Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13472
Title: Inventory managemen in commercial refrigeration manufacturing
Other Titles: การจัดการวัสดุคงคลังในอุตสาหกรรมการผลิตตู้แช่แข็ง
Authors: Subhaluk Pornsirianant
Advisors: Paveena Chaovalitwongse
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Engineering
Advisor's Email: Paveena.C@Chula.ac.th
Subjects: Inventory control
Refrigerators
Issue Date: 2006
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This thesis focuses on developing the inventory management system for a commercial refrigeration manufacturing with assembly-to-order environment. The propose system encompass establishing appropriate inventory policies for all items, improving work flow and information flow, and establishing an inventory monitoring tool. The major problem of a case study company is on inappropriate inventory level. The analysis focuses on internal inventory management practices which are non-uniform and manually intensive. The company under study has no certain policy on inventory management which resulted in high inventory level, low customer service, and high operational costs. In addition, the lacking information shared between material planning and purchasing sections resulted in double-buffer stock, unrealistic supplier lead-time, too much replenishment quantity, and non-integrated replenishment quantity. The research starting from analyzing the existing inventory management system, indentifying the causes of the problem. In the proposed system, a wide variety of materials are classified into group according to source of supply and purchasing quantity constraint. Then, appropriate inventory policies for each group are selected based on storage area constraint, purchasing constraint, and material reviewing frequency. Materials are classified into three groups and managed with (R,S), (S,s), and (S,Q) policies. Finally, the inventory level monitoring tool is established integrate new information with existing information and to remind replenishment time for purpose of order fulfillment. This monitoring tool serves as an information sharing between material planning and purchasing sections. This tool is developed through using Microsoft Access version 2000 as the database management system, and Microsoft Excel version 2002 as reporting tool. The comparison between the existing system and proposed system shows the significantly improve on customer service level, part availability once production need, and inventory level.
Other Abstract: ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการวัสดุคงคลังในอุตสาหกรรมผลิตตู้แช่แข็ง ซึ่งมีรูปแบบการผลิตเป็นลักษณะการประกอบตามคำสั่งซื้อ ในการศึกษามีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการวัสดุคงคลังที่เหมาะสม โดยการกำหนดนโยบายการควบคุมวัสดุคงคลังที่เหมาะสมสำหรับวัสดุคงคลังแต่ละกลุ่ม รวมถึงการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดแนวทางในกระบวนการจัดซื้อ ลักษณะการจัดซื้อและการควบคุมวัสดุคงคลังในโรงงานตัวอย่างที่ศึกษานั้น ไม่มีเกณฑ์ตายตัว และอาศัยการใช้ประสบการณ์ของบุคลากรในหน่วยงาน เป็นผลให้มูลค่าวัสดุคงคลังสูง ในขณะเดียวกันความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าไม่ดี และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงกว่าที่ควรสืบเนื่องจากปัญหาวัสดุคงคลัง นอกจากนั้นขาดการประสานงานและการสื่อสารข้อมูลที่ดีระหว่างฝ่ายวางแผนการผลิตและฝ่ายจัดซื้อเนื้อทำให้เกิดปัญหาด้านวัสดุคงคลังตามมา การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลการทำงานในระบบปัจจุบัน และวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา จากนั้นแบ่งกลุ่มวัตถุดิบ ซึ่งมีสองแหล่งคือ วัตถุดิบที่จัดซื้อจากต่างประเทศและวัตถุดิบที่จัดซื้อภายในประเทศ และศึกษาเงื่อนไขการจัดซื้อที่แตกต่างกันของวัตถุดิบในแตละกลุ่ม เพื่อเลือกนโยบายการจัดการวัสดุคงคลังที่เหมาะสม สำหรับและสอดคล้องกับเงื่อนไขในการใช้งานจริง โดยในการเลือกนโยบายที่เหมาะสมได้พิจารณาข้อจำกัดของโรงงานตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ข้อจำกัดด้านพื้นที่จัดเก็บ ข้อจำกัดในการสั่งซื้อ และความถี่ในการตรวจสอบวัสดุคงคลัง นโยบายที่นำมาจัดการวัสดุคงคลังแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ช่วงสั่งซื้อ-ระดับสั่งซื้อ จุดสั่งซื้อ-ระดับสั่งซื้อ และจุดสั่งซื้อ-ปริมาณสั่งซื้อ ขั้นตอนสุดท้ายคือการสร้างเครื่องมือตรวจวัดระดับสินค้าคงคลัง ซึ่งใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่และข้อมูลในระบบที่มีอยู่เดิม เพื่อนำมาทำรายงานวัตถุดิบในกรทำงานจริง และยังใช้เป็นเครื่องมือในการเตือนเมื่อระดับสินค้าคงคลังลดลงจนถึงจุดที่ต้องสั่งซื้อ รวมถึงจำนวนที่ต้องสั่งซื้อแต่ละครั้ง รวมถึงสามารถเป็นตัวกลางสื่อสารข้อมูลที่นำมาใช้ร่วมกัน ระหว่างฝ่ายวางแผนวัตถุดิบและฝ่ายจัดซื้อ โดยการพัฒนาฐานข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Access version 2002 ซึ่งเป็นระบบจัดการฐานข้อมูลและ โปรแกรม Microsoft Excel version 2002 เป็นการออกรายงาน เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานระหว่างระบบที่ใช้ปัจจุบันและระบบที่เสนอแนะ พบว่าระบบใหม่สามารถปรับปรุงความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น ลดการขาดวัสดุในสายการผลิต โดยมีมูลค่าสินค้าคงคลังลดลง
Description: Thesis (M.Eng.)--Chulalongkorn University, 2006
Degree Name: Master of Engineering
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Engineering Management
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13472
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1682
ISBN: 9741420021
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1682
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Subhaluk_Po.pdf21.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.