Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14033
Title: L'ecriture romanesque dans Francois Le Champi de George Sand
Other Titles: ประพันธวิธีในนวนิยายเรื่อง ฟรองซัวส์ เลอ ชองบี ของ ฌอร์จ ซองด์
Authors: Korakot Chaisorn
Advisors: Warunee Udomsilpa
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Art
Advisor's Email: No information provided
Subjects: Sand, George
Poetics
Fiction
Issue Date: 2008
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Ce présent travail a pour objectif d’analyser l’écriture romanesque dans François le Champi de George Sand. Les sujets à étudier sont divisés en trois parties : la mise en texte et la narration, la création des personnages et la valeur symbolique du nom et de l’espace, et la notion de l’idéal. La superposition des niveaux narratifs dans le roman correspond à la mise en texte composée de l’avant-texte et le texte fictif proprement dit. L’avant-texte comprend la notice et l’avant-propos de l’auteur. Dans la notice, George Sand s’adresse directement au lecteur pour évoquer la genèse de l’œuvre et la question des champis, enfants abandonnés dans les champs. L’avant-propos est sous forme de dialogue entre le narrateur-auteur au premier degré George Sand et son ami qui est considéré comme son narrataire. La mise en abyme de la narration se dégage ainsi dès l’avant-propos. Quant au texte fictif, l’auteur fait narrer l’histoire par deux narrateurs. Ils interviennent manifestement dans l’acte de narration et communiquent avec leurs narrataires. La focalisation zéro, adoptée dans le récit au second degré, permet aux narrateurs de pénétrer dans l’âme des personnages fictifs. L’auteur met l’accent sur les noms révélateurs des caractères de ses créatures romanesques et sur le descriptif minimal de leurs traits physiques. Les personnages sont mis en opposition binaire et forment un nombre de triades. Doté de valeur symbolique, l’espace central dans le roman est lié au thème de l’amour fidèle. George Sand exprime sa notion de l’idéal à travers l’intrigue du roman. Elle aspire à l’amour sans discrimination, mot clé de la foi de toute l’humanité.
Other Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประพันธวิธีในนวนิยายเรื่อง ฟรองซัวส์ เลอ ชองปี ของ ฌอร์จ ซองด์ ประเด็นสำคัญในการศึกษาประกอบด้วยสามหัวข้อใหญ่ ได้แก่ การจัดองค์ประกอบของตัวบทนวนิยายและการเล่าเรื่อง ศิลปะการสร้างตัวละครและการใช้สถานที่ในเชิงสัญลักษณ์ และการนำเสนอแนวคิดเรื่องอุดมคติ ฌอร์จ ซองด์สร้างระดับการเล่าเรื่องที่สอดคล้องกับการจัดองค์ประกอบของตัวบทนวนิยาย ซึ่งประกอบด้วยปุริมภาคและตัวบทของเรื่องเล่า ปุริมภาคประกอบด้วยคำอธิบายและคำนำของผู้แต่ง ฌอร์จ ซองด์สื่อสารโดยตรงกับผู้อ่านในคำอธิบายเพื่อแสดงแนวคิดเรื่องเด็กที่ถูกทอดทิ้งและ แรงบันดาลใจในการสร้างนวนิยายเรื่อง ฟรองซัวส์ เลอ ชองปี ในคำนำ ฌอร์จ ซองด์ถ่ายทอด บทสนทนาระหว่างตนเองในฐานะผู้แต่ง-ผู้เล่าเรื่องระดับที่หนึ่งกับเพื่อนซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้รับฟังเรื่องเล่าซ้อนจึงปรากฏต่อผู้อ่านตั้งแต่ในคำนำ เมื่อเริ่มตัวบทเรื่องเล่า ฌอร์จ ซองด์ใช้ผู้เล่าสองคน ผู้เล่าปรากฏตัวชัดเจนระหว่างการเล่าเรื่องและสื่อสารกับผู้รับฟังเรื่องเล่า ผู้แต่งใช้มุมมองการเล่าเรื่องประเภทไม่จำกัดขอบเขตในเรื่องเล่าระดับที่สองหรือเรื่องเล่าซ้อน ส่งผลให้ผู้เล่าเรื่องเข้าถึงจิตใจของ ตัวละครในเรื่องเล่าซ้อนได้ ผู้แต่งให้ความสำคัญต่อการตั้งชื่อที่สะท้อนนิสัยของตัวละครและ ลดความสำคัญของการพรรณนาลักษณะกายภาพตัวละคร ฌอร์จ ซองด์กำหนดให้ลักษณะตัวละครเป็นคู่ตรงข้าม ความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครปรากฏในรูปแบบของกลุ่มสามคน ผู้แต่งใช้สถานที่ ในเชิงสัญลักษณ์เพื่อสื่อถึงแก่นเรื่องความรักที่มั่นคง และแสดงแนวคิดเรื่องอุดมคติผ่านเนื้อเรื่อง ในนวนิยาย ฌอร์จ ซองด์ชี้ให้เห็นว่าความรักอันปราศจากข้อจำกัดเป็นกุญแจสำคัญสู่ความหวังของมวลมนุษยชาติ
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2008
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: French
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14033
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1508
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1508
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Korakot_ch.pdf931.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.