Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12980
Title: | การศึกษาและพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์งานประติมากรรม กรณีศึกษาการสร้างงานประติมากรรม "ดวงอาทิตย์กับความรุ่งเรืองแห่งชีวิต" : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | A study and development of the process of creating a sculpture :|ba case study of creating the sculpture "The Sun and Prosperity of Life" |
Authors: | สัญญา วงศ์อร่าม |
Email: | Sanya.W@Chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | ประติมากรรม -- ไทย การสร้างสรรค์ (วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ) ศิลปะ -- การศึกษาและการสอน |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | นำเสนอกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมอย่างเป็นระบบซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ทำงานศิลปะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จะต้องไปเป็นครูสอนวิชาศิลปะในหลักสูตรศิลปศึกษานั้น ประกอบด้วยรายวิชาพื้นฐานทางศิลปะในทุกลักษณะ เช่น จิตรกรรมประติมากรรม ออกแบบ และภาพพิมพ์ จากลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมานี้ เป็นผลงานในรูป 2 มิติ และ 3 มิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาประติมากรรม เป็นการสร้างผลงาน 3 มิติ มีกระบวนการที่ซับซ้อน ซึ่งหากจะทำให้นิสิตเข้าใจได้อย่างถ่องแท้จำเป็นที่ผู้สอนต้องจัดวางแผนในกระบวนการที่ชัดเจนและมีลำดับขั้นตอนซึ่งจะเป็นพื้นฐานและแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานและนำไปสู่การสอนที่มีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ 1.เพื่อศึกษาแนวคิดที่สะท้อนความคิดในศาสนาและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของภูมิภาคเอเชียซึ่งสัมพันธ์กับความเชื่อในประติมากรรม 2. เพื่อศึกษาแนวความคิดความเชื่อในงานประติมากรรม ”ดวงอาทิตย์กับความรุ่งเรื่องแห่งชีวิต” 3. เพื่อศึกษาขบวนการขั้นตอนเทคนิควิธีสร้างสรรค์งานประติมากรรม 4. เพื่อสร้างประติมากรรมตามแนวความคิด 5. เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้กระบวนการขั้นตอนและเทคนิควิธีสร้างงานประติมากรรมสู่การเรียนการสอนศิลปะ ในวิธีการวิจัยใช้กรณีศึกษาโดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สังเคราะห์ในเชิงคุณภาพ ผลของการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปขั้นตอนกระบวนการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ได้ดังนี้ 1. การศึกษาแนวความคิดและที่มา 2. การร่างรูปแบบ และแก้ไขปรับแบบร่าง 3. การสร้างแบบประติมากรรมรูปเทพเข้าทั้งสาม 4.การทำแม่พิมพ์เทพเจ้าทั้งสาม 5.การปั้นรูปทรง 6.การหล่อแม่พิมพ์ 7.การถอดแม่พิมพ์ 8.การปั้นการตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุง 9.การติดตั้งผลงาน ในส่วนของการประยุกต์ในการสอนศิลปะ สามารถสรุปได้เป็นแนวทางต่อไปนี้คือ 1.สร้างความตระหนักว่า การทำงานศิลปะมีกระบวนการขั้นตอนการทำงานที่เป็นระบบ 2.การให้ความสำคัญต่อการคิดวิเคราะห์ 3.การส่งเสริมให้ผู้เรียนทดลองและแก้ปัญหา 4.การสร้างเจตคติที่ดีในการทำงานประติมากรรมโดยผู้สอนต้องทุ่มเทและทำตัวแบบอย่าง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12980 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sanya_Creating.pdf | 6.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.