Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13423
Title: การพัฒนาการผลิตตัวดูดซับที่มีรูพรุนรูปทรงกลมจากสารประกอบเซลลูโลสสู่ระดับโรงงานต้นแบบ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Pilot scale development of the porous spherical cellulose production for pharmaceutical and petrochemical industries
Authors: วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
Email: Wiwut.T@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การดูดซับทางเคมี
วัสดุรูพรุน
เซลลูโลส
ของเสียทางการเกษตร|xการนำกลับมาใช้ใหม่
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงการผลิตตัวดูดซับรูปทรงกลมที่มีรูพรุนจากผลผลิตทางการเกษตรกรรม โดยใช้ชานอ้อยซึ่งเป็นผลิตผลจากเกษตรกรรมที่หาได้ง่ายและมีราคาถูกในประเทศไทย โดยเลือกจากชานอ้อย ฝ้าย หรือเยื่อกระดาษ เพื่อใช้ทดแทน Sephadex G-25 ซึ่งเป็นวัสดุรูปทรงกลมที่มีรูพรุนที่ผลิตจากสารประกอบของเซลลูโลส (Bead cellulose) เป็นเซลลูโลสบริสุทธิ์ที่ผลิตโดยกรรมวิธีการผลิตจาก Viscose ทุกๆ อนุภาคมีลักษณะเป็นทรงกลม และมีรูพรุนที่สม่ำเสมอ โดยนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายประการ ได้แก่ วัสดุรองรับทางกายภาพ วัสดุสำหรับกระบวนการโครมาโตกราฟี วัสดุสำหรับกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ วัสดุสำหรับดูดซึมโลหะ (Metal chelating metal) ตัวดูดซับทางเคมี (Chemisorbances) ตัวดูดซับที่มีสัมพันธภาพ (Affinity absorbents) ดูดจับเอนไซม์ (Immobilized enzymes) ซึ่งต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศและมีราคาสูงมาก โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ โดยในการผลิตจะนำวัตถุดิบทำปฏิกิริยากับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์เข้มข้น 17.5% โดยน้ำหนัก พร้อมกับให้ความร้อน 50 องศาเซลเซียล เป็นเวลา 5 ชั่วโมง แล้วเติม CS2 ที่อุณหภูมิห้อง เพื่อให้ได้ Cellulose xanthate จากนั้นเติมสารสะลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เจือจางที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียล จะได้ Viscose ซึ่งจะนำไปเตรียมเป็นสารสะลายที่ความเข้มข้นต่างๆ จากผลการทดลองพบว่า ความหนาแน่นของอนุภาค พื้นที่ผิวและปริมาตรของรูพรุนมีค่ามากขึ้นเมื่อความเข้มข้นของ Viscose ลดลง เมื่อเปรียบเทียบวัตถุดิบพบว่าผลิตภัณฑ์จากเยื่อกระดาษมีพิ้นที่ผิวมากที่สุด ความหนาแน่นของอนุภาคผลิตภัณฑ์ที่มีค่าใกล้เคียงกับ Sephadex G-25 มากที่สุดคือในตัวอย่างการทดลองที่ 2 โดยมีค่า 1.48 g/cc ในขณะที่ความหนาแน่นของ Sephadex G-25 มีค่า 1.42 g/cc ผลิตภัณฑ์ผลิตในตัวอย่างการทดลองที่ 1 มีค่าพื้นที่ผิวและปริมาตรของรูพรุน คือ 0.007 sq.m./g และ 0.00667 cc/g ตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับ Sephadex G-25 ที่มีค่าพื้นที่ผิวและปริมาตรของรูพรุน คือ 0.001 sq.m./g และ 0.00649 cc/g ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยมีการกระจายขนาดของอนุภาคที่กว้างกว่า Sephadex G-25
Other Abstract: To produce the new material (micro porous spherical cellulose beads) obtained from agricultural waste products such as bagasse, cotton and paper pulp. At present, Thailand import micro-porous spherical cellulose beads from oversea (Sephadex G-25) used as physical supports, chromatographic materials, ion exchangers, metal chelating adsorbents, chemisorbent, affinity adsorbents and immobilized enzymes. In this experiment we choose bagasse, cotton, and paper pulp, which having the cellulose complex. There are also the waste products from sugar, textile and pulp paper industries in Thailand. The waste material are mixed with excess NaOH 17.5 w/v and heating at 50 degree Celsius for 5 hours. Pure CS2 and dilute solution of NaOH were added to form sodium cellulose xanthate or viscose in the room temperature. Sodium cellulose xanthate is mixed with starch and diluted by water. After that, the sodium cellulose xanthate is stirred in mineral oil unit the size of sodium cellulose xanthate particle is very small. When the small particle disperse in mineral oil, slowly pour HCI 2 N solution, very small micro-porous spherical cellulose beads suddenly appear in the solution. From experiment, density, pore volume and surface area of product particle depend on concentration of viscose. The product particles have the true density close to sephadex G-25 and also the aerated bulk density and packed bulk density is the product from experimental sample 2. The value of true density is 1.48 g/cc and sephadex G-25 is 1.42 g/cc. Product from experimental sample 1 has the value of pore volume and surface area 0.007 sq.m./g and 0.00667 cc/g respectively. That is close to sephadex G-25 which are 0.001 sq.m./g and 0.00649 cc/g respectively. Product particles have the size distribution wider sephadex G-25.
Description: คณะวิจัย: หัวหน้าโครงการ ศิริกัลยา สุวจิตตานนท์ ; รองหัวหน้าโครงการ ะวัชชัย ชรินพาณิชกุล ; ผู้ร่วมวิจัย ปรีชา แสงธีระปิติกุล ; ผู้ช่วยวิจัย คมกริช สุทธิพรพาณิชย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13423
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiwut_Pilot.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.