Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13004
Title: การประดิษฐ์โปรแกรมกำจัดเสียงสะท้อนในระบบโทรศัพท์
Other Titles: โปรแกรมกำจัดเสียงสะท้อนในระบบโทรศัพท์
Authors: วาทิต เบญจพลกุล
Email: Watit.B@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: เสียงสะท้อน
โทรศัพท์ -- การกำจัดเสียงสะท้อน -- แบบจำลอง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงงานนี้ศึกษาวิธีการกำจัดเสียงสะท้อนในระบบโทรศัพท์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี สำหรับโครงงานนี้ใช้วิธีการสังเคราะห์สัญญาณเสียงเลียนแบบสัญญาณเสียงสะท้อนโดยใช้ adaptive filter หลังจากนั้นก็นำสัญญาณเสียงเลียนแบบนั้นไปหักล้างออกจากสัญญาณรวมระหว่างสัญญาณเสียงของผู้พูดด้านใกล้กับสัญญาณเสียงสะท้อน ผลที่ได้ก็คือสัญญาณเสียงจากผู้พูดด้านใกล้เพียงอย่างเดียว ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีคือคู่สนทนาสามารถพูดสวนกันได้ adaptive filter ที่ใช้ในการเลียนแบบสัญญาณเสียงสะท้อนใช้หลักการของ LMS หรือ Lest Mean Square ทุกส่วนของตัวกำจัดเสียงสะท้อนรวมทั้งสัญญาณเสียงต่างๆในโครงงานนี้จำลองขึ้นบนเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งโปรแกรมทั้งหมดเขียนด้วยภาษาC งานหลักของโครงงานคือการเขียนโปรแกรมและการหาค่าพารามิเตอร์ของตัวกำจัดเสียงสะท้อนที่ทำให้สัญญาณเสียงที่ออกจากตัวกำจัดเสียงสะท้อนมีลักษณะใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงพูดจากด้านใกล้มากที่สุด ค่าพารามิเตอร์เหล่านี้สามารถหาได้โดยการทดลองเปลี่ยนค่าไปเรื่อยๆแล้วเปรียบเทียบสัญญาณที่ออกจากตัวกำจัดเสียงสะท้อนกับสัญญาณเสียงจากด้านใกล้ทั้งในอาณาจักรเวลา(time domain) และอาณาจักรความถี่ (frequency domain) ทำเช่นนี้ไปจนกว่าสัญญาณเสียงที่ออกจากตัวกำจัดเสียงสะท้อนมีลักษณะใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงพูดจากด้านใกล้มากที่สุด ซึ่งจากผลการทดลองเปลี่ยนแปลงลักษณะของสัญญาณเสียงสะท้อนในรูปแบบต่างๆ ทำให้หาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมกับสัญญาณเสียงทั่วๆไปได้คือ ความยาวของเวคเตอร์น้ำหนักถ่วง = 10 , ค่าเริ่มต้นของเวคเตอร์น้ำหนักถ่วง = 0 , จำนวนรอบในการทำซ้ำ = 100 , ค่า µ หรือ loop gain = 4x10-5 ซึ่งค่าเหล่านี้อาจไม่เหมาะสมกับสัญญาณเสียงสะท้อนบางกรณีแต่ว่าโดยรวมแล้วให้ผลที่ดี
Other Abstract: This research studies a method of cancelling echos in the telephone system. There are several methods to cancel the echo. This research uses the approach which synthesize a replica of the echo by using adaptive filter and then subtract that replica from the combined echo and the near-end speech signal to obtain only the near-end speech signal. The advantage of this method is double-talking. All parts of the echo canceler and the signals are simulated on a microcomputer using the C language. The major work of this research are programming, and searching for the optimum set of echo canceler parameters which will yield the output most similar to the near-end speech signal. These parameters can be found by varying parameters of the echo canceler and then comparing the result from the echo canceler with the near-end speech signal in both the time domain and frequency domain and continuing this procedure until the output from the echo canceler most similar to the near-end speech signal. The optimum parameters from the experimental results are as follow : Length of weight vector = 10, bias weight = 0, number of iterations = 100, and µ (loop gain) = 4x10-5 . These parameters may not be appropriate for other forms of echo but in a majority of cases they give a satisfactory result.
Description: การกำจัดเสียงสะท้อนในระบบโทรศัพท์ -- การทำงานของ LMS adaptive filter -- แบบจำลองของเสียงพูดและเสียงสะท้อน : การกำเนิด Stochastic variables สำหรับการ Simulation ; การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบ Uniform, Exponential, Normal, Multivariate Normal ; การจำลองสัญญาณเสียงพูดและเสียงสะท้อน -- การจำลอง Echo canceler บนคอมพิวเตอร์ : การจำลอง Adaptive filter ; fixed paramenters IIR filter -- โปรแกรมอ่าน-เขียนข้อมูล และติดต่อกับผู้ใช้ -- การทดลองและสรุปผล
โครงการวิจัย ; เลขที่ 122-MRD-2534
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13004
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watit_Echo.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.