Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12778
Title: โครงการ การสังเคราะห์คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากชานอ้อย : รายงานฉบับสมบูรณ์
Other Titles: การสังเคราะห์คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากชานอ้อย
Synthesis and characterization of carboxymethycellulose obtained from pulps of bagasse
Authors: โสภณ เริงสำราญ
ปราณี รัตนวลีดิโรจน์
ศรีไฉล ขุนทน
Email: Sophon.R@Chula.ac.th
Pranee.R@Chula.ac.th
Srichalai.K@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ
Subjects: ชานอ้อย
คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส
Issue Date: 2541
Publisher: สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทดลองนี้ได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการสังเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพของคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส(ซีเอ็มซี) ที่เตรียมขึ้นจากชานอ้อย อ้อยที่ไม่ได้ผ่านการแยกขุยจะถูกนำมาเตรียมให้เป็นเยื่อเซลลูโลสโดยใช้กระบวนการพรีไฮโดรลิซีส และต้มกับด่าง จากนั้นจะนำเยื่อที่ฟอกแล้วมาวิเคราะห์ปริมาณและวัดค่าความสว่าง แล้วนำไปสังเคราะห์เป็นคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสด้วยระบบที่ใช้ตัวทำละลาย โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์และกรดโมโนคลอโรแอซีติกในการทำปฏิกิริยา สมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์แล้วจะถูกตรวจวัดคุณภาพออกมาในค่าของ ความหนืดปรากฏ ค่าระดับของการแทนที่ ความบริสุทธิ์ และปริมาณความชื้น ซึ่งผลจากการทดลองได้แสดงให้เห็นว่า ค่าระดับของการแทนที่ซึ่งมีส่วนควบคุมความสามารถในการละลายของซีเอ็มซีนั้น จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของอีเทอริฟายอิงเอเจนต์ โดยซีเอ็มซีที่ผลิตขึ้นจากการใช้อัตราส่วนเยื่อต่อกรดโมโนคลอโรแอซีติกเท่ากับ 1:1 และ 1:1.25 ได้แสดงสมบัติส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าค่าที่ได้จากซีเอ็มซีเกรดการค้าที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ
Other Abstract: In this work, the synthesis and characterization of carboxymethycellulose (CMC) obtained from pulps of bagasse is described. Without depithing, the bagasse was subjected to pulping by prehydrolysis and alkali boiling processes. The bleached pulps were then characterized in terms of lightness and -cellulose content. The carboxymethycellulose were obtained by solvent process with the existence of sodium hydroxide and monochloroacetic acid. The properties of purified products were then monitored in terms of apparent viscosity, degree of substitution (D.S.), purity and moisture content. The results showed that the D.S., which governed solubility of CMC, were increase with the concentration of etherifying agent. The CMC produced by using the pulps to monochloroacetic acid ratio of 1:1 and 1:1.25 exhibited the most of its performance greater than that of the textile commercial grade.
Description: งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากชานอ้อย -- วัตถุดิบในการเตรียมเยื่อเซลลูโลสคุณภาพสูง -- การกำจัดเฮมิเซลลูโลสออกจากเยื่อ -- กรรมวิธีการฟอกเยื่อ (bleaching) -- เซลลูโลสอีเทอร์ (cellulose ethers): กระบวนการผลิต ; ปฏิกิริยาเคมีของการสังเคราะห์ -- ระบบของปฏิกิริยา (reaction system) ในการสังเคราะห์ซีเอ็มซี -- สมบัติของซีเอ็มซี -- การประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรม -- งานวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวกับการสังเคราะห์ซีเอ็มซี จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรหรือกากอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12778
Type: Technical Report
Appears in Collections:Metal - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sophon_Carbox.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.