Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14285
Title: | การฟื้นฟูชุมชนหัตถกรรม ตำบลหายยา จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Revitalization of Tambon Haiya handicraft community, Chiang Mai province |
Authors: | วงศ์กาญจนา กาญจนาประโชติ |
Advisors: | ระหัตร โรจนประดิษฐ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Rahuth.R@chula.ac.th |
Subjects: | การพัฒนาชุมชน -- ไทย -- หายยา (เชียงใหม่) การฟื้นฟูเมือง -- ไทย -- หายยา (เชียงใหม่) การตั้งถิ่นฐาน การใช้ที่ดิน หัตถกรรม -- ไทย -- หายยา (เชียงใหม่) |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ตำบลหายยาเป็นตำบลที่เก่าแก่และเป็นต้นกำเนิดงานหัตถกรรมเครื่องเงินของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ชุมชนบ้านวัวลาย ซึ่งมีประวัติความเป็นมาของชุมชนที่ยาวนาน และมีพัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงชุมชนมาโดยตลอด ส่งผลให้สภาพชุมชนในปัจจุบันมีสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรม และขาดเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน นำมาซึ่งปัญหาของสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ เนื่องจากสินค้าหัตถกรรมของชุมชนในปัจจุบันไม่มีผู้สนใจและไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ เนื่องจากมีพื้นที่ขายสินค้าหัตถกรรมแห่งใหม่เกิดขึ้น ซึ่งกว้างขวางและได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐทำให้หัตถกรรมเครื่องเงิน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษดังเดิม เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถึชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ในชุมชน เกิดความเสื่อมโทรม อีกทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆในพื้นที่ ไม่เหมาะสมต่อรูปแบบกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นสภาพอาคาร ถนน ทางเดินเท้า การสัญจร ที่ว่าง ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่เสื้อมโทรม ส่งผลให้พื้นที่ชุมชนหัตถกรรม ตำบลหายยา ไม่เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมและเป็นการลดคุณค่าของพื้นที่ จากการวิเคราะห์ศึกษาข้อมูลโดยการสำรวจศักยภาพพื้นที่ และจัดทำแบบสอบถามประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับพื้นที่ชุมชนหัตถกรรม ตำบลหายยา และวิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหา ข้อจำกัดและทัศนคติต่อการฟื้นฟู เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงฟื้นฟูที่ชุมชนหัตถกรรม ตำบลหายยา ที่เหมาะสม ผลจากการวิเคราะห์ศักยภาพบทบาที่เหมาะสมต่อย่านชุมชนหัตถกรรม ตำบลหายยา พบว่าบทบาทที่เหมาะสมต่อย่านชุมชนหัตถกรรมวัวลาย คือ "ย่านวิถึชีวิตชุมชนช่างหัตถกรรมเครื่องเงินและถนนสายหัตถศิลป์ล้านนา เชียงใหม่" เนื่องจากศักยภาพของชุมชน ที่เป็นชุมชนช่างหัตถกรรมดั้งเดิม และมีถนนสายหลักในชุมชนที่ผ่านกลางย่านศูนย์กลางชุมชนที่เป็นที่ตั้งของวัดสำคัญในพื้นที่ ทำให้พื้นที่สะดวกต่อการเข้าถึงและเป็นจุดเด่นในการฟื้นฟูพื้นที่ให้เกิดความน่าสนใจ โดยเสนอแนะวิธีการอนุรักษ์และฟื้นฟูแบบ ซึ่งแบ่งระดับการฟึ้นฟูเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การปรับปรุงบูรณะอาคารเดิมให้อยู่ในสภาพดี และอาจมีการปรับปรุงรื้อถอนอาคารที่สร้างความเสื่อมโทรมให้กับพื้นที่ เพื่อสร้างสิ่งสชุมชนยังขาดอยู่ และอีกแนวทางในการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินคือ การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อส่งเสริมให้พื้นที่เป็นถนนสายหัตถศิลปของเชียงใหม่ ที่มีสินค้าหัตถกรรมพิ้นเมืองจำหน่ายตลอดถนนวัวลาย โดยการใช้มาตรการในการบังคับกลุ่มธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องให้เปลี่ยนรูปแบบกิจการ จนเป็นกิจการเกี่ยวกับหัตถกรรมทั้งพื้นที่ ซึ่งในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองดังกล่าวมีการเสนอวิธีการรื้อล้างพื้นที่ สำหรับอาคารที่มีศักยภาพการพัฒนาต่ำและทำลายภาพลักษณ์ของพื้นที่ เพื่อรองรับกับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวย่อมกระทบต่อผลประโยชน์ของเจ้าของที่ดินและอาคาร จึงได้เสนอแนวทางการดำเนินการโดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการพัฒนาในลักษณะหุ้นส่วน และกลยุทธ์ในเรื่องของพื้นที่และการลงทุนสำหรับการพัฒนาพื้นที่ รวมทั้งกำหนดระยะช่วงเวลาในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินการให้มีความเป็นไปได้และเหมาะสมต่อศักยภาพพื้นที่มากที่สุด |
Other Abstract: | Tambon Haiya is the ancient sub district and the origin of silver handicraft of Chiang Mai province. In Wualai village, there has been a long history. the development and changes of the village, resulting, at present, the deteriorated village condition and lack of community particular feature. For instance, it leaded locally economic problem as handicraft products of the village were not currently in the interest of people, therefore, no tourist visited this area because the new handicraft places were located, which were wide and supported by the government sectors, Consequently, the tourists went to buy the products from these new handicraft shops and the villages did not make enough income and quit producing the silverware handicraft which was a local wisdom from their ancestors, Their way of life and living condition in the village changed, making the village deteriorated. Moreover, fundamental structure of the area was not appropriate for activity models for all components i.e. construction, streets, pathway, traffics, empty areas. These caused environmental pollution and deterioration, making the lands in village handicraft area of Tambon Haiya was inappropriate use and it decreased the area value. From the analysis and the study of collected data by surveying area potential, having questionnaire to the people who took part in this area of handicraft village, Tambon Haiya and analyzing the potential, problems limitations and attitudes towards the revitalization to propose the proper way in revitalizing the handicraft area of Tambon Haiya. The analysis of potential and appropriate roles for Tambon Haiya handicraft village revealed that the appropriate role of Wualai handicraft village was the area of silverware craftsman community way of living and Lanna handicraft art street of Chiang Mai as the village potential was the traditional craftsman village and there was the main street getting through the middle of the village which was the location of an important temple so the area is easily accessed and it is a strong point to revitalize the area to be more interesting by proposing a method to preserve and revitalize the area. The revitalization was divided into 2 levels which were restoring the current construction to be in better condition and maybe removing the old buildings to rebuilding what the village needed, and controlling the appropriate use of lands i.e. detemining the use of the lands to support the handicraft art street of Chiang Mai, at enterprises to change their business models to be relevant to handicraft for the whole area. For the revitalization, there proposed the demolition method for the buildings which had the low potential of development and destroyed the image of the village in order to be prepared for the need in the future. However, this method affected the benefits development as a shareholder. In addition, the feasible and most area strategies and investment to develop the area, including the time period of each procedure were also proposed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14285 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.400 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.400 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wongkanjana_Ka.pdf | 9.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.