Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1278
Title: การผลิตวาร์นิชพอลิยูรีเทนจากน้ำมันเปลือกมะม่วงหิมพานต์
Other Titles: Production of varnish polyurethane from cashew nut-shell liquid
Authors: อาฬะหะ สิงห์แพ
Advisors: ศศิธร บุญ-หลง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sasithorn.B@chula.ac.th
Subjects: น้ำมันเปลือกมะม่วงหิมพานต์
วาร์นิชโพลิยูรีเทน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในส่วนแรกนั้นเป็นการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ เพื่อเตรียมวาร์นิชพอลิยูรีเทนจากน้ำมันที่ได้จากเปลือกมะม่วงหิมพานต์ (CNSL) ได้ใช้โทลูอีนไดไอโซไซยาเนต เป็นไอโซไซยาเนตมอนอเมอร์ และดำเนินการทดลองเป็นสองวิธี โดยขึ้นกับอุณหภูมิของปฏิกิริยา ดังนี้ : วิธีที่หนึ่ง ไม่ให้ความร้อนแก่ส่วนผสม โดยนำส่วนผสมของ CNSL กลีเซอรีน และ โทลูอีนไดไอโซไซยาเนตในอัตราส่วนแตกต่างกันมาทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิห้อง แล้วกวนส่วนผสมโดยใช้เวลาต่างๆ เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุด หลังจากนั้นเติมสารเร่งแห้งซึ่งประกอบด้วยโคบอลต์ แมงกานีส และตะกั่ว ปรับความหนืดด้วยโทลูอีน แล้วหาระยะเวลาการแห้ง วิธีที่สอง ให้ความร้อนแก่ส่วนผสม โดยนำส่วนผสมของ CNSL และกลีเซอรีน ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันมาทำให้ร้อนที่อุณหภูมิต่างๆ แล้วปล่อยให้เย็นลง เติมโทลูอีนไดไอโซไซยาเนต ลงไปให้ความร้อนอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นนำผลิตภัณฑ์มาเติมสารเร่งแห้ง ปรับความหนืด และหาระยะเวลาการแห้ง เช่นเดียวกับวิธีที่หนึ่ง ในส่วนที่สอง เป็นส่วนของการหาปริมาณของสารเร่งแห้งที่ทำให้วาร์นิชพอลิยูรีเทนแห้งเร็วที่สุด โดยการหาสัดส่วนของ Co:Mn:Pb ในปริมาณที่ดีและเหมาะสมที่สุด ที่สามารถทำให้วาร์นิชพอลิยูรีเทนแห้งได้เร็วที่สุด ในส่วนที่ 3 เป็นส่วนของการทดสอบระยะเวลาการแห้งของวาร์นิชที่เตรียมได้ โดยใช้สัดส่วนของ Co:Mn:Pb ที่ได้จากการทดลองในส่วนที่สอง เพื่อทดสอบระยะเวลาการแห้งที่ผิว (นาที) และระยะเวลาการแห้งแข็ง (ชั่วโมง) จากผลการทดลองพบว่าสภาวะที่ดีที่สุดในการเตรียมวาร์นิชพอลิยูรีเทนคือ เตรียมโดยวิธีให้ความร้อนแก่ส่วนผสม C:G:TDI เป็น 100 กรัม : 20 กรัม : 25 กรัม โดยให้ความร้อนเป็นสองช่วงช่วงละ 60 นาที ที่อุณหภูมิ 90+-5 องศาเซลเซียส สัดส่วนของสารเร่งแห้งที่ทำให้วาร์นิชพอลิยูรีเทนแห้งเร็วที่สุดคือ 0.050%Co, 0.300%Mn และ 0.750%Pb วิทยานิพนธ์เล่มนี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการเตรียมวาร์นิชพอลิยูรีเทน จากน้ำมันที่ได้จากเปลือกมะม่วงหิมพานต์ พร้อมกับข้อมูลซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมในประเทศ
Other Abstract: Polyurethane varnish was prepared on a laboratory scale from CNSL (cashew nut-shell liquid) using TDI (toluene diisocyanate) as an isocyanate monomer. The study was divided into three sections. The first section is the preparation of polyurethane varnish by two different methods. In the first method, different ratios of CNSL, glycerine and TDI were reacted together at room temperature without additional heating. Driers consisting of cobalt, manganese and lead were added to the resulting mixture and the time of drying was determined after the viscosity was adjusted. In the second method, different ratios of CNSL and glycerine were mixed together and heated at different teperature, then cooled and TDI was added, and the mixture was heated up again. Driers were added to the resulting mixture and the time of drying was determined after the viscosity was adjusted. The second section of the study was to determine the best mixture ratio of the driers used. The final section of the study was to prepare polyurethanevarnish from CNSL using the best condition and mixture ratios. Experimental results showed that the best method of preparation of polyurethane varnish is by heating the mixture of CNSL, glycerine and TDI at a ratio of 100g : 20g : 25g for 60 minutes at 90+-5 ํC and re-heating again for 60 minutes at the same temperature. The best drier ratio is 0..050% cobalt : 0.300% manganese : 0.750% lead. The results showed that preparation of polyurethane varnish from CNSL is possible.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1278
ISBN: 9741717849
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Araha.pdf7.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.