Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12812
Title: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโครงสร้างของไซยานิดินและอนุพันธ์ไซยานิดินชนิดต่างๆ ในการยับยั้งเอนไซม์อัลฟากลูโคซิเดสและอัลฟาอะไมเลส ต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาว : รายงานวิจัย
Other Titles: Comparative studies between different structures of cyanidin and derivatives on alpha-glucosidase and alpha-amylase inhibition as well as their anti-hyperglycemic activities in rats
Authors: ศิรินทร หยิบโชคอนันต์
สิริชัย อดิศักดิ์วัฒนา
Email: Sirintorn.Y@Chula.ac.th
Sirichai.A@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
Subjects: แอนโธไซยานิน -- การใช้รักษา
เบาหวาน
น้ำตาลในเลือด
กลูโคซิเดส -- สารยับยั้ง
อะมีเลส -- สารยับยั้ง
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไซยานิดินและอนุพันธ์ เป็นสารพวกแอนโธไซยานินจากธรรมชาติ พบได้ทั่วไปในอาหารที่มนุษย์รับประทาน เช่น ธัญญพืช ถั่ว ผลไม้ ผัก และ ไวน์แดง การบริโภคแอนโธไซยานินเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น หลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจ มะเร็ง และเบาหวาน การยับยั้งเอนไซม์อัลฟากลูโคซิเดสและอัลฟาอะไมเลส เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่เกี่ยวกับการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต ช่วยชะลอการย่อยน้ำตาลโมเลกุลคู่ให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กระบวนการดังกล่าวช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสและมีผลให้ลดระดับน้ำตาลภายหลังรับประทานได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ของไซยานิดิน และอนุพันธ์ รวมถึงกลไกการยับยั้งเอนไซม์อัลฟากลูโคซิเดสและอัลฟาอะไมเลส นอกจากนี้ยังศึกษาถึงการเสริมฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์อัลฟากลูโคซิเดสและอัลฟาอะไมเลสของไซยานิดิน และอนุพันธ์ร่วมกับอะคาร์โบส รวมทั้งศึกษาฤทธิ์ของไซยานิดิน หรือ อนุพันธ์ต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาว ผลการทดลองพบว่า ลำดับการยับยั้งเอนไซม์มอลเตสและซูเครส (อัลฟากลูโคซิเดส) ของไซยานิดินและอนุพันธ์เป็นดังนี้ คือ ไซยานิดิน-3- รูติโนไซด์ > ไซยานิดิน-3-กาแลคโตไซด์ >ไซยานิดิน-3-กลูโคโซด์ > ไซยานิดิน > ไซยานิดิน-3,5-กลูโคไซด์ และในขณะเดียวกัน ลำดับการยับยั้งเอนไซม์อัลฟาอะไมเลส คือ ไซยานิดิน-3- รูติโนไซด์ > ไซยานิดิน = ไซยานิดิน-3-กลูโคโซด์ > ไซยานิดิน-3-กาแลคโตไซด์ =ไซยานิดิน-3,5-กลูโคไซด์ ในความเข้มข้นต่ำของไซยานิดิน-3- รูติโนไซด์ ไซยานิดิน-3-กาแลคโตไซด์ และไซยานิดิน-3-กลูโคโซด์เสริมฤทธิ์แบบซินเนอร์จิสกับอะคาร์โบส ในการยับยั้งเอนไซม์มอลเตสและซูเครส อย่างไรก็ตามมีเพียงแต่ไซยานิดิน-3-รูติโนไซด์ เท่านั้นที่เสริมฤทธิ์แบบซินเนอร์จิสกับอะคาร์โบสที่ความเข้มข้นต่ำต่อการยับยั้งเอนไซม์อัลฟาอะไมเลส และจากการวิเคราะห์ชนิดการยับยั้งพบว่าไซยานิดิน-3-รูติโนไซด์และไซยานิดิน-3-กาแลคโตไซด์มีการยับยั้งเป็นแบบแข่งขันผสมต่อการยับยั้งเอนไซม์ซูเครส ไซยานิดิน-3- รูติโนไซด์ (Cya3R) ขนาด 100 และ 300 mg/kg สามารถชะลอการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสในหนูขาวภายหลังที่ได้รับการป้อนแป้ง น้ำตาลมอลโตสและน้ำตาลซูโครส ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดลองในหลอดทดลอง นอกจากนี้ การให้ Cya3R ขนาด 30 mg/kg ร่วมกับ acarbose สามารถเสริมฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดของสัตว์ทดลองภายหลังได้รับการป้อนแป้ง น้ำตาลมอลโตสและน้ำตาลซูโครส ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่พบในหลอดทดลองเช่นกัน จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ไซยานิดินและอนุพันธ์เป็นตัวยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อัลฟากลูโคซิเดสและอัลฟาอะไมเลสที่มีประสิทธิภาพ จึงอาจสามารถนำมาใช้เพื่อชะลอการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสภายหลังการรับประทานอาหาร หรือใช้ร่วมกับอะคาร์โบสในการรักษาโรคเบาหวานได้
Other Abstract: Cyanidin and its derivatives, the natural anthocyanins, are widely distributed in human diet through crops, beans, fruits, vegetables, and red wine. Consumption of anthocyanins is associated with a reduced risk of several degenerative diseases such as atheroscelerosis, cardiovascular disease, cancer, and diabetes. Inhibition of α -glucosidase and α -amylase is one of the therapeutic approaches for carbohydrate absorption, by delaying digestion of disaccharides to absorbable monosaccharides. This leads to a reduction in glucose absorption and, subsequently, the rise of postprandial hyperglycemia is attenuated. Thus, this study was to evaluate the inhibitory effects of cyanidin and its derivatives both in vivo and in vitro and their kinetic inhibitions on α-glucosidase and α-amylase. Moreover, the study was also investigated the synergistic inhibition of cyanidin derivatives and acarbose on α -glucosidase and α -amylase. It was found that the order of potency on intestinal maltase and sucrase (α -glucosidase) was cyanidin-3-rutinoside > cyanidin-3-galactoside > cyanidin-3-glucoside > cyanidin> cyanidin-3,5-diglucoside. In the meantime, it was cyanidin-3-rutinoside > cyanidin = cyanidin-3-glucoside > cyanidin-3-galactoside = cyanidin-3,5-diglucoside on α -amylase. A low dose of cyanidin-3-rutinoside, cyanidin-3-galactoside, cyanidin-3-glucoside showed a synergistic inhibition on intestinal α -glucosidase (maltase and sucrase) when combined with acarbose. However, only cyanidin-3-rutinoside exhibited a synergistic inhibition on α -amyalse at the low dose of acarbose. A kinetic analysis showed that cyanidin-3-rutinoside and cyanidin-3-galactoside exerted a mixed type inhibition against intestinal sucrase. Cyanidin-3-rutinoside (Cya3R) at concentration of 100 and 300 mg/kg delayed post-pandrial hyperglycemia in rat after receiving maltose, sucrose and starch. In addition, the administration of Cya3R (30 mg/kg) simultaneously with acarbose exerted a synergistic effect on decreasing an elevation of blood glucose concentration in rats after loading maltose, sucrose and starch. These results were consistent with the ones obtained from in vitro experiments. Taken together, the results indicated that cyanidin and its derivatives were the effective α -glucosidase and α -amylase inhibitors and could be used to delay an elevation of blood glucose concentration after meal or to combine with acarbose for treatment of diabetes.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12812
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sirintorn_Cyanidin.pdf810.17 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.