใด ดนตรีในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่มี 3 วงคือ วงประโคมแตรสังข์ ใช้บรรเลงประกอบในช่วงแรกเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินถึงพระที่นั่งและบรรเลงประโคมช่วงที่สองเมื่อทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์ ขลิบพระเกศา และขณะที่พราหมณ์ออกแว่นเวียนเทียน วงปี่พาทย์พิธีใช้บรรเลงประกอบพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ ในช่วงที่หนึ่งและช่วงที่สองเพื่อสื่อความเป็นสิริมงคลในพระราชพิธี เป็นการอำนวยพรให้มีความสุข วงขับไม้ใช้บรรเลงในประราชพิธีเพื่อเป็นการขับกล่อมพระบรรทมให้กับพระราชกุมาร ผลการวิจัยทำนองเห่กล่อมพบประเด็นสำคัญคือทำนองดนตรีที่ใช้ในการเห่กล่อมนั้น ประกอบด้วยวรรคทำนองที่ยาว อยู่ในจังหวะช้าปานกลาง มีการตกแต่งเสียงด้วยระดับเสียงต่างๆ ตามหลักคีตศิลป์ไทย และมีเครื่องดำเนินทำนองประกอบการขับคือ ซอสามสายและบัณเฑาะว์ การดำเนินทำนองของผู้ขับทำนองเห่กล่อมและผู้สีซอสามสายนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์กัน ผู้สีซอสามสายจะต้องคำนึงทางขับเป็นหลัก ในการดำเนินทำนองของซอสามสายในช่วงระหว่างการขับ จะต้องดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในขณะเดียวกันผู้สีซอสามสายสามารถที่จะประดิษฐ์ทำนอง ที่มีความแตกต่างให้เหมาะสมกับช่วงของทำนองขับ เพื่อให้เกิดความวิจิตรทางด้านทำนองเพลงจนจบกระบวนการเห่กล่อม
Other Abstract: To investigate the historical data, musical components, and the melodies that were performed and vocalized as lullaby during the last part of the ceremony. The historical investigation led to a discovery of important evidence that recorded the celebratory ceremony of the newborn princes and princesses. The celebratory ceremony was dated back to the Ayuthaya period and was appeared in the Royal Decree. In the Rattanakosin period, King Rama I passed the royal decree to include the royal celebration as one of the mandatory royal ceremonies. There is evidence showing that the royal lullaby was performed for the last time to accompany the royal celebration of Prince Prachadhipoksakdhidej's one-month birthday anniversary during the reign of King Chulalongkorn. The date of the first royal ceremony of newborn princes and princesses which was accompanied by Wong Khab Mai was unknown. There are three kinds of ensembles accompanying the royal celebration: (1) Wong Prakom Sankha accompanying the first and second section of the ceremony when the King arrived and began to cut the prince's hair, (2) Wong Pipat Pithee accompanying the first and the second section of the ceremony, (3) Wong Khab Mai appeared in the third part of the ceremony to accompany the royal lullaby. The musical analysis shows that the royal lullaby melodies are performed in slow tempo. Each phrase is long. The royal lullaby is accompanied by Wong Khab Mai, which consists of Saw Sam Sai and Ban Daw. The melodies of Saw Sam Sai and the vocal melodies are interacted in harmony. The Saw Sam Sai player must follow the vocalist and progress in the same manner with the vocalist, although the Saw Sam Sai player can add appropriate elaborations to emphasize aesthetics and artistic expressions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12739
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chaiya_hi.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.