Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13496
Title: | การสังเคราะห์อนุภาคนาโนโดยอาศัยการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสารละลายของไหลเหนือวิกฤติ : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Authors: | วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล |
Email: | Wiwut.T@Chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | ของไหลวิกฤตยิ่งยวด อนุภาคนาโน กระบวนการเคลือบผิว ยา -- สารเคลือบ |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนากระบวนการเคลือบผิววัสดุอนุภาคที่มีขนาดระดับนาโนเมตร สำหรับนำไปประยุกต์ใช้งานด้านเภสัชกรรมหรืออาหาร โดยอาศัยกระบวนการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสารละลายเหนือวิกฤต (Rapid expansion of supercritical solution; RESS) โดยมุ่งเน้นด้านลดปริมาณการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ที่เป็นพิษและป้องกันไม่ให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เกาะกันเป็นก้อน (agglomeration) ในการนี้คณะผู้วิจัยอาศัยหลักการที่สำคัญ 2 ประการเป็นแนวทางการศึกษาวิจัยคือ 1) ใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหนือวิกฤต (supercritical carbon dioxide) ที่มีการเติมสาร cosolvent หรือ modifier เป็นตัวทำละลายสารเคลือบผิวแทนตัวทำละลายอินทรีย์ และ 2) ประยุกต์ใช้กระบวนการ RESS เพื่อผลิตอนุภาคของสารเคลือบผิวและเคลือบผิวอนุภาคแกน ในเบื้องต้นสารเคลือบผิวที่นำมาใช้ในการทดลองคือไคโตซาน (chitosan) และใช้ผงซิลิกา (silicon dioxide or silica) หรือไททาเนีย (titanium dioxide or titania) เป็นอนุภาคแกนแทนการใช้ผงยาจริง การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสารละลายเหนือวิกฤต (RESS) เป็นกระบวนการของไหลเหนือวิกฤตที่มีการนำมาประยุกต์ใช้ผลิตอนุภาคสารทางเภสัชกรรมที่มีขนาดระดับไมโครเมตรและนาโนเมตร ข้อดีอันเป็นลักษณะเด่นของกระบวนการนี้คือใช้ supercritical carbon dioxide เป็นตัวทำละลายสารทางเภสัชกรรม ดังนั้นจึงไม่มีการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์หรือมีการใช้ในปริมาณน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการอื่นๆ อีกทั้งเงื่อนไขสภาวะของกระบวนการยังเหมาะสมต่อการใช้งานกับสารทางเภสัชกรรมที่โครงสร้างโมเลกุลเปลี่ยนแปลงได้ง่าย (thermal labile agents) แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับสารที่ไม่ละลายหรือละลายได้น้อยในตัวทำละลายเหนือวิกฤต ทำให้ต้องมีการเติมสาร modifier หรือ cosolvent ลงไปเพื่อช่วยเพิ่มค่าการละลาย จากการทดลองพบว่า chitosan ไม่ละลายใน supercritical carbon dioxide และละลายได้อย่างจำกัดในตัวทำละลาย supercritical carbon dioxide ที่มีการเติม cosolvent ดังนั้นจึงพิจารณาเปลี่ยนชนิดสารเคลือบผิวที่ใช้เป็น poly(DL-lactide-co-glycolide) หรือ PLGA ซึ่งพบว่าสามารถละลายในตัวทำละลาย supercritical carbon dioxide ที่มีการเติมเอทานอล (ethanol) หรือ อะซิโตน (acetone) เป็น cosolvent ได้ กระบวนการ RESS ของ PLGA ทำให้ PLGA ที่ละลายในตัวทำละลายเหนือวิกฤตตกผลึกเป็นอนุภาคที่มีขนาดประมาณ 50-300 นาโนเมตรและไม่เกาะกันเป็นก้อน ซึ่งเหมาะสำหรับนำไปใช้เคลือบผิวอนุภาคแกนที่มีขนาดระดับ submicron หรือไมโครเมตร จากการทดลองพบว่าเงื่อนไขสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตอนุภาค PLGA ด้วยกระบวนการ RESS เพื่อใช้เคลือบผิวอนุภาคคือ ที่อุณหภูมิ 40 องศาสเซลเซียล ความดันระหว่าง 25-30 MPa และความเข้มข้นของ ethanol ระหว่าง 11-22 wt.% ในงานวิจัยนี้ได้ดัดแปลงกระบวนการ RESS ของ PLGA เพื่อเคลือบผิวอนุภาคแกนโดยใช้วิธีผสมอนุภาคแกนลงไปในระบบสารละลายเหนือวิกฤตของ PLGA อนุภาคแกนที่ไม่ละลายในตัวทำละลายเหนือวิกฤต ทำให้ระบบของผสมในขั้นตอนแรกอยู่ในรูปสารแขวนลอยเหนือวิกฤต (supercritical suspension) ซึ่งเมื่อเกิดกระบวนการ RESS ขึ้นจึงทำให้อนุภาค PLGA ตกผลึกลงบนผิวอนุภาคแกนทันที และเมื่อมีอนุภาค PLGA ที่มาเกาะรวมกันที่ผิวเป็นจำนวนมากพอจึงเกิดการสร้างเป็นชั้นฟิล์มเคลือบขึ้น จากการทดลองพบว่าสามารถใช้เทคนิคนี้เคลือบผิวอนุภาค silica ที่มีขนาดเฉลี่ย 1.4 ไมครอนและอนุภาค titania ที่มีขนาดเฉลี่ย 70 นาโนเมตรด้วย PLGA ได้โดยมีความหนาของชั้นฟิล์มเคลือบประมาณ 10-50 นาโนเมตรและไม่ทำให้อนุภาคที่ถูกเคลือบเกาะกันเป็นก้อนมากนัก |
