Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12815
Title: | การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดแห้มต่อการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของหนูขาว การกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน และการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟ่า-กลูโคซิเดส : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | The effects of costinium fenestratum extract on lowering blood glucose level in rats, the stimulatory effect on insulin secretion from perfused rat pancrease and the inhibitory effect on alpha-glucosidase |
Authors: | ศิรินทร หยิบโชคอนันต์ ดำรง สมมิตร์ |
Email: | Sirintorn.Y@Chula.ac.th damrong@mut.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | สารสกัดจากพืช แห้ม (พืช) น้ำตาลในเลือด กลูโคซิเดส -- สารยับยั้ง |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แห้ม (Coscinium fenestratum) เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคเบาหวาน โดยมีผู้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในขณะที่รายงานการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของแห้มยังมีไม่มากนัก จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดเอธานอลจากแห้ม ต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูปกติและหนูเบาหวาน และศึกษากลไกการออกฤทธิ์ต่อการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินโดยตรงจากตับอ่อน และฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟ่ากลูโคซิเดส โดยเฉพาะเอนไซม์มอลเตสและซูเครส จากการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดแห้มต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูปกติและหนูเบาหวานด้วยวิธี oral glucose tolerance test (OGTT) โดยการป้อนน้ำตาล 3 ชนิด ได้แก่ กลูโคส มอลโตส และซูโครส พบว่า สารสกัดแห้มขนาด 250-1000 มก./กก. สามารถยับยั้งระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นในหนูปกติกลุ่มที่ได้รับน้ำตาลทั้ง 3 ชนิด และการยับยั้งนี้จะผันแปรตามขนาดของสารสกัดที่เพิ่มขึ้น ส่วนในหนูเบาหวานพบว่า สารสกัดแห้มขนาด 500 มก./กก. สามารถลดระดับน้ำตาลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในหนูกลุ่มที่ได้รับการป้อนน้ำตาลกลูโคสและมอลโตส และไม่มีผลลดระดับน้ำตาลในหนูกลุ่มที่ได้รับการป้อนน้ำตาลซูโครส จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดแห้มต่อการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินโดยตรงจากตับอ่อน และฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟ่ากลูโคซิเดส จากลำไส้ของหนูขาว โดยเฉพาะเอนไซม์มอลเตสและซูเครส พบว่าสารสกัดแห้มขนาด 10 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินได้ในลักษณะของ biphasic คือมีการเพิ่มขึ้นของระดับอินซูลินอย่างรวดเร็วจากนั้นระดับอินซูลินจะลดต่ำลงและคงที่อยู่ในระดับหนึ่ง ที่สูงกว่าระยะพักเล็กน้อย ในขณะที่ berberine ณ ความเข้มข้นเดียวกัน สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินได้อย่างช้าๆ และเพียงเล็กน้อย โดยรูปแบบการเพิ่มขึ้นเป็นแบบ monophasic ซึ่งผลจากการทดลองบ่งชี้ว่า ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของสารสกัดแห้ม น่าจะมีผลมาจากการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินโดยตรงจากตับอ่อน นอกจากนี้สารสกัดแห้มยังสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์มอลเตสได้ดีกว่าซูเครส ซึ่งผลที่ได้จะคล้ายคลึงกับยา acarbose ที่ใช้เป็นกลุ่มควบคุม เมื่อศึกษาฤทธิ์กึ่งเฉียบพลันของสารสกัดเอธานอลจากแห้มทำโดยการป้อนทางปากในขนาด 500 มก./กก./วัน ติดต่อกันนาน 30 วัน ต่อระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด รวมทั้งการทำงานของตับและไตในหนูปกติและหนูเบาหวาน พบว่า สารสกัดเอธานอลจากแห้ม ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมัน และการทำงานของตับในหมู่ปกติ ส่วนในหนูเบาหวานสารสกัดเอธานอลจากแห้มไม่มีผลต่อการเพิ่มของน้ำหนักตัว มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ ลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้เล็กน้อย แต่เพิ่มระดับ HDL ได้ และไม่มีผลเปลี่ยนแปลงการทำงานของตับ แต่อาจมีอันตายต่อไปได้โดยเฉพาะในหนูปกติ จากผลการทดลองดังกล่าวข้างต้นสรุปได้ว่า สารสกัดเอธานอลจากแห้ม มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ทั้งในหนูปกติและหนูเบาหวาน โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ผ่านทางการกระตุ้นการหลังอินซูลินจากตับอ่อน และการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์มอลเตสและซูเครส ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำสารสกัดเอธานอลจากแห้มมาพัฒนาเป็นยารักษาโรคเบาหวานต่อไปในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามสารสกัดเอธานอลจากแห้มอาจมีอันตรายต่อไตได้ จึงควรจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องความเป็นพิษเรื้อรังของสารสกัดแห้มโดยรทดสอบในระยะเวลาที่นานขึ้น เช่น 6 เดือน ถึง 1 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดสอบในหนูเบาหวานต่อไป |
