Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12780
Title: โครงการวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างละอองในบรรยากาศต่อปริมาณรังสีแสงอาทิตย์ บริเวณสถานีวิจัยชั้นบรรยากาศ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา : รายงานการวิจัย
Other Titles: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างละอองในบรรยากาศต่อปริมาณรังสีแสงอาทิตย์ บริเวณสถานีวิจัยชั้นบรรยากาศ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ความสัมพันธ์ระหว่างละอองในบรรยากาศต่อปริมาณรังสีแสงอาทิตย์ บริเวณสถานีวิจัยชั้นบรรยากาศ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
Relationship between aerosol and solar radiation at the Observatory for Atmospheric Research at Phimai, Nakhonratchasima
Authors: บุศราศิริ ธนะ
Email: Boossarasiri.T@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ละอองลอย
การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
พิมาย (นครราชสีมา) -- ภูมิอากาศ
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ละอองลอย (aerosol) เป็นส่วนประกอบหนึ่งของบรรยากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทั้งในมิติของเวลาและพื้นที่ อิทธิพลของละอองลอยต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศยังไม่เป็นที่แน่ชัดอันเป็นผลเนื่องจากการขาดข้อมูลและพฤติกรรมที่ซับซ้อนของในบรรยากาศ สถานีวิจัยชั้นบรรยากาศ ณ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2548 เพื่อทำการตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงของละอองลอยตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับสภาพของบรรยากาศอื่นๆ ซึ่งสถานีนี้เป็นสถานีอ้างอิงแห่งเดียวที่ตั้งอยู่บนพื้นทวีปบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของคุณสมบัติทางทัศนศาสตร์ของละอองลอยระหว่างเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2549 ได้แก่ ค่าความขุ่นมัวของบรรยากาศอันเนื่องมาจากละอองลอย ค่าคงที่ของอังสตรอม และค่าการกระเจิงกลับของรังสีแสงอาทิตย์อันเนื่องมาจากละอองลอย จากผลที่ได้จากการตรวจวัดสามารถแบ่งละอองลอยอกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่แรกประกอบด้วยละอองลอยขนาดอนุภาคหยาบ (เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 6 ไมครอน) แขวนลอยอยู่ในบรรยากาศช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน มีส่วนประกอบของเหล็กออกไซด์ซึ่งเป็นธาตุที่มีอยู่มากในดินบริเวณที่ทำการศึกษา มีคุณสมบัติในการดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์สูงโดยมีค่าการกระเจิงกลับของรังสีแสงอาทิตย์อันเนื่องมาจากละอองลอย 0.77+-0.15, 0.79+-0.15 และ 0.86+-0.17 ในช่วงความยาวคลื่น 0.4, 0.5 และ 0.87 ไมครอนตามลำดับ กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยละอองลอยขนาดอนุภาคหยาบเช่นเดียวกันกับกลุ่มที่แรกแต่มีขนาดหยาบกว่าและสมบัติการดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์อันเนื่องมาจากละอองลอยต่ำกว่า ซึ่งอาจเป็นละอองลอยประเภทเกลือ เนื่องจากในบริเวณที่ทำการศึกษามีการพบแร่เกลือหินเป็นจำนวนมาก ละอองลอยกลุ่มที่ 2 นี้พบว่าแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ละอองลอยกลุ่มที่ 3 และ 4 มีขนาดละเอียดกว่าละอองลอยกลุ่มที่ 1 และ 2 อย่างเห็นได้ชัดโดยมีค่าคงที่ของอังสตรอม 1.13+-0.25 และ 1.15+-0.40 สำหรับละอองลอยกลุ่มที่ 3 และ 4 ตามลำดับ ความแตกต่างระหว่างละอองลอยทั้ง 2 กลุ่ม คือ ละอองลอยกลุ่มที่ 3 มีสมบัติในการดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์มากกว่าละอองลอยกลุ่มที่ 4 ซึ่งเมื่อพิจารณาร่วมกับข้อมูลอื่น ทำให้คาดว่าละอองลอยกลุ่มที่ 3 และ 4 น่าที่จะเป็นละอองลอยที่เกิดจากการเผาไหม้มวลชีวภาพเช่นเดียวกัน แต่ละอองกลุ่มที่ 3 เกิดจากการเผาไหม้ในสภาพความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศต่ำกว่าจึงส่งผลทำให้มีคุณสมบัติในการดูดกลืนรังสีแสงอาทิตย์มากกว่า เมื่อพิจารณาค่าความขุ่นมัวของบรรยากาศร่วมกับปริมาณรังสีแสงอาทิตย์ที่ได้จาการตรวจวัดพบว่า ละอองลอยทำให้ปริมาณรังสีแสงอาทิตย์หายไปจากดุลพลังงานบนพื้นผิวโลกประมาณ 53.56 วัตต์ต่อตารางเมตร
Other Abstract: Aerosol is an atmospheric constituent that is high temporal and spatial variation. The aerosol effect are not cleared due to lack of data and complex behaviors in the atmosphere. The observatory for atmospheric research at Phimai, Nakhon Ratchasima was established in 2005 in order to observe aerosol variation and related parameters. It is only one observatory that located in Southeast Asia. The objective of this study is to investigate the variation of aerosol optical properties from the observatory from May 2005 to April 2006. The properties consist of aerosol optical depth (AOD), Angstrom exponent and single scattering albedo (SSA). According to aerosol optical properties, we can divide aerosol at the observatory for atmospheric research at Phimai, Nakhon ratchasima into 4 groups as below; The first group consist of coarse mode aerosol with high absorption aerosols. They suspend in the atmosphere during August to September which is rainy season. It may be local dust that is compound of iron oxide or hematite. Resulting is low SSA aerosol distributed during this period. SSA are 0.77+-0.15, 0.79+-0.15 and 0.86+-0.17 in channel 0.4, 0.5 and 0.87 Um, in respectively. The second group is major by coarse mode aerosol and low absorption. It is possibly consisted of rock salt (halite) that exposes near the study area or the other soluble aerosol. This group of aerosol is found in during October to December. The second group of aerosol is coarser than the first group because of the lower Angstrom exponent. For the third and forth group of aerosol, they are fine mode aerosol which Angstrom exponent are 1.13+-0.25 for the third group and 1.15+-0.40 for the forth group. The different between these two groups is SSA of the third group of aerosol is 0.78+-0.11, 0.76+-0.13 and 0.77+-0.12 for the different wavelength that express absorbing aerosol characteristic. Therefore, they may be the aerosol from biomass burning under long flaming stage that suppose with low humidity during January to February. The forth group appear during March to April which is the crop preparation period. Aerosols are high SSA in this time. According to the AOD data, solar radiation is disappeared about 53.23W/m2 from the earth’s energy budget due to aerosol direct effect.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12780
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Busrasiri_Aerosol.pdf14.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.