Other Abstract: | To minimize the use of toxic organic solvents and to obtain non-agglomerated polymer-coated particulate products in pharmaceutical coating processes, we have developed a particle coating technique utilizing the Rapid Expansion of Supercritical Solution (RESS) process to generate polymer particles forming a coating layer around the core particles. The key to the success of this particle coating technique is the combination of the use of supercritical carbon dioxide as a replacement solvent for the organic solvents and the employment of RESS technique as alternative to the conventional liquid spraying. We examined the possibility of this technique with the coating process of chitosen on drug-simulated microsize and nanosize core particles. In preliminary experiments, it was found that chitosan had a very limited solubility in supercritical carbon dioxide as well as in the mixture of supercritical carbon dioxide and cosolvents. These results suggested a limitation of the RESS process to generating chitosan particles for particle coating application. To overcome this problem, a synthetic polymer, poly(DL-lactide-co-glycolide) or PLGA, was chosen as a replacement. The solubility of PLGA in supercritical carbon dioxide with or without cosolvents was studied experimentally. It was found that the PLGA solubility could be enhanced by addition of a small amount of either ethanol or acetone cosolvent. Scanning Electron Microscopic (SEM) observations revealed that the RESS process of PLGA with ethanol cosolvent could generate uniform dispersed particles in a size range of 50 nm to 300 nm, which was preferred for fine particle coating. For coating experiments, the optimum conditions of the RESS process were found to be supercritical pressure 25-30 MPa, supercritical temperature 40 degree Celsius, and ethanol concentration 11-22 wt%. In this study, we modified the RESS process of PLGA for coating core particles by adding the core particles to the mixture of carbon dioxide, PLGA and ethanol at the beginning of experiment. Since the core particles were not dissolved by the supercritical mixture of carbon dioxide and ethanol, they suspended in a homogeneous phase of PLGA dissolved the supercritical mixture, forming a supercritical suspension. The rapid expansion of the supercritical suspension allowed deposition of precipitating PLGA particles directly onto the surface of core particles within an ultrashort period of time. Consequently, a coating of PLGA around the core particles was achieved as a result of accumulation of the PLGA particles on the core particle surface. We have demonstrated that this technique could be applied for coating microsize silica (average particle size 1.4 micro m.) and nanosize titania (average particle size 70 nm) core particles with a coating layer thickness between 10 nm and 50 nm and without serious particle agglomeration. |
Description: | คณะผู้วิจัย: ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล, มานะ อมรกิจบำรุง, เบญจพล คงสมบัติ, ปราโมทย์ ผึ้งจินดา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13496 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Eng - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wiwut_Supercrit.pdf | 6.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.