Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1369
Title: ผลของสับสเตรทที่มีต่อการกำจัดสีรีแอกทีฟฟอรัสโดยระบบเอสบีบีอาร์แบบแอนแอโรบิก/แอโรบิก /
Other Titles: Effect of substrates on decolorization of reactive dyes and phophorus removal by anaerobic/aerobic SBBR
Authors: ปิยะชน สันดุษฎี, 2521-
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสี
สีย้อมและการย้อมสี
สีรีแอคทีฟ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้ศึกษาผลของชนิดสับสเตรท (แหล่งคาร์บอนและพลังงาน) ต่อการลดสีรีแอกทีฟทั้งโครงสร้างโมโนอะโซและไดอะโซรวมถึงฟอสฟอรัสปริมาณสูงที่มีผลต่อการลดสี โดยระบบแอนแอโรบิก/แอโรบิก เอสบีบีอาร์ โดยมีระยะเวลา 1 รอบการทำงาน (วัฏจักร) 24 ชั่วโมงเท่ากับทุกการทดลอง ประกอบด้วย ระยะเวลาเติมน้ำเสียและถ่ายน้ำทิ้ง 1 ชั่วโมง แอนแอโรบิก 18 ชั่วโมง และแอโรบิก 5 ชั่วโมง ระบบเอสบีบีอาร์ทำงานเหมือนระบบเอสบีอาร์ แต่มีการเติมวัสดุตัวกลางลงไป ซึ่งเป็นพลาสติกโพลิโพรไพลีนลักษณะกระบอกกลวง จำนวน 1.5 ลิตร น้ำเสียที่ใช้เป็นน้ำเสียสังเคราะห์ปริมาตร 5 ลิตรต่อ 1 ถังปฏิกิริยา สับสเตรทที่ใช้ มี 3 ชนิด คือ น้ำตาล, นม และโซเดียมอะซิเตท โดยเติมเป็นอัตราส่วนต่อสีในรูป มก/ล*ซีโอดี เท่ากับ 30:1 และเติมผงสี 100 มก/ล เท่ากันทุกชุดการทดลอง ประกอบด้วย 3 ชุดการทดลอง รวม 9 การทดลอง ชุดการทดลองที่ 1 ศึกษาผลของสับสเตรทต่อการลดสีโครงสร้างโมโนอะโซ โดยน้ำตาล, นม และโซเดียมอะซิเตท มีประสิทธิภาพการลดสีเฉลี่ยเท่ากับ 85.64%} 89.46% และ 89.33% ในหน่วยเอสยู และ 94.60%, 92.74% และ 96.39% ในหน่วยเอดีเอ็มไอ ประสิทธิภาพกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 96.33%, 94.40% และ 96.55% ประสิทธิภาพกำจัดทีเคเอ็นเฉลี่ยเท่ากับ 92.08%, 24.03% และ 61.36% ประสิทธิภาพกำจัดฟอสฟอรัสละลายเฉลี่ยเท่ากับ 35.94%, 46.65% และ 52.56% ตามลำดับ ชุดการทดลองที่ 2 ใช้สับสเตรทเหมือนการทดลองที่ 1 แต่เปลี่ยนสีเป็นโครงสร้างไดอะโซ โดยน้ำตาล, นม และ โซเดียมอะซิเตท มีประสิทธิภาพลดสีเฉลี่ยเท่ากับ 81.50%, 83.76% และ 84.00% ในหน่วยเอสยู และ 82.74%, 89.56% และ 89.83% ในหน่วยเอดีเอ็มไอ ประสิทธิภาพกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 94.83%, 94.31% และ 82.29% ประสิทธิภาพกำจัดทีเคเอ็นเฉลี่ยเท่ากับ 92.00%, 44.39% และ 86.45% ประสิทธิภาพกำจัดฟอสฟอรัสละลายเฉลี่ยเท่ากับ 93.93%, 75.21% และ 93.53% ตามลำดับ ชุดการทดลองที่ 3 ใช้โซเดียมอะซิเตทเป็นสับสเตรทและใช้สีโครงสร้างไดอะโซ โดยแปรค่าอัตราส่วนซีโอดีต่อฟอสฟอรัส เท่ากับ 150:4, 150:8 และ 150ซ10 ประสิทธิภาพการลดสีดีขึ้นกว่าชุดการทดลองที่ 2 ที่ใช้โซเดียมอะซิเตท เล็กน้อย โดยประสิทธิภาพการลดสีเท่ากับ 84.93%, 86.45% และ 90.44% (เทียบกับ 84.00%) ในหน่วยเอสยู และ 89.98%, 90.70% และ 95.50% (เทียบกับ 89.83%) ในหน่วยเอดีเอ็มไอ ประสิทธิภาพกำจัดฟอสฟอรัสละลายเฉลี่ยเท่ากับ 51.01%, 35.63% และ 36.35% ตามลำดับ ประสิทธิภาพกำจัดซีโอดีและทีเคเอ็นเฉลี่ยใกล้เคียงกับชุดการทดลองที่ 2 ที่ใช้โซเดียมอะซิเตท ซึ่งมีประสิทธิภาพกำจัดซีโอดีเฉลี่ยเท่ากับ 83.68%, 83.59% และ 83.27% (เทียบกับ 82.29%) และประสิทธิภาพกำจัดทีเอเอ็นเฉลี่ยเท่ากับ 86.17%, 86.10% และ 86.42% (เทียบกับ 86.45%) ตามลำดับ ซึ่งแสดงว่า ฟอสฟอรัสปริมาณสูงไม่มีผลกระทบต่อการกำจัดซีโอดี และทีเคเอ็น สรุปได้ว่า ระบบแอนแอโรบิก/แอโรบิก เอสบีบีอาร์ สามารถลดสีย้อมในน้ำเสียได้ โดยการใช้สับสเตรททั้ง 3 ชนิดพบว่า ประสิทธิภาพการลดสีของโครงสร้างสีและหน่วยวัดสีเดียวกันมีค่าใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างในทางวิศวกรรม หรือ การนำไปใช้งาน และฟอสฟอรัสปริมาณสูงมีผลให้การลดสีดีขึ้นเล็กน้อย จากชุดการทดลองที่ 1 และ 2 พบว่า ในการบำบัดน้ำเสียสีย้อม ร่วมกับการกำจัดธาตอาหาร ควรให้ความสำคัญในผลของสับสเตรทที่มีต่อการกำจัดธาตุอาหารมากกว่าการลดสี
