Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13115
Title: ผลของระยะเวลาในการใช้ จี เอ็น อาร์ เอช อะโกนิสต์ ชนิดฝังเข้าใต้ผิวหนัง ต่อวงรอบการเป็นสัดระดับโปรเจสเตอร์โรน และการเปลี่ยนแปลงของมดลูกและรังไข่ในสุนัขเพศเมีย
Other Titles: Effect of implanted duration of implantation GnRH agonist on estrus cycle, serum progesterone and the changes of uterine and ovary in female dogs
Authors: กนกกาญจน์ สุภัครพงษ์กุล
Advisors: สุดสรร ศิริไวทยพงศ์
ชัยณรงค์ โลหชิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sudson.S@Chula.ac.th
Chainarong.L@Chula.ac.th
Subjects: การเป็นสัด
สุนัข -- การสืบพันธุ์
ฮอร์โมน
ลูทิไนซิงฮอร์โมนรีลิสซิงฮอร์โมน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Deslorelin เป็น GnRH agonist ซึ่งมีคุณสมบัติออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการตอบสนองของตัว GnRH เองในลักษณะ downregulation ทำให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้าไม่มีการหลั่ง FSH และ LH ออกมา เพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมประชากรสุนัขโดยอาศัยการออกฤทธิ์ยับยั้งการเป็นสัด แต่จากการศึกษาครั้งก่อนๆ พบว่าการใช้ deslorelin จะกระตุ้นให้เกิดการเป็นสัดขึ้น การศึกษาครั้งนี้เพื่อยืนยันถึงคุณสมบัติในการควบคุมประชากร และยับยั้งการเป็นสัดในสุนัขเพศเมียภายหลังจากการได้รับ deslorelin แล้ว โดยใช้สุนัขเพศเมียวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมด 12 ตัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มการทดลอง กลุ่มละ 6 ตัว กลุ่มการทดลองที่1 ศึกษาตรวจดูความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของอวัยวะเพศ เซลล์เยื่อบุช่องคลอด และระดับ progesterone ในกระแสเลือด ตรวจการตกไข่ เพื่อดูการเข้าสู่วงรอบการเป็นสัดและดูความสมบูรณ์ของวงรอบการเป็นสัด ผลจากการศึกษาพบว่า สุนัขทุกตัว (100%) เข้าสู่วงรอบการเป็นสัด ภายหลังการฝัง deslorelin ขนาด 4.7 mg เข้าใต้ผิวหนัง และถอดออกเมื่อตรวจพบว่าสุนัขเข้าสู่วงรอบการเป็นสัด กลุ่มการทดลองที่ 2 ได้รับการฝัง deslorelin ในขนาดและตำแหน่งเดียวกันแต่ไม่ได้รับการถอดออก ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างสุนัขกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 ต่อจำนวนสุนัขที่เข้าสู่วงรอบการเป็นสัด แต่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของระดับ progesterone ภายหลังจากที่สุนัขกลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการถอด deslorelin ออกในช่วง 1-6 สัปดาห์หลังจากที่เข้าสู่วงรอบการเป็นสัด ผลจากการตรวจลักษณะทางพญาธิวิทยาไม่พบความเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติของมดลูกในสุนัขทั้ง 2 กลุ่มการทดลอง แต่ตรวจพบ follicle และ corpus luteum ในรังไข่ของสุนัขกลุ่มทดลองที่ 1 ออกในขณะที่สุนัขกลุ่มทดลองที่ 2 ไม่พบว่ามีร่องรอยการคงอยู่ของ follicle หรือ corpusluteumจากผลการทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าdeslorelin สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการคุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนผลจากการเหนี่ยวนำเข้าสู่วงรอบการเป็นสัดช่วงแรกอาจทำให้สุนัขไม่สามารถรักษาการตั้งท้องไว้ได้ หากทำการฝัง deslorelin เป็นระยะเวลายาวนาน เนื่องจากการที่ระดับ progesterone ในระยะ diestrus จะอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ
Other Abstract: Delorelin is GnRH agonist that affect and stimulates the response of GnRH itself in the down- right regulation which results in the prohibition of FSH and LH flows of which the objective is to control the Canine population by prohibiting oestrus in the dogs. However, previous studies have revealed the initial oestrus signs following deslorelin implantation. Present study has an objective to confirm the quality of population control and the prohibition of oestrus in female dogs after receiving deslorelin by dividing 12 adolescent female dogs into 2 groups equally. The first experiment observed the changes of genital organ, cervical cell and serum progesterone level with the observation of ovulation to identify the oestrus cycle and the completion of such cycle. The result of the study revealed that all the dogs entered oestrus after implantation of deslorelin 4.7 mg and then removed when the dogs found entering oestrus cycle. The second experiment group received the same amount of deslorelin and at the same location without the removal. The result shows no significant difference between the number of dog entering oestrus cycle from group 1 and 2. However, there is a significant differences in the progesterone levels after the dogs in group1 had got the deslorelin remove within 1-6 week after entering oestrus cycle. The result of histopathology has found no abnormality of the uterus in both groups but has found follicle and corpus luteum in the ovary of the dogs in group 1 while the dogs in group 2 found no trace of follicle or corpus luteum. The result shows that deslorelin can be effectively applied for the purpose of birth controlling. Although the initial oestrous is induced, bitch may not be able to maintain pregnancy, when deslorelin is implanted for a long period, because of the low serum progesterone level and short period of progesterone profile were observed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13115
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1681
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1681
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokkarn_su.pdf819.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.