Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12869
Title: | เพลงปฏิพากย์ : การศึกษาในเชิงวรรณคดีวิเคราะห์ |
Authors: | สุกัญญา สุจฉายา |
Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เพลงปฏิพากย์ เพลงพื้นเมือง |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Citation: | วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. 1,3 (ธ.ค. 2527), 64-70 |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเพลงปฏิพากย์ภาคกลางไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อพัฒนาการของเพลงปฏิพากย์และบทบาทของเพลงปฏิพากย์ โดยเฉพาะมุ่งศึกษาบทบาทในการนำเสนอเรื่องเพศที่ปรากฏในเพลงชนิดนี้โดยอาศัยแนวพินิจในเชิงประวัติสังคมวิทยาและจิตวิเคราะห์ การเก็บข้อมูลสนามเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2520 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2522 ผลจากการเก็บข้อมูลผู้วิจัยสามารถรวบรวมเพลงปฏิพากย์ได้ 26 ชนิด รวมทั้งสิ้น 67 บท ผลจาการวิจัยแสดงว่าเพลงปฏิพากย์ในระยะแรกน่าจะเป็นเพลงปฏิพากย์สั้นที่เกิดจากการรวมหมู่เพื่อประโยชน์ในการทำงานร่วมกันและเพื่อใช้เกี้ยวพาราสีกัน ต่อมาจึงมีการผูกโครงเรื่องให้ซับซ้อนขึ้น และมีการสมมติบทบาททำให้มีลักษณะเป็นการแสดงจึงเกิดเพลงปฏิพากย์ยาว และท้ายสุดได้พัฒนากลายเป็นมหรสพประเภทหนึ่งที่แยกคนร้องออกจากกลุ่มคนฟัง เพลงปฏิพากย์เคยมีบทบาทอย่างยิ่งต่อสังคมไทยในอดีต คือ ให้ความบันเทิง สร้างความสามัคคีในกลุ่ม ให้การศึกษา แนวทางการดำเนินชีวิต ถ่ายทอดค่านิยมในสังคม บันทึกเหตุการณ์ วิพากษ์วิจารณ์สังคม รมทั้งทำหน้าที่ระบายคามเครียดเก็บกดให้สังคมโดยแสดงออกในรูปของการพูดถึงเรื่องเพศ และการเสนอเนื้อหาสนับสนุนการละเมิดกรอบประเพณีของสังคม การที่เพลงปฏิพากย์ของไทยเต็มไปด้วยศัพท์สังวาสและโวหารเรื่องเพศเป็นเพราะอิทธิพลของคติความเชื่อดั้งเดิมซึ่งถือว่าเพศเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ของพืชและมนุษย์ ทั้งนี้อาจจะได้รับอิทธิพลของลัทธิฮินดู-ตันตระที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในความเชื่อของคนไทย ความเชื่อต่างๆ เหล่านี้อาจพินิจในเชิงจิตวิเคราะห์ได้ว่าเป็นวิธีการหาทางระบายออกของสัญชาตญาณทางเพศแทบทั้งสิ้น เพลงปฏิพากย์จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการระบายความก้าวร้าวที่เก็บกดจากการถูกจำกัดสัญชาตญาณทางเพศ และเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบกฎเกณฑ์ของสังคม ในสังคมไทยปัจจุบันเพลงปฏิพากย์ได้ลดบทบาทลงเกือบหมด ทั้งนี้เพราะอิทธิพลของระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตราซึ่งเป็นผลมาจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมตะวันตกที่ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปในทุกด้าน สื่อมวลชนมีส่วนทำให้เพลงปฏิพากย์ลดบทบาทลงคงเหลือไว้เพียงบทบาทในการให้ความบันเทิงแก่กลุ่มรุ่นคนมีอายุซึ่งนับวันมีแต่จะสูญสิ้นเพราะขาดการสืบทอดโดยคนหนุ่มสาว |
Other Abstract: | The purpose of this thesis is to collect, to classify, and to study the development and functions of folk dialogue songs of Central Thailand. The thesis discusses the uses of sexual images with references to various approaches, namely historical, sociological, and psychoanalytical. The study is based on field works conducted mainly between September 1977 and October 1979. The collection includes 26 types of dialogue songs. Altogether there are 67 pieces. It is found that the early dialogue songs are short and were of communal origin. People sang while working together at various stages of rice cultivation and harvest with the purpose of amusement and courtship. Later, these songs began to involve lengthly plots and more characters, which paved the way towards dramatic or stage performances. This has also resulted in a segregation between performers and their audience. Thus, the communal creation lends itself to individualistic refinement. In the past, dialogue songs performed several significant functions. They entertained, while serving to educate people as to the traditional lifestyle and values. At the same time, they kept records of various events, cried out subtle protests and resentment with good humour, in order to release social tensions and psychological repressions. Violations of sexual taboos through the songs provides emotional outlets and offer new rhythm to the traditional regularity. Richness in erotic words and sexual tendencies came at the earliest stage under the influence of the ancient belief that sexual union brought about fertility. This belief was strengthened further by Hindu and Tantra concepts which still remains in the superstitious practices of some Thai people. If analyzed psychoanalytically, dialogue songs are a form of expressing the aggressiveness from the repressed sexual instinct and are the reaction to the social, monotonous atmosphere. However, the role of dialogue songs in the present Thai society has decreased considerably as a result of the monetary economy, especially the advancement of the western capitalistic system, which has changed in every way the lifestyle of Thai people. The mass media has fulfilled the role dialogue songs used to play. Thus, active song bearers who belong mainly to older generations find less and less heirs for their cultural treatures. |
Description: | วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ พ.ศ. 2523 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12869 |
ISSN: | 0857-037X |
Type: | Article |
Appears in Collections: | Arts - Journal Articles |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukanya_pleng.pdf | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.