Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13457
Title: การศึกษาเปรียบเทียบค่าดัชนีความตึงตัวของหลอดเลือดแดงคอมมอนคาโรติดโดยวิธีเฟส-ล็อก เอคโค-แทรกกิ้งจากการทำดูเพล็กซ์อัลตราซาวด์ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย กับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
Other Titles: Comparative study of common carotid artery stiffness measured by phase-locked echo-tracking from duplex ultrasound between acute myocardial infarction patients and patients without symptom of coronary artery disease
Authors: สุธาสินี ธรรมอารี
Advisors: สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Smonporn.B@Chula.ac.th
Subjects: หลอดเลือดแดงแข็ง
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา: ปัจจุบันได้มีการนำวิธีการตรวจวัดความยืดหยุ่นของหลอดเลือดที่สะดวกและปลอดภัยกับผู้ป่วย จุดประสงค์คือเพื่อตรวจหาภาวะ atheroscherosis ในขณะที่ยังไม่มีอาการแสดงของโรค Ultrasonic phase locked echo-tracking system เป็นวิธีหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ซึ่งใช้หลักการคำนวณค่าดัชนีความตึงตัวของหลอดเลือดแดง (stiffness index หรือ beta) จาก log ความสัมพันธ์ของค่าความพันโลหิตต่อการเปลี่ยนแปลงของเส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดเลือดแดง มีรายงานการศึกษาแสดงให้เห็นค่าความตึงตัวของหลอดเลือดแดงมีความสัมพันธ์กับภาวะ atherosclerosis จากการตรวจลักษณะทางพยาธิสภาพของหลอดเลือดแดงคอมมอนคาโรติด และความตึงตัวของหลอดเลือดแดงคอมมอนคาโรติดยังสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดหัวใจตึบ และหลอดเลือดสมองตีบ ผู้ศึกษาต้องการดูความสัมพันธ์ของค่าความตึงตัวของหลอดเลือดแดงคอมมอนคาโรติด กับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลันในประชากรไทย วิธีทำการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่มเปรียบเทียบ 48 คน และผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่จำเป็นต้องได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจ เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 47 คน จะได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดคอมมอนคาโรติด เพื่อประเมินดัชนีความตึงตัวของหลอดเลือดคอมมอนคาโรติด โดยวิธีเฟส-ล๊อก เอคโค-แทรกกิ้ง ผลการศึกษา: ค่าดัชนีความตึงตัวของหลอดเลือดแดง ของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10+-3.07 ซึ่งมีค่าสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับอยู่ที่ 7.8+-2.39, P < 0.05) และมีแนวโน้มว่าจะสัมพันธ์กับจำนวนหลอดเลือดหัวใจตีบ (r = 0.355, P = 0.001) สรุปผลการศึกษา: ถึงแม้ว่าดัชนีความตึงตัวของหลอดเลือดแดงคอมมอนคาโรติดของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จะมีค่าสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และค่าความตึงตัวของหลอดเลือดแดงมีแนวโน้มว่าจะสัมพันธ์กับ ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่การนำประยุกต์ใช้ยังต้องการข้อมูลการศึกษาในอนาคตว่า ค่าดัชนีความตึงตัวของหลอดเลือดแดงจะสามารถนำมาใช้ในการคาดการณ์ของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโดยใช้ร่วมกับการประเมินปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้หรือไม่
Other Abstract: Background: Several non-invasive methods have been developed to assess arterial compliance representing atherosclerotic changes of blood vessels. ultrasonic phase locked echo-tracking system is one of non-invasive methods that can be used to calculate the stiffness index (beta) of blood vessel by measuring arterial diameter and systemic blood pressure. Many studies showed correlation between stiffness index (beta) and pathological findings of atherosclerosis but limited data showed benefit for clinical application. The study of relationship between stiffness index (beta) of carotid artery and coronary artery disease may obtain parameters for quantifying arterial stiffness that may improve risk stratification better than considering coventional coronary factors. Method. This study was a cross-sectional analytic design comparing the stiffness index (beta) of common carotid artery measured by Phase-locked echo-tracking between 48 non-coronary artery disease patients and 47 Acute myocardial infarction patients visiting at King Chulalongkorn Memorial Hospital. All patients were referred to have evaluation of arterial distensibility by ultrasonic phase locked echo-tracking technique that conducted by the same operator. All AMI patients were evaluated for CAD by coronory angiography assigned by their physicians. Result. The stiffness index (beta) of common carotic arteries was significantly higher in AMI patients than in non-CAD patients (10+-3.0 and 7.8+-2.4 respectively, P < 0.05). The stiffness index tended to increase in correlation with severity of coronary artery disease (r = 0.355, P = 0.001). Conclusion. The stiffness index (beta) of common carotid artery tended to correlated with severity of CAD and may become one of predicting factors of CAD. We need the further study to support the use of stiffness index (beta) and apply it to clinical application with other conventional coronary risk factors.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13457
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1444
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1444
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthasinee.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.