Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13072
Title: | คุณสมบัติเชิงกลและปัจจัยการฉีดขึ้นรูปสำหรับโพลิเมอร์ ผสมระหว่างโพลิโพรพิลีน และโพลิเอมีด-6 ที่มีเอทิลีน-โพรพิลีน-ไดอีน โคโพลิเมอร์เป็นตัวช่วยผสม |
Other Titles: | Mechanical properties and injection moulding factors polymer blends between polypropylene and polyamides-6 with the ethylene propylent-diene copolymer as compatibilizer |
Authors: | ศรีสัจจา วิทยศักดิ์ |
Advisors: | สมชาย พัวจินดาเนตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Somchai.Pua@Chula.ac.th |
Subjects: | โพลิเมอร์ผสม โพลิโพรพิลีน โพลิเมอร์ เอทิลีน-โพรพิลีน-ไดอีน โพลิเอมีด-6 |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงอิทธิพลของสัดส่วนผสมของโพลิเมอร์ และตัวแปรฉีดขึ้นรูปที่มีผลต่อคุณสมบัติเชิงกล และอัตราการฉีดขึ้นรูป โดยวัสดุที่ศึกษา คือ โพลิเมอร์ผสมระหว่างโพลิโพรพิลีน (Polypropylene:PP) และโพลิเอมีด-6 (Polyamides-6:PA-6) ที่มี EPDM (Ethylene-Propylene-Diene Copolymer) เป็นตัวประสาน โดยศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ อัตราการไหล และความหนาแน่น คุณสมบัติเชิงกล ได้แก่ ความทนต่อแรงดึงโมดูลัสความยืดหยุ่น เปอร์เซ็นต์ความยืดหยุ่น ความแข็ง และความทนต่อแรงกระแทก การทดลองแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาอัตราการไหลของโพลิเมอร์ผสมและอุณหภูมิในการฉีดขึ้นรูป นำโพลิเมอร์ผสมประกอบด้วยสัดส่วน ของ PP และ PA-6 ระหว่าง 0-100% โดยน้ำหนัก และ EPDM มาผสม ในสัดส่วนระหว่าง 0-15% โดยน้ำหนัก ชิ้นงานได้จากการฉีดขึ้นรูปโดยใช้เครื่องฉีดขึ้นรูป (Injection Moulding) (2) ศึกษาอิทธิพลของสัดส่วนผสมของโพลิเมอร์และตัวแปรฉีดขึ้นรูปที่มีผลต่อคุณสมบัติเชิงกายภาพและเชิงกล และอัตราการฉีดขึ้นรูป โดย ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แรงดันดันกลับ เวลาเย็นตัว แรงดันรักษาให้ชิ้นงานอยู่ในแม่พิมพ์ เวลารักษาให้ชิ้นงานอยู่ในแม่พิมพ์แรงดันฉีด ความเร็วฉีด อุณหภูมิหัวฉีด และความเร็วรอบสกรู ผลการทดลองในขั้นตอนแรกพบว่าโพลิเมอร์ผสม PP/PA-6/EPDM สามารถฉีดขึ้นรูปที่อุณหภูมิระหว่าง 225-245 ํC อุณหภูมิที่หัวฉีดมีผลต่อค่าโมดูลัสความยืดหยุ่นของโพลิเมอร์ผสมคือ 245 ํC สำหรับเวลาเย็นตัว เวลารักษาให้ชิ้นงานอยู่ในแม่พิมพ์และชนิดของโพลิเมอร์มีผลต่ออัตราการฉีดขึ้นรูป โพลิเมอร์ผสม PP/PA-6/EPDM (30/70/15) ซึ่งให้ค่าความทนต่อแรงกระแทกสูงสุดเท่ากับ 7.07 กิโลจูล/ตร.ม. จะใช้รอบเวลาการฉีดขึ้นรูปนาน 30 วินาที โดยต้องทำการฉีดขึ้นรูปที่แรงดันดันกลับ 3 บาร์ เวลาเย็นตัว 12 วินาที แรงดันรักษาให้ชิ้นงานอยู่ในแม่พิมพ์ 12 บาร์ เวลารักษาให้ชิ้นงานอยู่ในแม่พิมพ์ 1 วินาที แรงดันฉีด 25 บาร์ ความเร็วฉีด 30 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิหัวฉีด 225 องศาเซลเซียส และความเร็วรอบสกรู 25 รอง/นาที คุณสมบัติของโพลิเมอร์ผสมจะแปรไปตามโพลิเมอร์ที่มีปริมาณมากกว่า เมื่อเติม EPDM เข้าไปจะทำให้อัตราการไหล ความหนาแน่น ความทนต่อแรงดึง โมดูลัสความยืดหยุ่น และความแข็งลดลง แต่จะทำให้เปอร์เซ็นต์ความยืดหยุ่นและความทนต่อแรงกระแทกเพิ่มขึ้น โครงสร้างจุลภาคของโพลิเมอร์ผสม PP/PA-6 จะมีลักษณะเป็นสองเฟสอย่างชัดเจนเมื่อ PP มีปริมาณน้อยกว่า 50% โดย PP จะกระจายเป็นเม็ดกลมอยู่บนเนื้อพื้นของ PA-6 เมื่อเติม EPDM เข้าไป จะทำให้โพลิเมอร์ทั้งสองเข้ากันได้ดีขึ้นและมีการรวมตัวกันมากขึ้น |
