Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13495
Title: การแยกอนุภาคฝุ่นด้วยฟองก๊าซแอฟฟรอน : รายงานวิจัยแบบสมบูรณ์
Authors: วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
Email: Wiwut.T@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การดูดซับทางเคมี
การแยก (เทคโนโลยี)
ฝุ่น
อนุภาค
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันได้มีการนำหอดูดซับมาใช้ในกระบวนการแยกสารทางวิศวกรรมเคมีอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและให้ประโยชน์มากมาย เทคนิคการแยกสารด้วยฟองแก๊ซแอฟรอนเป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งถูกนำมาใช้ เนื่องจากสามารถแยกได้ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ จากงานวิจัยที่ผ่านมาจะมุ่งเน้นในการดูดซับสารที่อยู่ในรูปของเหลว ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้จะประยุกต์ใช้ในการแยกอนุภาคฝุ่นออกจากกระแสก๊าซ ซึ่งถือเป็นมลภาวะทางอากาศภายในหอดูดซับโดยมีฟองแก๊ซแอฟรอนเป็นตัวกลางในการดักจับฝุ่น โดยศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นได้แก่ ชนิดของสารลดแรงตึงผิว ความเร็วของอากาศ ความเร็วของฟองแก๊ซแอฟรอน ความเข้มข้นฝุ่นที่ทางเข้า ชนิดและขนาดของฝุ่นที่ป้อนเข้าสู่คอลัมน์ จากผลการทดลองพบว่าชนิดของสารลดแรงตึงผิวไม่มีประโยชน์ต่อประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นโดยใช้ฟองแก๊ซแอฟรอน ดังนั้นกลไกการแยกน่าจะเป็นการชนแล้วยึดติดกันระหว่างอนุภาคฝุ่นกับผิวฟองแก๊ซแอฟรอน ส่วนผลการทดลองผลของสภาวะการดำเนินการพบว่า ประสิทธิภาพการดักจับจะสูงขึ้นเมื่อความเร็วของอากาศลดลงและความเร็วของฟองแก๊ซแอฟรอนเพิ่มขึ้น และความเข้มข้นฝุ่นที่ทางเข้าลดลง ส่วนชนิดของฝุ่นพบว่าลักษณะรูปร่างของฝุ่นมีอิทธิพลมากกว่าคุณลักษณะของพื้นผิวในเชิงความสามารถในการเปียกน้ำ นอกจากนี้ยังพบว่าประสิทธิภาพในการกำจัดฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร จะมีประสิทธิภาพต่ำลงเมื่อเทียบกับความสามารถในการกำจัดอนุภาคขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย
Other Abstract: Separation column are being widely used in separation process for its advantage and simplicity, separation technique by using colloidal gas aphron is a high potential technique for dust removal. In the past, colloidal gas aphron have been used to separate the compounds in liquid phase, so this paper reported into dust collection in present air pollutants in separation column and using colloidal gas aphron as the medium to separate dust. In this study, the effect of surfactant type, dust concentration, air flow rate, CGA flow rate, dust type and size on collection efficiency was investigated. Moreover, the mechanism of collection was also determined. The separation was performed as co-current operation in the separation column. The dust concentration at inlet and out let of the separation column was determined. It was found that the type of surfactant did not affect on the collection efficiency. CGA could separate dust particle from air by adhesion force. The collection efficiency increased with increasing of CGA flow rate whereas it decreased with increasing of air flow rate and dust concentration. The shape of particle was more influence on the efficiency than wetting ability of dust particle. The collection efficiency of large particle size was higher than small particle size.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13495
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiwut_Aphron.pdf6.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.