Other Abstract: This reseach study about the effect of substrates (carbon and energy sources) on decolorization of monoazo and diazo dyes including high phosphorus concentration that effect on decolorization by Anaerobic/Aerobic SBBR system. The cycle time was 24 hrs in every experiment, fill and draw 1 hr, anaerobic 18 hrs and aerobic 5 hrs. The process of SBBR is the same as that of except that SBR SBBR was filled with media in the raactor. Study used hollow pellet polypropyrene media, 1.5 L per one reactor and fed with synthetic wastewater 5 L per one reactor. Three types of substrates were sugar, milk, sodium acetate (NaAc) and filling ratio to dyes in mg/l COD equal to 30:1 adding dyes powder 100 mg/l. This research had 3 experimental sets to the total 9 experments. The first experimental set studied the effect of substrates on decolorization of monoazo dyes. And sugar, milk, NaAc have the average decolorization efficiency of 85.64%, 89.46% and 89.33% in SU unit and 94.60% 92.74% and 96.39% in ADMI unit. The average COD removal efficiency were 96.33%, 94.40% and 96.55% and the average TKN removal efficiency were 92.08%, 24.03% and 61.36%. Also, the average soluble phosphorus efficiency were 35.94%, 46.65% and 52.56% respectively. The second experimental set used the same substrates as first experiments but change the color to structure diazo dyes. Sugar, milk, NaAc have the average decolorization efficiency of 81.50%, 83.76% and 84.00% in SU unit and 82.74% 89.56% and 89.83% in ADMI unit. The average COD removal efficiency were 94.83%, 94.31% and 82.29% and the average TKN efficiency were 92.00%, 44.39% and 86.45%. In addition, the average soluble phosphorus efficiency were 93.93%, 75.21% and 93.53% respectively. The third experimental set used NaAc and diazo dye but vary the COD/Phosphorus ratio to 150:4, 150:8 and 150:10. The decolorization efficiency had improved more than that of expermental set 2 (NaAc) And the average decolorization efficiency were 84.93%, 86.45% and 90.44% in SU unit and 89.98%, 90.70% and 95.50%in ADMI unit. Teh average soluble phosphorus efficiency were 51.01%, 35.63% and 36.35% respectively. The average removal efficiencies of COD and TKN are the same value as in experimental set 2 (NaAc) which equal to 83.68%, 83.59% and 83.27% and 86.17%, 86.10% and 86.42% respectively. So high phosphorus concentration had no effect on COD and TKN removal. In conclusion, the Anaerobic/Aerobic SBBR system is able to adequately achieve color removal. By using such 3 substrates the decolorization efficiency\ of the same color structure and same color unit were the same values which insignificant in engineering. Furthermore, high phosphorus concentration had improved decolorization efficiency. From experimental set 1,2, the result show that in the joint treatment of dyes wastewater and nutrients, the result of substrates that effect on nutrient is more important than decolorization.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1369
ISBN: 9741708424
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyachon.pdf19.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.