Other Abstract: | The objective of this thesis was to study the effect of composition and injection moulding factors on mechanical properties and cycle time. The materials studied were polypropylene (PP) and polyamides (PA-6) blends which used ethylene-propylene-diene copolymer (EPDM) as a compatibilizer. The physical and mechanical properties studied were melt flow rate, density, tensile properties, impact strength and hardness and microstructure. The experimental study was divided into two stages (1) studying the melt flow rate and determining the temperature for injection moulding. The composition of polymer blends which were PP and PA-6 were varied ranging from 0-100% by weight and EPDM was varied ranging from 0-15% by weight. The specimens were performed using injection moulding machine. (2) studying effect of composition and injection moulding factors on physical and mechanical properties and cycle time. The injection moulding factor investigated were back pressure, cooling time, holding pressure, holding time, injection pressur, injection speed, nozzle temperature and screw speed. The experimental results showed that the applicable temperature of polymer blends with PP/PA-6/EPDM was between 225-245 ํC. The nozzle temperature that gave the highest modulus of elasticity was 245 ํC. Cooling time, holding time and type of polymer were effect on the cycle time. The cycle time of the PP/PA-6/EPDM (30/70/15) that provided the highest impact strength of 7.07 kj/m2 sconds. The injection moulding factors of the composition were back pressure of 3 bars, cooling time of 12 sec, holding pressure of 12 bars, holding time of 1 sec, injection pressure of 25 bars, injection speed of 30%, nozzle temperature of 225 ํC and screw speed of 25 rpm. The properties of PP/PA-6 blends, which were melt flow rate, density, tensile strength, modulus of elasticity, % elongation, impact strength and hardness were dependent on the main portion of polymer. Increasing with EPDM decreased with the properties of the material such as melt flow rate, density, tensile strength, modulus of elasticity and hardness whereas increased with% elongation and impact strength. Microstructure of PP/PA-6/EPDM blends showed two phases system that the less one was dispersed on the other. EPDM could make PP and PA-6 more compatible. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13072 |
ISBN: | 9743336842 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Srisatja_Vi_front.pdf | 845.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisatja_Vi_ch1.pdf | 363.33 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisatja_Vi_ch2.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisatja_Vi_ch3.pdf | 493.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisatja_Vi_ch4.pdf | 3.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisatja_Vi_ch5.pdf | 662.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisatja_Vi_ch6.pdf | 263.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Srisatja_Vi_back.pdf | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.