Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13957
Title: ผลกระทบของการโยกย้ายสินเชื่อระหว่างภาคการผลิตต่อเป้าหมายทางเศรษฐกิจของไทย
Other Titles: The Effect of sectoral credit shifts on macroeconomic target in Thailand
Authors: ธานี เรียงวงษ์
Advisors: จูน เจริญเสียง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: นโยบายการเงิน
สินเชื่อ
ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาลักษณะของการโยกย้ายสินเชื่อระหว่างภาคการผลิตในประเทศไทย และดูผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจโดยศึกษาจากตัวแปรเป้าหมายทางมหภาค คือ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงาน ในขั้นต้นจะเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาเพื่ออธิบายถึงลักษณะของการโยกย้ายสินเชื่อ ระหว่างภาคการผลิตในประเทศไทย (โดยไม่รวมภาคการธนาคาร) ในช่วงปี 2520-2546 จากนั้นจะเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพื่อดูผลกระทบของการโยกย้ายสินเชื่อระหว่างภาคการผลิตที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ โดยการวิเคราะห์ Impulse response function และ variance decomposition การศึกษาพบว่า ค่าการโยกย้ายสินเชื่อระหว่างภาคการผลิตที่ได้ในช่วงปี 2520-2529 มีแนวโน้มที่ลดลง ก่อนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2530-2533 หลังจากนั้นก็มีแนวโน้มลดลงจนถึงปี 2542 เมื่อพิจารณาในรายสาขาจะพบว่าสินเชื่อมักจะเคลื่อนย้ายจากภาคการค้าไปสู่ภาคการผลิตอื่นๆ ส่วนมากจะเป็นการโยกย้ายไปสู่ภาคอุตสาหกรรม ยกเว้นช่วงปี 2531-2533 ที่เป็นการโยกย้ายไปสู่ภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่วนช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจนั้นจะเป็นการโยกย้ายไปสู่ภาคการบริโภคส่วนบุคคล สำหรับในภาพรวม สัดส่วนสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ให้แก่ธุรกิจที่ผลิตบริการ ส่วนสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจที่ผลิตสินค้ายังมีอัตราส่วนไม่มากนักในช่วงแรก แต่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นในช่วงหลัง การวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า เมื่อกำหนดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในการโยกย้ายสินเชื่อระหว่างภาคการผลิตจะส่งผลทำให้ อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ในขณะที่ลดอัตราการว่างงานให้น้อยลง ซึ่งผลกระทบที่เกิดกับอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และอัตราเงินเฟ้อจะมีนัยสำคัญในระยะสั้น คือ ประมาณ 1-2 ปี ส่วนผลกระทบที่เกิดกับอัตราการว่างงานจะมีระยะเวลาประมาณ 3-5 ปี ค่าความสามารถของการโยกย้ายสินเชื่อ ในการอธิบายความแปรปรวนของการพยากรณ์อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มีความชัดเจนมากที่สุด ต่อมาคือตัวแปรอัตราเงินเฟ้อ และอัตราการว่างงานซึ่งความสามารถในการอธิบายความแปรปรวนของการพยากรณ์ มีความชัดเจนในช่วงเวลาแรกที่น้อย แต่มีแนวโน้มที่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาถัดไป จะเห็นได้ว่า หากรัฐต้องการที่จะใช้นโยบายอันเอื้อประโยชน์ให้กับภาคการผลิตใด ภาคการผลิตหนึ่ง เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการโยกย้ายสินเชื่อก็สามารถทำได้ และควรสนับสนุนข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับธนาคารพาณิชย์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจปล่อยกู้ ก่อให้เกิดการโยกย้ายสินเชื่อไปสู่ภาคการผลิตที่มีประสิทธิภาพ กระตุ้นให้เกิดการจ้างงานและระบบเศรษฐกิจขยายตัว
Other Abstract: To analyze the sectoral credit shifts and to investigate its effect on Thailand macroeconomic targets including economic growth, inflation rate, and unemployment rate. This study is separated into two parts. The first part is the descriptive analysis of the sectoral credit shifts in Thailand (excluding the banking sector) during 1977-2003, while the second part is the quantitative analysis, which measures the effect of the shifts by using the Impulse Response Function and the Variance Decomposition. The analysis finds that, during 1977-1986, the value of the sectoral credit shifts declined but dramatically increased from 1987 to 1990 and declined again until 1999. When considering in the sectoral level, most credits were transferred from trading sector to manufacturing sector. However, during 1988-1990, most credits were transferred to property sector, and after economic crisis, credits were transferred to personal consumptions sector. In the aggregate level, the credit ratio of service sector was higher than manufacturing sector, which was gradually increased in the latter period of the study. From the quantitative analysis, the sectoral credit shifts have significantly positive impact on economic growth and inflation rate, but negative impact on unemployment rate. The shifts affect the first two targets for about 1-2 years, while the effect on the third target lasted for about 3-5 years. The explanatory power of the sectoral credit shifts shock to variations in economic growth is clearly the most. Even though the credit shifts have less explanatory power in inflation rate and unemployment rate than in economic growth, it rises gradually in the following period. According to the findings, if the government wishes to promote the production in any of the economic sectors, it can be supported by the credit shifts. In addition, commercial banks also play important roles in promoting economic growth by shifting the credits to more effective sectors. This will significantly stimulate the economic growth and more employment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13957
ISBN: 9741418604
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanee_Ri.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.