Other Abstract: | Coscinium fenestratum (Gaertn.) Colebr. or “Hamm” has been widely used as a traditional medicine. The request to use this plant in diabetes is increasing. However, the scientific information in biological activities of C. fenestratum is limited, therefore, the study on pharmacological effects of this plant is necessary. The objective of this study was to investigate 1) the effects of C. fenestratum extract (CFE) on blood glucose level in normal and diabetic rate 2) the stimulatory effects on insulin secretion from perfused rat pancreas and 3) the inhibitory effects of rat intestinal enzymes alpha-glucosidase, maltase and sucrase. The anti-hypergiycemic effects of CFE on plasma glucose eves were studied in both normal and streptozotocin-induced diabetic rats by performing OGTT with several kinds of sugar, glucose, maltose and sucrose. In normal rats, the CFE at concentrations of 250-1000 mg/kg inhibited increases of plasma glucose levels in all three kinds of sugar-loaded rats in a dose-dependent manner. In diabetic rats. CFE (500 mg/kg) significantly decreased plasma glucose levels in glucose and maltose loaded rats while it did not demonstrated the statistical hypoglycemic effect in sucrose-loaded rats. We investigated the stimulatory effect of CFE on insulin secretion from perfused rat pancrease and its inhibitory activity on rat intestina alpha-glucosidase maltase and sucrase. The result showed that CFE (10 micro g./ml) significantly increased insulin secretion in a biphasic pattern, a peak followed by a sustained phase. However berberine at the same concentration had slightly and gradually stimulated insulin secretion in a monophasic pattern. The results indicated that the vivo hypoglycemic effect of CFE was due to stimulation of insulin secretion from pancreatic Beta-cells. In addition, CFE is able to inhibit in vitro activities of maltase better than sucrase which is similar to acarbose. Subacute effects of CFE on blood glucose levels and blood chemistry in normal and diabetic rats were studied by feeding CFE 500 mg/kg/day for 30 days. We found that CFE had no effects on blood glucose levels, lipid profiles, and liver functions in normal rats. However, it significantly decreased plasma glucose levels of diabetic rats without affecting the increase of their body weights. The cholesterol and triglyceride levels in diabetic rats were slightly decreased while HDL was significantly increased after CFE feeding. In addition, CFE did not affect the levels of AST and ALT in serum of all rats, but it elevated both serum BUN and creatinine levels in normal rats. Taken together, it is concluded that the crude ethanol extract of C. fenestratum had anti-hyperglycemic action in both normal and STZ-induced diabetic rats. The mechanisms underlying hypoglycemic activity of CFE were at least having a partial stimulation effect on insulin secretion and inhibition of intestinal alpha-glucosidase, maltase and sucrase. Thus, this compound is potential to be developed as a new drug for treating diabetes in the future. However, its effect on renal function should be concerned and more toxicological data on renal toxicity is needed to establish the safety of this extract. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12815 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sirintorn_Costinium.pdf | 2.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.