Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14271
Title: พิษของแคดเมียมต่อม้ามของปลานิล
Other Titles: Toxicity of cadmium on tilapia (oreochromis niloticus) spleen
Authors: โปติกา โชติพงศ์
Advisors: พาลาภ สิงหเสนี
นพดล พิฬารัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Palarp.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แคดเมียม -- พิษวิทยา
ปลานิล
ภาวะเครียดออกซิเดชัน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทดสอบพิษมาตรฐานของแคดเมียมในปลานิลน้ำหนักประมาณ 20-35 กรัม ปลาถูกนำมาปรับสภาพและทดสอบกับแคดเมียมคลอไรด์ความเข้มข้น 0.1 ถึง 10 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็นระยะเวลานาน 96 ชั่วโมง การทดสอบเป็นลักษณะน้ำนิ่ง (แสง 12 ชั่วโมง อุณหภูมิ 25.5 ถึง 27 องศาเซลเซียส ค่าการละลายของออกซิเจน 5.4 ถึง 5.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความเป็นด่าง 6-7 และค่าความกระด้าง 50 มิลลิกรัมต่อลิตรแคลเซียมคาร์บอเนต) ผู้วิจัยวัดระดับแคดเมียมในอ่างทดสอบตลอดช่วงเวลาที่ทำการทดสอบพิษ สังเกตลักษณะอาการของปลา อัตราการตายสะสม การเกิดไลปิดเปอร์ออกซิเดชันและจุลพยาธิวิทยาของม้ามในปลานิล และนอกจากนี้ยังศึกษากลไกการตอบสนองของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน โดยดูการแสดงออกของ NF-kB (c-Rel) โปรตีน บีเซลล์และ IgM โดยใช้เทคนิคอิมมูโนฮิสโตเคมี จากการศึกษาพบว่า ปลามีอัตราการตายเพิ่มสูงขึ้นเมื่อแคดเมียมมีความเข้มข้นสูงขึ้น พบการเพิ่มขึ้นของการเกิดไลปิดเปอร์ออกซิเดชันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) นอกจากนี้พบความผิดปกติของจุลพยาธิวิทยาของม้ามปลา โดยความรุนแรงของความผิดปกติจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของสารพิษในอ่างทดสอบ ลักษณะความผิดปกติจากม้ามปลาที่ได้รับแคดเมียม ได้แก่ Ellipsoidal tissue enlargement การรวมกลุ่มของ Melanomacrophage (macrophage aggregation), Vacuolar degeneration และ Edematous capillary ของหลอดเลือดฝอยใน white pulp ที่เกิดพิษ พบการเปลี่ยนแปลงภูมิคุ้มกันของปลานิลต่อแคดเมียมโดยพบการเพิ่มขึ้นของบีเซลล์ (IgM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับขนาดของแคดเมียมที่ใช้ทดสอบ ในการทดลองครั้งนี้ผู้วิจัยไม่สามารถตรวจพบการแสดงออกของ NF-kB (c-Rel) โปรตีนในม้ามปลานิล ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการที่แอนติบอดีที่ใช้ในครั้งนี้ไม่มีความจำเพาะต่อ NF-kB (c-Rel) โปรตีนของปลานิลหรือแอนติบอดีที่ใช้ในการทดลองนี้ ไม่เหมาะสมในการทดสอบด้วยเทคนิคอิมมูโนฮีสโตเคมี การทดลองครั้งนี้ยืนยันความเป็นพิษของแคดเมียมต่อเนื้อเยื่อม้ามปลานิล โดยระดับความเป็นพิษขึ้นกับปริมาณแคดเมียมที่ได้รับ (dose dependent) โดยใช้ปลานิลซึ่งเป็นปลาที่มีความทนทานและมีพัฒนาการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมในเขตร้อนได้ดี แคดเมียมมีพิษต่อหลายระบบ การประเมินความเสี่ยงจากพิษ จึงควรต้องพิจารณาถึงพัฒนาการด้านชีวเคมีและกายวิภาคของสัตว์ทดสอบ ในแง่ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันด้วย
Other Abstract: This study examined toxicity of cadmium to tilapias (20-35 g body weight). Fish were acclimatized and exposed to cadmium chloride in varying concentrations (0.1-10 mg/l) for 96 hrs under controlled environmental condition (12 hrs light-length/day, 25.5-27℃ in temperature, 5.4-6.5 in DO, 6-7 in pH and 50 mg/l in hardness). Concentration of cadmium was regularly measured during experimental period. Cadmium effects were investigated by clinical signs, cumulative mortality, biochemical lipid peroxidation (MDA measurement) and histopathological investigations. The expression of NF-kB (c-Rel) protein, B cell and IgM was also measured. In this study, statistically significant (P< 0.05) increase in lipid peroxidation was found to be dose related. This is a relationship between the histopathological change and cadmium doses investigated. Ellipsoidal tissue enlargement, the melano-macrophage cell aggregations, the vacuolar degeneration and the edematous capillary are seen. B cell proliferation was detected, in parallel to IgM increase. No positive NF-KB (c-Rel) protein antibody reaction in splenic tissue was detected. It might be explained that antibody used in this study was not cross-reacted with NF-kB(c-Rel) protein of tilapia or the antibody was not suitable for immunohistochemical detection. This study confirmed the toxicity of cadmium to splenic tissue of tilapias in a dose - dependent manner. Tilapia is a tolerant fish which has high capacity to adapt to toxic environmental conditions. Screening-test for cadmium toxicity, therefore need to take into account comparative ecological development of organism in related biochemical and anatomical response of organisms tested for toxicity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14271
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1951
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1951
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Potiga_ch.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.